SHEconomy เศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยผู้หญิง

หลายคนคงพอทราบมว่าประชากรโลก ณ ปัจจุบันนี้มีสัดส่วนของ "ผู้หญิง" มากกว่า ผู้ชาย ไม่เพียงเท่านั้น ผู้หญิงยังเป็นกลุ่มประชากรหลักของกำลังซื้อมหาศาลในระบบเศรษฐกิจโลกอีกด้วย


ข้อมูลจาก The Economist Intelligence Unit องค์กรวิจัยในสหรัฐอเมริกา คาดว่าในปี พ.ศ.2573 กำลังซื้อของผู้หญิงทั่วโลกจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดไปอยู่ที่ราวๆ 46 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบกับในอดีตเมื่อปี พ.ศ.2557 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แล้ว ทำให้พบว่า กำลังซื้อของผู้หญิงเติบโตเฉลี่ยปีละ 6% จนเกิดเป็นเทรนด์ SHEconomy โดยเฉพาะในยุคนี้ก็ยิ่งมาแรงแซงทุกเทรนด์เศรษฐกิจ

สำหรับเทรนด์ SHEconomy ที่กำลังมาแรงนั้น มีปัจจัยหนุนมาจาก 3 ปัจจัยด้วยกันคือ

  1. ตลาดผู้หญิงในกลุ่ม Millennials ที่มีกำลังซื้อสูงและกล้าใช้จ่าย
  2. บทบาทของผู้หญิงที่เด่นชัดขึ้นในตลาดแรงงาน ทำให้สร้างรายได้มากขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต
  3. ผู้หญิงมีส่วนสำคัญในการตัดสินใจการใช้จ่ายและกำหนดการจับจ่ายใช้สอยในครัวเรือน

SHEconomy ในสังคมไทย

ย้อนกลับมาดูในประเทศไทยมีรายงานข้อมูลล่าสุดจาก สำนักทะเบียนกลาง เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนประชากรในไทยมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายขณะเดียวกันก็มีผลสำรวจพบว่า ผู้หญิงมีการจับจ่ายด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ยืนยันด้วยข้อมูลจากโรงพยาบาลวิมุต ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีศูนย์ดูแล “สุขภาพผู้หญิงในแบบองค์รวม (Holistic Care)” ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ระบุว่า ตั้งแต่ช่วงหลังสถานการณ์โควิด-19 เป็นต้นมา ผู้บริโภคกลุ่มผู้หญิงเข้ามาใช้บริการในโรงพยาบาลวิมุตมากกว่าผู้ชาย พบว่ามีสัดส่วนผู้ใช้บริการที่เป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายสูงถึง 20%

ช่วงที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประทศ หลายสำนัก รายงานไปในทิศทางเดียวกันว่า ผู้หญิงทั่วโลกเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญในการหารายได้เข้าสู่ครัวเรือนมากกว่าในอดีต อีกทั้งยังได้รับการยอมรับให้เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจและกำหนดการใช้จ่ายในครัวเรือน

นอจากนี้ ยังมีงานศึกษาของ Frost & Sullivan พบว่า ผู้หญิงได้รับการยอมรับให้เป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในการใช้จ่ายในครอบครัวมากถึง 85% ของรายได้ทั้งหมดของครอบครัว ขณะที่รายได้ของผู้หญิงทั่วโลกในปี พ.ศ. 2565 อยู่ที่ราว 29.00 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ถึงแม้ตัวเลขจะถือว่าน้อย แต่สามารถมีอำนาจในการใช้จ่าย ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดค่าใช้จ่ายทั้งหมดภายในครอบครัวอยู่ที่ราว 39.80 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออกจาก SHEconomy

ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ให้ข้อมูลกับ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวหุ้นธรกิจออนไลน์ ว่า สินค้าส่งออกของไทยในกลุ่มอาหารฟังก์ชัน อาหารสัตว์เลี้ยง อัญมณี และสมุนไพร มีศักยภาพที่จะสามารถต่อยอดให้สอดรับกับเทรนด์ SHEconomy ได้เป็นกลุ่มแรกๆ โดยอิงตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

1.อัตราการเติบโตมูลค่าตลาดโลกของสินค้าที่ได้รับอานิสงส์จากเทรนด์ SHEconomy ความต้องการของสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.2567-2573 ธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตของมูลค่าตลาดสูงกว่าค่าเฉลี่ย เมื่อเทียบกับธุรกิจทั้งหมดที่ได้รับอานิสงส์จากเทรนด์นี้ ได้แก่ อาหารฟังก์ชัน อาหารสัตว์เลี้ยง สมุนไพร และเครื่องประดับ โดยมีการเติบโตของมูลค่าตลาดในปี 2565-2573 อยู่ที่ 13.30%, 12.50%, 11.90% และ 11.50% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของการเติบโตของธุรกิจทั้งหมดที่ได้รับอานิสงส์จากเทรนด์นี้ ซึ่งอยู่ที่ 9.4%

2.ส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยในตลาดโลกในกลุ่มสินค้าที่ได้รับอานิสงส์จากเทรนด์ SHEconomy ศักยภาพในการแข่งขันการส่งออกของไทยในตลาดโลก ในปี พ.ศ. 2567-2573 ธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดส่งออกสูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับธุรกิจทั้งหมดที่ได้รับอานิสงส์จากเทรนด์นี้ ได้แก่ สินค้าอาหารสัตว์เลี้ยง อาหารฟังก์ชัน เครื่องประดับ และสมุนไพร โดยมีส่วนแบ่งตลาดส่งออกในตลาดโลกที่ 7.60%, 4.00%, 4.00% และ 3.60% ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของส่วนแบ่งตลาดส่งออกในกลุ่มธุรกิจทั้งหมดที่ได้รับอานิสงส์จากเทรนด์นี้ ซึ่งอยู่ที่ 2.80%

ไทยตื่นตัว ผุดแคมเปญ ตามเทรนด์ SHEconomy

ภาคประชาสังคม อย่าง กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNFPA) เล็งเห็นความสำคัญของประชากรหญิงที่เพิ่มขึ้น และ การเติบโตของเทรนด์ธุรกิจ SHEconomyจึงได้เปิดตัว “กองทุนคริสติน่า อากีล่าร์”เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ และ พัฒนาธุรกิจประเภท SHEconomyโดยได้ คริสติน่า อากีล่าร์ศิลปินหญิงของไทย มาเป็น brand ambassadorของกองทุน และ เป็น Champion of UNFPA คนแรกของไทย

นอกจากนี้ ภาคเอกชน โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมบันเทิง ได้เล็งเห็นโอกาสในการต่อยอดจากเทรนด์ SHEconomyในหลายด้าน อาทิ ด้านภาพยนตร์ , ด้านละคร รวมไปถึง ด้านคอนเสิร์ต อย่างเร็วๆนี้ จะมีเทศกาลคอนเสิร์ตชื่อ HER CONCERT 2024”คอนเสิร์ตที่รวบรวมศิลปินหญิงแถวหน้าของเมืองไทยไว้บนเวทีเดียวกัน ภายใต้แนวคิด เชิดชูและผลักดันให้ผู้หญิงไทยมีแรงบันดาลใจในการสร้างสังคม รวมถึงได้มีบทบาทต่อสังคมมากยิ่งขึ้น

จากที่กล่าวและยกตัวอย่างมา ยังมองไม่เห็นภาพชัดในแง่ของธุรกิจที่เป็นภาพที่ชัดเจนว่า ไทยพร้อมลงแข่งขันในตลาด SHEconomyแต่หากเรามองผ่านแคมเปญต่างๆ รวมถึง การจัดเทศกาลดนตรี ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดี ที่ไทยเราเริ่มตื่นตัว และ ปรับตัวให้ทันเทรนด์โลก

Back to top button