VGI เพิ่มทุน 1.3 หมื่นล้าน เล็งสยายปีกธุรกิจ “Virtual Bank”
VGI เพิ่มทุนพีพี 4 กองทุนใหญ่จำนวน 8.8 พันล้านหุ้น ในราคาเสนอขายหุ้นละ 1.50 บาท คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นไม่เกิน 13,208.22 ล้านบาท บริษัทฯมีแผนที่จะนำเงินไปลงทุนประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) หากบริษัทฯ และพันธมิตรไม่ได้รับใบอนุญาต Virtual Bank หรือมีเงินทุนเหลือจากโครงการดังกล่าว จะนำเงินทุนที่เหลือมาลงทุนในโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ ธุรกิจสื่อโฆษณาและความบันเทิง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวันนี้ (2 ส.ค.67) จากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ VGI เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ได้มีมติอนุมัติการออกและจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 8,805,480,334 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 44.03% ของทุนชำระแล้วของบริษัทฯ ภายหลังการเพิ่มทุนชำระแล้ว ในราคาเสนอขายหุ้นละ 1.50 บาท คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้นไม่เกิน 13,208.22 ล้านบาท เพื่อเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) เป็นจำนวน 4 ราย ได้แก่ CAI Optimum Fund VCC (กองทุน CAI), Si Suk Alley Limited (กองทุน Si Suk), Opus- Chartered Issuances S.A. (กองทุน Opus) และ Asean Bounty (กองทุน Asean Bounty)
1.กองทุน CAI Optimum Fund VCC ที่บริหารจัดการโดย Capital Asia Investments PTE. LTD. จำนวน 2,900,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 14.50% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเพิ่มทุน
2.กองทุน Si Suk Alley Limited ที่บริหารจัดการโดย Argyle Street Management Limited จำนวน 2,805,480,334 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 14.03% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเพิ่มทุน ทั้งนี้ เพื่อให้การถือหุ้นโดยกองทุน Si Suk Alley Limited ไม่ขัดต่อข้อจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างด้าวของบริษัทฯ บริษัทฯ จะจัดสรรหุ้นบางส่วนให้กับบริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อหลักทรัพย์เบื้องต้น (Initial Purchaser) และบริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อหลักทรัพย์เบื้องต้น (Initial Purchaser) จะดำเนินการขายหรือโอนหุ้นดังกล่าวให้กับกองทุน Si Suk Alley Limited เพื่อให้กองทุน Si Suk Alley Limited ถือหุ้นดังกล่าวในรูปของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR)
3.กองทุน Opus-Chartered Issuances S.A. ที่บริหารจัดการโดย Agmoni Eyal, Bartelloni Andrea,Maier Daniel, Melizzi Nicola, Perin Paolo, Wenkel Tobias จำนวน 2,200,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 11.00% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเพิ่มทุน
4.กองทุน Asean Bounty ที่บริหารจัดการโดย Finansia Investment Management ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดตั้ง จำนวน 900,000,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 4.50% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเพิ่มทุน ทั้งนี้ เพื่อให้การถือหุ้นโดยกองทุน Asean Bounty ไม่ขัดต่อข้อจากัดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างด้าวของบริษัทฯ บริษัทฯ จะจัดสรรหุ้นบางส่วนให้กับบริษัท หลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อหลักทรัพย์เบื้องต้น (Initial Purchaser) และบริษัทหลักทรัพย์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อหลักทรัพย์เบื้องต้น (Initial Purchaser) จะดำเนินการขายหรือโอนหุ้นดังกล่าวให้กับกองทุน Asean Bounty เพื่อให้กองทุน Asean Bounty ถือหุ้นดังกล่าวในรูปของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (NVDR)
พร้อมกันนั้น จัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทฯ จำนวน 1,119,451,967 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิของใบสำคัญแสดงสิทธิ VGI-W4 ที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น(Rights Offering) โดยไม่คิดมูลค่า ในอัตราการจัดสรร 10 หุ้นสามัญเดิม ต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ VGI-W4 โดยใบสำคัญแสดงสิทธิ VGI-W4 มีอัตราการใช้สิทธิอยู่ที่ใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย มีสิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น ในราคาการใช้สิทธิ 1.50 บาทต่อหุ้น โดยรายละเอียดและสรุปสาระสำคัญของใบสำคัญแสดง 4 สิทธิ VGI-W4 ปรากฏตามสารสนเทศเกี่ยวกับการออกและจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 4 (VGI-W4)
ทั้งนี้ บริษัทฯ ต้องการระดมทุนโดยการออกและเสนอขายหุ้นผ่านการเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (Private Placement) เนื่องจากสัญญาให้สิทธิในการบริหารจัดการพื้นที่โฆษณาของบริษัทฯ ซึ่งเป็นรายได้หลักกำลังจะหมดอายุใน 5 ปี (สิทธิในการบริหารจัดการพื้นที่โฆษณาบนเครือข่ายรถไฟฟ้าดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2572) ดังนั้น บริษัทฯ จึงมีความประสงค์ที่จะเข้าลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและ/หรือ ต่อยอดกับธุรกิจเดิมของบริษัทฯ ซึ่งได้แก่ ธุรกิจสื่อโฆษณาและความบันเทิง (Media and Entertainment) ธุรกิจบริการด้านดิจิทัล (Digital Services) และธุรกิจการจัดจำหน่าย (Distribution)
โดยในเบื้องต้น บริษัทฯมีแผนที่จะนำเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนในครั้งนี้ เพื่อลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) โดยบริษัทฯจะทำการลงทุนใน Virtual Bank โดยบริษัทฯ เอง หรือผ่านบริษัทย่อยของบริษัทฯ
ทั้งนี้ Virtual Bank ดำเนินงานผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและออนไลน์ทั้งหมด โดยไม่มีสาขาที่ตั้งแบบธนาคารดั้งเดิม (Physical) โดยลูกค้าสามารถทาธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เช่น ฝากเงิน ถอนเงิน โอนเงิน ชาระบิล และอื่น ๆ ผ่านแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ของ Virtual Bank ซึ่งจากแผนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองไว้ว่า Virtual Bank เข้ามาจะช่วยเจาะลูกค้ารายย่อยในส่วนที่ธนาคารเข้าไม่ถึง เช่น กลุ่มเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน กลุ่มรายย่อยที่ไม่มีรายได้ประจำ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ใช้เทคโนโลยีและข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่ในการให้บริการทางการเงินกับลูกค้า และกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในระบบสถาบันการเงินอย่างเหมาะสม และต้นทุนการเงินที่ต่าลงกว่าธนาคารดั้งเดิม (Physical) จะส่งผ่านไปยังลูกค้าสิ่งที่ส่งมาด้วย
สำหรับการเข้าลงทุนใน Virtual Bank จะเป็นการเข้าร่วมกับพันธมิตรรายอื่น ๆ ซึ่งยังอยู่ในระหว่างการเจรจาสัดส่วนการถือหุ้น ซึ่งบริษัทฯ คาดว่าบริษัทฯ จะไม่ได้เป็นแกนหลักในการเข้าร่วมกับพันธมิตรรายอื่น และจะถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 25 ทั้งนี้ หนึ่งในข้อกาหนดที่สำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทยในการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ Virtual Bank คือผู้ขออนุญาตต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท และทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ในระยะแรกของการประกอบธุรกิจ รวมถึงมีเงินทุน เพียงพอสาหรับเป็นเงินทุนสารองในการบริหารงาน ทั้งนี้บริษัทฯ มองว่า บริษัทฯ และพันธมิตร นั้นมีศักยภาพในการเข้าร่วมขออนุญาต Virtual Bank เนื่องจาก บริษัทฯ เอง มีประสบการณ์ในด้านการเงินและบริการด้านดิจิทัล (Digital Services) ผ่าน Rabbit Card และ Rabbit Cash รวมถึงความสามารถในผสมผสานความสามารถทางด้านการเงินข้อมูล และเทคโนโลยีเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี และเนื่องจากพันธมิตรที่อยู่ระหว่างการเจรจาในการร่วมกันขอใบอนุญาตฯนี้ ล้วนมีศักยภาพสูงในการลงทุน
บริษัทฯ จึงเห็นว่า การที่บริษัทฯ มีเงินเพิ่มทุนเข้ามาเตรียมพร้อมไว้ถือเป็นคุณสมบัติข้อสำคัญ และเป็นโอกาสในการเพิ่มความเชื่อมั่นที่พันธมิตรมีต่อบริษัทฯ ในการร่วมโครงการกันครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ ในการประกอบกิจการ Virtual Bank นั้น เงินลงทุนและความช่วยเหลือจากผู้ถือหุ้นที่แข็งแกร่งในช่วงแรกมีความจาเป็นอย่างมากเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนรวม ลูกค้า รวมถึงผู้ฝากเงิน จึงทำให้การเพิ่มทุนครั้งนี้ มีความสำคัญต่อการเข้าร่วมโครงการนี้ด้วยเช่นกันในการนี้หากการเข้าลงทุนใน Virtual Bank มีความชัดเจน และบริษัทฯ จะดำเนินการเข้าลงทุน
โดยบริษัทฯจะปฏิบัติตามรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ตามประกาศคณะกรรมการตลาดทุนที่ ทจ. 20/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทำรายการที่มีนัยสำคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ (รวมทั้งที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม) และประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจาหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ พ.ศ. 2547 (ประกาศการได้มาหรือจำหน่ายไป)
อย่างไรก็ดีหากบริษัทฯ และพันธมิตรไม่ได้รับใบอนุญาต Virtual Bank หรือมีเงินทุนเหลือจากโครงการดังกล่าว บริษัทฯ จะนำเงินทุนที่เหลือมาลงทุนในโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับ ธุรกิจสื่อโฆษณาและความบันเทิง (Media and Entertainment) โดยอาจรวมถึงธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ/หรือ ต่อยอดกับธุรกิจเดิมของบริษัทฯ ได้แก่ ธุรกิจสื่อโฆษณาและความบันเทิง (Media and Entertainment) ธุรกิจบริการด้านดิจิทัล (Digital Services) และ ธุรกิจการจัดจำหน่าย ( Distribution) นอกเหนือจากนั้นบริษัท ฯ จะนำเงินลงทุนมา พัฒนา และปรับปรุงระบบความบันเทิง (Entertainment) ในรถไฟฟ้า และสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้มีความทันสมัยและสะดวกสบายต่อลูกค้าในการใช้บริการรถไฟฟ้ามากขึ้น ซึ่งบริษัทฯ มีเกณฑ์พิจารณาการเข้าลงทุนโดยการมุ่งเน้นและต่อยอดธุรกิจเดิมของบริษัทฯ ที่มีความชานาญอยู่แล้ว โดยบริษัทฯ จะนำเสนอเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการ และ/หรือ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามที่กำหนดในกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป