JKN กางแผน 5 ปีเคลียร์หนี้หุ้นกู้ 3.6 พันล้าน จ่ายครบ 100% งวดแรกไตรมาส 2/68
JKN กางแผนจ่ายหนี้หุ้นกู้ 5 ปี วงเงิน 3,600.05 ล้านบาท โดยจะชำระเงินต้น 50% ภายใน 4 ปี และอีก 50% จะชำระคืนทั้งหมดภายในปีที่ 5 พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.7 ต่อปี บริษัทที่จะนำมาระบุในแผนฟื้นฟูกิจการจะจัดทำแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2567 และจะชำระงวดแรกภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2568
บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ JKN แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าในฐานะผู้บริหารชั่วคราวตามคำสั่งศาลขอเรียนชี้แจง ว่าเนื่องจากในวันที่ 24 มิถุนายน 2567 บริษัทจะมีการจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาเลือกผู้ททำแผน ซึ่งบริษัทได้เสนอชื่อตนเองเข้าเป็นผู้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ทำแผนในที่ประชุมเจ้าหนี้ในวันดังกล่าว
สำหรับการนำเสนอแนวทางในการชำระคืนหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หุ้นกู้หากบริษัทได้รับเลือกให้เป็นผู้ทำแผน โดยมีรายละเอียด ซึ่งอาจสรุปได้ดังนี้ บริษัทในฐานะผู้ทำแผนวางแผนในการสร้างรายได้จากทรัพย์สินของบริษัทที่มีอยู่แล้ว เพื่อคืนเงินต้นให้กับเจ้าหนี้หุ้นกู้ภายใน 5 ปี โดยจะชำระเงินต้น 50% ภายในระยะเวลา 4 ปี และอีก 50% จะชำระคืนทั้งหมดภายในปีที่ 5 พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1.7 ต่อปีชำระดอกเบี้ยปีละหนึ่งครั้งพร้อมกับเงินต้นในแต่ละปี โดยบริษัทคาดว่าแผนธุรกิจ บริษัทที่จะนำมาระบุในแผนฟื้นฟูกิจการ จะจัดทำแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2567 และจะชำระงวดแรกภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2568 ทั้งนี้ สรุปประมาณการจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้หุ้นกู้ภายในกำหนดระยะเวลา 5 ปี มี รายละเอียดดังนี้
ทั้งนี้ บริษัทขอเรียนว่า การชำระคืนหนี้ให้กับเจ้าหนี้หุ้นกู้ตามรายละเอียดข้างต้น เป็นการประมาณการบนสภาวการณ์ ที่พิจารณาแล้วว่ามีความเป็นไปได้สูง ซึ่งสอดคล้องกับแผนและกลยุทธ์ในการสร้างรายได้ของบริษัทจากธุรกิจที่บริษัท ประกอบกิจการอยู่ดังต่อไปนี้
การดำเนินงานตามแผนผลกลยุทธ์ 3 C กล่าวคือ การสร้างรายได้จากธุรกิจ Content, Commerce และ Contest
1.การสร้างรายได้จาก Content การจำหน่ายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ให้แก่ลูกค้าทั้งภายในประเทศ และลูกค้าในต่างประเทศทั่วโลก โดย ดำเนินการในลักษณะซื้อมาขายไป ซึ่งบริษัทมีความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจในลักษณะเช่นนี้มาอย่าง ยาวนานจนสามารถนำพาบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้
2.การสร้างรายได้จาก Commerce โดยการจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ “Anne Brand” ซึ่งประกอบไปด้วยสินค้ากลุ่มสุขภาพและความงาม และแบรนด์ “Miss Universe” ซึ่งสามารถต่อยอดได้หลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น สินค้ากลุ่มสุขภาพและความงาม เครื่องสำอาง แฟชั่น เป็นต้น
3.การสร้างรายได้จาก Contest โดยรายได้ส่วนนี้จะประกอบไปด้วย 10 ประเภทรายได้ (BASIC 10) ได้แก่ 1) Franchise Fee รายได้จาก ค่าลิขสิทธิ์ในการจัดประกวดที่เรียกเก็บจากแต่ละประเทศในการจัดประกวดนางงามเพื่อหาตัวแทนเข้าร่วม ประกวด Miss Universe, 2) Hosting & Production Fee รายได้จากค่า License ที่เรียกเก็บจากประเทศที่เป็น เจ้าภาพจัดการประกวด และรายได้จากการรับจ้างผลิตงานประกวด
3) Sponsorship Fee รายได้ที่เกิดจาก ผู้สนับสนุนการจัดการประกวด 4) Licensing Fee รายได้จากการจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ภายใต้แบรนด์หรือ เครื่องหมายการค้าต่างๆ ของ MUO 5) Merchandising Fee รายได้จากการให้สิทธิ์ผลิตสินค้าหรือบริการภายใต้ แบรนด์หรือเครื่องหมายการค้าต่างๆ ของ MUO 6) Broadcast Fee รายได้จากการให้ License ในการเผยแพร่ สัญญาณการจัดการประกวดในแต่ละประเทศ 7) Digital Incomeรายได้จาก Digital Platform ต่างๆ เช่น Facebook, Instagram, YouTube, TikTok, X (Twitter)
8) Talent Management fee (รายได้จากการบริหาร จัดการงานจ้างและงานบันเทิงที่เป็นผู้ครองตำแหน่ง 9) Ticket Sales รายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชมการ ประกวดทั้งงาน Event และ 10) Travel Packages รายได้จากการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว
นอกจากนี้ บริษัทมีแผนสำรองในหาแหล่งเงินทุนโดย Legacy Holding Group USA Inc มีความประสงค์เข้า ลงทุนในบริษัท จำนวน 50,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเสริมสภาพคล่องและเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ ของบริษัท เพื่อให้ธุรกิจของบริษัทเกิดรายได้ในการชำระคืนหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ตามแผนการชำระหนี้ของบริษัทตาม รายละเอียดข้างต้น ซึ่งแผนสำรองดังกล่าวเป็นหนึ่งในแนวทางหาแหล่งเงินทุนจากบุคคลภายนอกตามแผนในการฟื้นฟู กิจการของบริษัท ทั้งนี้ บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจาข้อตกลงเกี่ยวกับการเข้าลงทุนกับคู่สัญญาและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ธุรกรรมการเข้าลงทุนดังกล่าวไม่จำต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เนื่องจากบริษัทอยู่ ในระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการภายใต้บทบัญญัติของ พ.ร.บ. ล้มละลาย ซึ่งกำหนดให้ในระหว่างดำเนินการเพื่อตั้ง ผู้ทำแผน ให้ผู้บริหารของบริษัท (ลูกหนี้) เป็นผู้บริหารชั่วคราว และให้มีอำนาจหน้าที่จัดการกิจการและทรัพย์สินของ ลูกหนี้ต่อไปภายใต้การกำกับดูแลของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จนกว่าจะมีการตั้งผู้ทำแผน ตามมาตรา 90/20 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย