“สมศักดิ์” แจงยิบงบ สธ. 3.4 แสนล้าน ผุดไอเดียแจ้งเบาะแสยาเสพติดได้เงินรางวัล
“สมศักดิ์ เทพสุทิน” ร่ายยาว งบก.สาธารณสุข 3.4 แสนล้าน ย้ำแก้ไขปัญหายาเสพติด พร้อมผุดไอเดีย ให้รางวัลคนแจ้งเบาะแสผู้เสพ-ผู้ค้า ยาเสพติด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ ( 20 มิ.ย.67 ) นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลุกขึ้นชี้แจงประเด็นที่เกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ลุกขึ้นอภิปราย โดยกล่าวว่ารัฐบาลพยายามผลักดันให้ กระทรวงสาธารณสุขได้รับงบประมาณเพิ่มมากขึ้นแต่คงยังไม่เพียงพอ เพราะ ความจำกัดในเรื่องของงบประมาณ แต่ก็เป็นเรื่องการบริหารจัดการเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด และจากข้อสังเกตที่บอกว่าบางกรมได้งบประมาณน้อย จึงชี้แจงว่า มีการบูรณาการของกระทรวง ร่วมกันดำเนินการ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดูแลเรื่องความสมบูรณ์ของทารกแต่ละปีมีการเด็กเกิด 450,000 คน แต่การใช้บริการตรวจเพื่อเจาะดูยีนส์ความสมบูรณ์ของทารกเพียง 180,000 คน และมีนับเหมือนคนเด็กเกิดมาไม่สมบูรณ์ ซึ่ง สปสช. ใช้งบตรงนี้ดูแล
รมว.สธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า มีแนวคิดที่จะนำกระทรวงสาธารณสุขออกจากระบบ กพ. โดยสั่งให้ดำเนินการเรื่องกฎหมายเพราะจะต้องร่างกฎหมายถึง 3 ฉบับ ขณะเดียวกัน ต้องการให้ อสม. มีที่ยืนอย่างมั่นคงมีกฎหมายรองรับ พร้อมกล่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขได้รับการจัดสรรงบงบประมาณปี 2568 วงเงิน 341,210 ล้านบาท มี 16 หน่วยงานรับงบประมาณในกำกับ และมี 3 กองทุน
ส่วนเรื่องยาเสพติดมีการปรับเปลี่ยนประกาศเกี่ยวกับยาเสพติดที่สันนิษฐานว่า ครอบครอง 1 เม็ด ให้เป็นผู้เสพ และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพิ่มเติมว่า จะต้องมีการสอบสวนและพิสูจน์ได้ว่าเป็นผู้เสพถึงจะมีสิทธิ์ได้รับการบำบัด ซึ่งกฎหมายก็ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติด และ หลังจากนี้ จะเอาจริงเอาจังกับการปราบปรามยาเสพติด โดยจะต้องใช้วิธีให้รางวัลนำจับกับประชาชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติด คนชี้เบาะแสจะได้ส่วนแบ่ง 5% ,เจ้าหน้าที่ตำรวจและคนทำคดี และ อัยการได้ 25%
นายสมศักดิ์ ยังชี้แจงต่ออีกว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเร่งรัด 5 ด้านที่จะดำเนินการ คือ
1.ยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว
2.แก้ไขปัญหาสุขภาพจิตและยาเสพติดดังบูรณาการ
3.การแพทย์ปฐมภูมิ และ อสม.
4.เมดิคอลแอนด์เวลเนสฮับ
และ 5.เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพยกระดับการใช้เทคโนโลยีการศึกษาวิจัย