วิบากกรรม! KKP เขย่าราคาหุ้นทรุด “นิวโลว์” รอบเกือบ 4 ปี

KKP ราคานิวโลว์รอบเกือบ 4 ปี เซ่นพิษปล่อยสินเชื่อรถยนต์หด-NPL พุ่งแตะ 4% ฟากโบรกหั่นกำไรปี 67-68 ชี้ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์กำลังซื้อชะลอตัว พ่วงรถ EV แข่งขันราคารุนแรง เสี่ยงทำผลขาดทุนรถยึดพุ่งต่อเนื่อง ขณะที่บริษัทย่อย “บล.เกียรตินาคินภัทร” มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันหดหาย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ราคาหุ้นบนกระดานของ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP ในปัจจุบันปรับตัวลงอย่างต่อเนื่องจาก ณ วันที่ 23 พ.ค. 67 ปิดอยู่ที่ 53.50 บาท จนมาอยู่ที่ระดับ 39.00 บาท (ณ วันที่ 26 ก.ค.67) หรือลงไป 27% ซึ่งทำนิวโลว์ในรอบ 3 ปี 9 เดือน เมื่อเทียบตั้งแต่หุ้นยืนที่ 39.50 บาท เมื่อวันที่ 30 ต.ค.63 ที่ผ่านมา

โดยแน่นอนว่าราคาหุ้นของ KKP ปรับตัวลงต่อเนื่องนั้นเกิดจากสถานการณ์ตลาดรถยนต์ไทยไม่ค่อยดีนัก ครึ่งปีแรก 2567 จำนวนรถยนต์ที่ผลิตแตะ 7.61 แสนคัน ลดลง 17.39% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศอยู่ที่ 2.45 แสนคัน ลดลง 37.30% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

พร้อมกันนั้น “ส.อ.ท.” ได้หั่นเป้าผลิตรถยนต์ปี 67 จาก 1.9 ล้านคัน เป็น 1.7 ล้านคัน ลดลง 10.53% โดยเป็นการปรับเป้าเฉพาะผลิตขายในประเทศลดลงจาก 7.5 แสนคันเหลือ 5.5 แสนคัน จากปัจจัยลบหนี้ครัวเรือนสูงถึง 90% ของ GDP ประเทศในขณะที่รายได้ครัวเรือนยังต่ำจากเศรษฐกิจที่เติบโตต่ำ

ดังนั้น ปัจจัยดังกล่าวถือเป็นตัวกดดันและสะท้อนถึงทิศทางธุรกิจการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ที่จะชะลอตัวตามไปด้วย เนื่องจากกำลังซื้อชะลอ อีกทั้งการปล่อยสินเชื่อรถเสี่ยงต่อการเกิด NPL เนื่องจากภาระหนี้ครัวเรือนสูง และเสี่ยงต่อการยึดรถตามมา เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดได้ตามกำหนด นอกจากนี้การแข่งขันด้านราคารถยนต์รุนแรง หลังจากรถยนต์ EV เข้ามาส่งผลให้รถยนต์สันดาปได้รับความนิยมลดลง

ผลดังกล่าวถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับผู้ให้บริการสินเชื่อรถยนต์ใหม่และรถมือสองในไทย โดยเฉพาะกลุ่มสถาบันการเงินอย่าง บมจ.ธนาคารเกียรตินาคินภัทร ซึ่งมีพอร์ตธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์คิดเป็น 45% ของสินเชื่อรวมของธนาคาร ณ สิ้นไตรมาส 2/67

นอกจากนั้น บริษัทมีการประกาศผลประกอบการในไตรมาส 2/67 และงวดครึ่งปีแรก 2567 พบว่า ผลประกอบการลดลงมากสุดในกลุ่มธนาคารโดยกำไรไตรมาส 2/67 มีกำไรสุทธิ 768.79 ล้านบาท ลดลง 45.41% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 1,408.29 ล้านบาท

ส่วนงวด 6 เดือนแรก 2567 มีกำไรสุทธิ 2,274.81 ล้านบาท ลดลง 34.88%  เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 3,493.16 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากรายได้รวมจากการดำเนินงานปรับลดลงร้อยละ 6.8 ลดลงในสวนของรายได้ดอกเบี้ยสุทธที่ปรับ และลดลงร้อยละ 4.5 จากต้นทุนทางการเงินที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยปรับลดลงร้อยละ 13.7 เป็นผลมาจาก รายได้ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อที่ลดลงตามการชะลอตัวของสินเชื่อปล่อยใหม่

อย่างไรก็ตามหากสำรวจงบการเงินลึกลงไปในส่วนของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าาจะเกิดขึ้นในไตรมาส 2/67 ซึ่งอยู่ที่ 1,769 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.07 เมื่อเทียบไตรมาส 1/67 โดยเป็นผลมาจากฤดูกาลที่มีช่วงเทศกาลและเพื่อเป็นการรองรับผลกระทบทอาจเกิดขึ้นต่อคุณภาพของสินเชื่อจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง รวมถึงปัจจัยทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ยังมีความไม่แน่นอน

นอกจากนี้ในไตรมาส 2/67 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมีจำนวน 3,809 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.5%  จากไตรมาส 2/66 อยู่ที่ 3,3791 ล้านบาท แต่หากสังเกตในส่วนค่าใช้จ่ายผลขาดทุนจากการขายรถยึดไตรมาส 2/67 พบว่าอยู่ที่จำนวน 1,073 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.70% เมื่อเทียบไตรมาส 2/67 อยู่ที่ 978 ล้านบาท ซึ่งยังสะท้อนปริมาณการขายรถยึดยังทรงตัวสูง

โดยไม่เพียงเท่านั้นคุณภาพสินทรัพย์ ณ ไตรมาส 2/67 พบว่า ปริมาณสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (NPL) ของธนาคารและบริษัทย่อยมีจำนวน 15,540 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.0 ของสินเชื่อรวม ปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1/67 ที่อยู่ที่ร้อยละ 3.8  โดยหลักได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ยังคงฟื้นตัวได้ช้า ส่งผลให้ปริมาณสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต ปรับเพิ่มขึ้น

โดยแรงเทขายที่ออกมาไม่เพียงนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นต่อทิศทางธุรกิจที่อ่อนแอ ในด้านของนักวิเคราะห์ชั้นนำหลายแห่งโดยเฉพาะ LSEG ได้ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ย Consensus หุ้น KKP อยู่ที่ระดับ 41.63 บาท โดยให้คำแนะนำถือ 9 แห่ง และแนะนำขาย 3 แห่ง และไม่มีการแนะนำซื้อ

นอกจากนี้ เมื่อไปสำรวจข้อมูลจากใน www.settrade.com ในส่วนความเห็นนักวิเคราะห์ โดยสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน (IAA Consensus) พบว่า ให้ราคาเป้าหมายเฉลี่ยปี 2567 อยู่ที่ 42.84 บาท จากโบรกเกอร์ทั้งหมด 15 แห่ง โดยแนะนำขาย 6 แห่ง แนะนำถือ 7 แห่ง และแนะนำซื้อ 2 แห่ง

อย่างไรก็ตามหากสำรวจมุมมองนักวิเคราะห์ที่แนะนำขายมองว่าธุรกิจ KKP ยังอ่อนแอ และมีความเสียงจากแนวโน้ม NPLs ที่จะสูงขึ้นมากกว่าคาดจากกาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีการแข่งขันด้านราคาในระดับสูง เนื่องจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่มีแรงกดดันจากกำลังซื้อผู้บริโภคชะลอตัว คุณภาพสินเชื่อเปาะบาง และการแข่งขับจากรถยนต์ไฟฟ้ากดดันราคารถยนต์มือสอง และ KKP ยังต้องเผชิญความท้าทายจากตลาดสินเชื่อเช่าซื้อที่ชะลอตัว และคุณภาพสินเชื่ออ่อนแอทำให้โบรกเกอร์ปรับลดประมาณการณ์กำไรปี 67-68

โดยบล.ดาโอ ระบุในบทวิเคราะห์ (23 ก.ค.67) ว่า ปรับคำแนะนำลงเป็น”ขาย” จากเดิมที่”ถือ” KKP และปรับราคาเป้าหมายลงมาอยู่ที่ 37.00 บาท จากเดิมที่ 52.00 บาทโดยเรามีมุมมองเป็นลมทั้งจากการประชุมนักวิเคราะห์และงบ 2024 ที่ทำควดมาก โดยผู้บริหารปรับเป้าหมายทางการเงินปี 2567 ลง และกำไรสุทธิไตรมาส 2/67 อยู่ที่ 769 ล้านบาท ลดลง 45% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลง 49% เทียบไตรมาสก่อนหน้า ต่ำกว่าที่ตลาดและเราคาดที่ 1.2 พันล้านบาทจากการตั้งสำรองฯที่มากว่าค่าดเพราะสินชื่อบ้าน, ธุรกิจโรงแรม และ SME มีความเสี่ยงมากขึ้น

ขณะที่ผลขาดทุนรถยึดตามคาดอยู่ที่ 1.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน NPL เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 4.00% จากไตรมาสก่อนที่ 3.80%

จากประมาณการทั้งปีทำให้เรามีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 67ลง 28% และปี 68 ลง 25% จากการปรับการเติบโตของสินเชื่อรวมลง และปรับ credit cost ที่รวมผลขาดทุนรถยึดเพิ่มขึ้น ทำให้กำไรสุทธิปี 67 อยู่ที่ 4.1 พันล้านบาท ลดลง 24% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่มีความเสียงจากแนวโน้ม NPLs ที่จะสูงขึ้นมากว่าคาดจากกาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีการแข่งขันด้านราคาในระดับสูง รวมถึงสินเชื่อบ้านและ SME ที่มีความสี่ยงมากขึ้น บอกจากนี้ตลาดหุ้นที่มีกฎเกณฑ์ในการซื้อขายมากขึ้งจะทำให้มูลค่าการซื้อขายลดลงมากว่าคาด

บล.กรุงศรี ระบุในบทวิเคราะห์ (23 ก.ค.67) ว่า มุมมอง Negative จากการที่ KKP ประชุมนักวิเคราะห์ เพราะ KKP ปรับเป้าปี 67 ลงเกือบทุกตัว ดังนี้ 1.ROAE 2.สินเชื่อรวม 3.Loan Spread และ 4. NPL Ratio

ดังนั้น ทางฝ่ายวิจัยปรับกำไรสุทธิปี 67-69 ลงปีละ 27-32% และปรับใช้ราคาเป้าหมายปี 68 ที่ 38 บาท นอกจากนั้นยังปรับคำแนะนำเป็น Reduce เพราะตลาดเช่าซื้อมีปัญหาหนัก ซึ่งเป็นพอร์ตหลักของ KKP สัดส่วน 45% ของสินเชื่อรวม และคาดการณ์ปัญหาตลาดเช่าซื้อกินระยะเวลานาน โดยเฉพาะคุณภาพสินทรัพย์อ่อนแอ ทำให้กระทบต่อการเติบโตของสินเชื่อ

บล.พาย ระบุในบทวิเคราะห์ (23 ก.ค.67) ว่า แม้การบริหารสต๊อกรถยึดทรงตัวและรถในสต๊อกลดลงเหลือราว 3.8 พันคัน ผลขาดทุนการขายรถยึดต่อคันลดลดลง ซึ่งเห็นได้อาการรับรู้ผลขาดทุนรถยึดในไตรมาส 2/67 ลดลงจากไตรมาส 1/67 อย่างไรก็ดีสถานการณ์ยังไม่นิ่งทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจ และการแข่งขันจากรถยนต์ไฟฟ้ายังกดดันราคาขายรถยนต์ใช้แล้วคาดการเติบโตของกำไรจะชะลอตัวในปี 67-68

ทั้งนี้ KKP รายงานกำไรสุทธิครึ่งแรกปี 67 เพียง 2.3 พันล้านบาท ลดลง 34.9% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มองว่าแนวโน้มธุรกิจยังไม่กลับบาฟื้นตัวอย่างชัดเจน ในครึ่งหลังปี 67 แม้มอว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวดีขึ้นก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่มีแรงกดดันจากกำลังซื้อผู้บริโภคชะลอตัว คุณภาพสินเชื่อเปาะบาง และการแข่งขับจากรถยนต์ไฟฟ้ากดดันราคารถยนต์มือสอง

โดยปรับลดประมาณการกำไรสุทธิในปี 67 ลดลง 31.6% และปี 68 ลดลง 37.5% จาก (1) ปรับลดรายได้ดอกเบี้ยสทธิลง 9.2-13.1% และ (2) ปรับลดรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลง 26.8-26.5% ดังนั้นคาดการณ์กำไรสุทธิจะปรับลดลง 30.8% ในปี 67  และปี 68 ลดลง 0.3%  ส่วนครึ่งปีหลังาคาดว่ากำไรสุทธิจะยังอ่อนแอ โดยคาดว่ากำไรจะปรับลดลงทั้งเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและเทียบครึ่งแรกปี 67 ที่ราว 1.5 พันล้านบาท ปรับคำแนะนำเป็น “ขาย” ด้วยมูลค่าพื้นฐานใหม่ที่ 38 บาท เนื่องจากมองว่า KKP ยังต้องเผชิญความท้าทายจากตลาดสินเชื่อเช่าซื้อที่ชะลอตัว และคุณภาพสินเชื่อ

บล.บัวหลวง ระบุในบทวิเคราะห์ (23 ก.ค.67) ว่าคาดกำไรไตรมาส 3/67 อยู่ที่ 1.0 พันล้านบาก จะลดลง 20% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก NIM ที่ลดลงและรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิที่ลดลง โดยปรับลดประมาณการกำไรปี 67 ลง 15% มาอยู่ที่ 4.4 พันล้านบาท ลดลง 20% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนต เนื่องจากาปรับลดประมาณการรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิลง 9% ซึ่งส่งผลให้คาดการณ์การฟื้นตัวของสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมตลาดทุนที่ลดลง

สำหรับโครงสร้างสัดส่วนรายได้ของ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP เบื้องต้นพบว่าธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีสัดส่วน 70-80% และธุรกิจในตลาดทุนสัดส่วน 20-30%

ขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแชร์) ของ บมจ.ธนาคารเกียรตินาคินภัทร (KKP) ในปี 2563 อยู่ที่ 43,819.37 ล้านบาท ต่อมาในปี 2564 อยู่ที่ 50,593.38 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2565 อยู่ที่ 62,447.89 ล้านบาท ส่วนในปี 2566 อยู่ที่ 42,549.24 ล้านบาท และล่าสุด ณ วันที่ 30 ก.ค. 67 มาร์เก็ตแชร์อยู่ที่ 32,600.28 ล้านบาท

ส่วนมูลค่าการซื้อขายของหลักทรัพย์ บล.เกียรนาคินภัทร (KKPS) ปี 2563 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน อยู่ที่ 13,288.35 ล้านบาท ต่อมาปี 2564 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน อยู่ที่ 23,466.94 ล้านบาท ขณะที่ปี 2565 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน อยู่ที่ 25,561.27 ล้านบาท ส่วนปี 2566 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 20,186.88 ล้านบาท และจากวันที่ 1 ม.ค.-26 ก.ค. 67 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่  19,297.58 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับมูลค่าการซื้อขายของบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ตั้งแต่เริ่มใช้มาตรการ Uptick Rule เมื่อวันที่ 1 ก.ค.67 ที่ผ่านมา พบว่าบริษัทหลักทรัพย์ที่มีลูกค้าเป็นนักลงทุนต่างชาติและกองทุนเป็นหลัก มีมูลค่าการซื้อขายลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ เทียบกับช่วงก่อนเริ่มใช้มาตรการ Uptick Rule ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKPS มีมูลค่าซื้อขายลดลงเหลือบริมาณ 1 หมื่นล้านบาท จากเดิมมีมูลค่าซื้อขายมากกว่า 2-3 หมื่นล้านบาท

Back to top button