PHG ชูนวัตกรรม “ผ่าตัดผ่านกล้อง” ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน-รักษาตรงจุด

PHG ย้ำจุดเด่น “ศูนย์ผ่าตัดโรคอ้วน” รังสิต ชูนวัตกรรมผ่าตัดผ่านกล้อง ลดเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน พร้อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญช่วยรักษาคนไข้อย่างตรงจุด


บริษัท แพทย์รังสิตเฮลท์แคร์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ PHG เปิดเผยว่า ศูนย์ผ่าตัดโรคอ้วน โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อช่วงต้นปี 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้ารับบริการผ่าตัดกระเพาะอาหารผ่านกล้องเพื่อลดน้ำหนักแล้วมากกว่า 100 คน โดยผู้ป่วยที่มีน้ำหนักสูงสุดที่ศูนย์เคยให้บริการ คือ ผู้ป่วยที่มีน้ำหนัก 176 กิโลกรัม ส่วนสูง 169 เซนติเมตร หรือ คือผู้ป่วยที่มี BMI 61.62

ทั้งนี้ ศูนย์ผ่าตัดโรคอ้วน มีความพร้อมดูแลโรคอ้วนแบบครบวงจร โดยมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งปัจจุบันมีศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดผ่านกล้อง 2 ท่าน คือ นพ. ฐากูร พูนธนานิวัฒน์กุล และ นพ.เสฐียรพงษ์ จันทวิบูลย์

นอกจากนี้ ศูนย์ผ่าตัดโรคอ้วน ยังมีการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักด้วยเทคนิคแผลเล็ก เจ็บน้อย และหายไว ซึ่งใช้เทคโนโลยีการส่องกล้อง ทั้งนี้การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้รู้สึกอิ่มเร็วขึ้น รวมถึงรับประทานอาหารได้น้อยลง ลดการดูดซึมแคลอรี่ พร้อมทั้งปรับระดับฮอร์โมนที่ควบคุมความหิว

ทั้งนี้ ศูนย์ผ่าตัดโรคอ้วน สามารถผ่าตัดได้ทุกรูปแบบโดยหัตถการที่นิยมกันทั่วไป ได้แก่ Sleeve (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy) ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะให้เล็กลงอย่างเดียว และ บายพาส (Roux-en-Y Gastric Bypass) ซึ่งคนไข้ที่อ้วนมาก อ้วนน้อย จะมีวิธีการที่เหมาะกับตัวเองแตกต่างกัน อีกหนึ่ง Highlight ของโรงพยาบาลแพทย์รังสิต คือ การที่คนไข้ที่ได้รับการรักษาผ่าตัดกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก แบบ Sleeve (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy) ประสบความสำเร็จ คือ นางสาวรุ่งรัตน์ บุญเฟรือง นับว่าเป็นรายแรก (เคสรีวิว) ของทางโรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคอ้วนโดยเฉพาะผู้ที่มี BMI สูง เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการระงับความรู้สึกขณะผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยผู้ป่วยผ่าตัดลดอ้วนทุกรายควรได้รับการผ่าตัดในโรงพยาบาลที่มีมาตรฐาน เพื่อให้ได้รับบริการที่มีความปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมผ่าตัด มาตรฐานห้องผ่าตัด การดูแลหลังผ่าตัดในห้องไอซียู และการดูแลโดยทีมสหสาขาผู้เชี่ยวชาญ

ขณะที่ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ในการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ได้แก่ ผู้ที่มี BMI มากกกว่า 32.5 และมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิต เป็นต้น อนึ่งการผ่าตัดมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละกลุ่มน้ำหนัก โดยทางโรงพยาบาลสามารถให้บริการผ่าตัดได้ทุกวิธี อาทิ ผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ (Sleeve Gastrectomy: SG) การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส (Roux-en-Y Gastric Bypass) รวมถึงกรณีผู้ป่วยเคยผ่าลดขนาดกระเพาะอาหารมาแล้วก็สามารถให้การรักษาต่อได้

ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ การเกิดภาวะรั่ว การเกิดเลือดออกซ้ำ รวมถึงการต้องมาผ่าตัดซ้ำ ซึ่งผู้ป่วยผ่าตัดที่โรงพยาบาลที่ผ่านมานั้น จำนวนกว่า 100 ราย ราว 90 % เป็นคนไทย อีก 10 % เป็นชาวต่างชาติ กลุ่ม CLMV ซึ่งไม่เคยมีกรณีที่ผู้ป่วยต้องผ่าตัดซ้ำหรือมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงเกิดขึ้น

Back to top button