GULF กวาดกำไร Q2 โต 68% ทะลุ 4.7 พันล้าน ปักหมุดรายได้ปีนี้เป้า 30%
GULF รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/67 โต 68% แตะ 4.7 พันล้านบาท จากปีก่อนมีกำไร 2.8 พันล้านบาท ตั้งเป้ารายได้ปี 67 โต 25-30% เดินหน้าโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัล ด้านโบรกแนะนำ "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 57 บาท
บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF รายงานผลประกอบการไตรมาส 2/67 และงวด 6 เดือนแรกปี 67 มีกำไรสุทธิ ดังนี้
สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย. 67 พบว่ากำไรสุทธิ 4,741.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64.35% จากงวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 2,884.93 ล้านบาท เป็นผลจากรายได้จากธุรกิจพลังงานหมุนเวียน อยู่ที่ 655 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35.6% จากงวดเดียวของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากโครงการ MKW ในประเทศเวียดนาม ที่เปิดดำเนินการครบทุกหน่วยตั้งแต่ไตรมาส 3/2566 รวมถึง GULF1 มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการให้บริการก่อสร้างโครงการแก่ลูกค้า และจำหน่ายแผงพลังงานแสงอาทิตย์
รวมถึงรับส่วนแบ่งกำไร core profit จากบริษัทร่วมและการร่วมค้า ในไตรมาส 2/2567 อยู่ที่ 2,970 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38.0% จากงวดเดียวของปีก่อน และ 12.5% จากไตรมาสก่อน โดยได้รับส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นจาก INTUCH รวมทั้งโรงไฟฟ้าภายใต้กลุ่ม GJP มีปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับกฟผ. เพิ่มขึ้นจำกกำรที่มีโรงไฟฟ้าหยุดซ่อมบำรุงน้อยลง นอกจากนี้ PTT NGD ยังมีผลประกอบการที่ดีขึ้นจากราคาขายที่ปรับตัวสูงขึ้นในขณะที่ต้นทุนลดลง และได้รับส่วนแบ่งกำไรจากโครงการ HKP หน่วยที่ 1 ซึ่งเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในวันที่ 1 มีนาคม 2567 อีกด้วย
สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2567 บริษัทมีกำไรสุทธิ 8,239.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.34% จากงวดเดียวของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 6,734.91 ล้านบาท โดยกลุ่มธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ บันทึกรายได้ 57,924 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.2% จากงวดเดียวของปีก่อน ซึ่งหลักเป็นผลจากการเปิดดำเนินการของโครงการ GPD หน่วยที่ 2-3 ตำมที่ได้กล่าวถึงในข้างต้น ประกอบกับโรงไฟฟ้า GSRC มีปริมาณการจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. เพิ่มขึ้น ตามปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศที่สูงขึ้น ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น สามารถชดเชยผลกระทบจากราคาขายไฟฟ้าเฉลี่ยที่ปรับลดลงตามทิศทางเดียวกับต้นทุนก๊าซธรรมชาติ และค่า Ft รวมถึงผลกระทบจากโรงไฟฟ้า SPP ภายใต้กลุ่ม GMP หยุดซ่อมบารุงมากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้ทั้งหมด
อีกทั้งกลุ่มธุรกิจพลังงานหมุนเวียน มีรายได้ 1,523 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 48.2% จากงวดเดียวของปีก่อน จากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม MKW ที่เปิดดำเนินการครบทุกหน่วยการผลิตตั้งแต่ไตรมาส 3/2566 และบริษัทย่อย GULF1 มีรายได้เพิ่มขึ้นจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคำที่ทยอยเปิดดำเนินกำรเชิงพาณิชย์ การให้บริการก่อสร้างโครงการ และการจำหน่ายแผงพลังงานแสงอาทิตย์แก่ลูกค้าอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น สามารถชดเชยรายได้ของโรงไฟฟ้าชีวมวล GCG ลดลงด้วย จากผลกระทบของค่า Ft ขายส่งที่ปรับตัวลดลงได้ทั้งหมด
ด้าน นางสาวยุพาพิน วังวิวัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน GULF เปิดเผยว่า “บริษัทฯ ยังคงประมาณการการเติบโตของรายได้รวมในปี 2567 อยู่ที่ประมาณ 25-30% โดยโครงการต่าง ๆ ของบริษัทฯ ยังคงดำเนินไปตามแผน สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 โครงการโรงไฟฟ้า GPD หน่วยที่ 4 (662.5 เมกะวัตต์) มีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ตามแผนในวันที่ 1 ตุลาคม 2567
ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (solar farms) และโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (solar farms with battery energy storage systems) มีแผนที่จะเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ 5 โครงการ กำลังการผลิตติดตั้งรวม 532 เมกะวัตต์ ในเดือนธันวาคม 2567
นอกจากนี้ โครงการ solar rooftop ภายใต้ GULF1 คาดว่าจะสามารถเข้าลงนามสัญญาได้ไม่ต่ำกว่า 270 เมกะวัตต์ ภายในปี 2567 และดำเนินการจ่ายไฟฟ้าให้กับลูกค้าไม่ต่ำกว่า 180 เมกะวัตต์ ภายในสิ้นปีนี้ โดย GULF1 มีเป้าหมายที่จะขยายธุรกิจ solar rooftop ให้ได้มากกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2573 ในส่วนของธุรกิจก๊าซ HKH ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่บริษัทฯ ถือหุ้น 49% ได้เริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันจำนวน 6 ลำ รวม 400,000 ตัน เพื่อนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า HKP หน่วยผลิตที่ 1 อีกทั้งมีแผนจะนำเข้าเพิ่มเติมอีกประมาณ 200,000 ตัน ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจะผลักดันให้รายได้ของกลุ่ม GULF ในปี 2567 เป็นไปตามเป้าหมาย”
นางสาวยุพาพิน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการอื่น ๆ ของบริษัทฯ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนายังเป็นไปตามแผน โดยโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดเฟส 3 มีกำหนดถมทะเลแล้วเสร็จในช่วงปลายปี 2567 และจะเริ่มก่อสร้าง LNG terminal ในช่วงกลางปี 2568 ในขณะที่โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มีกำหนดรับมอบพื้นที่จากการท่าเรือเพื่อเริ่มก่อสร้างท่าเรือในปลายปี 2568 ในส่วนของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองนั้น สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) มีกำหนดจะเปิดดำเนินการในปี 2568 ขณะที่สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) มีกำหนดจะเปิดดำเนินการในปี 2569
ส่วนของธุรกิจดิจิทัล ธุรกิจศูนย์ข้อมูล GSA DC (data center) ของกลุ่มบริษัทฯ อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง โดยเฟสแรกซึ่งมีขนาด 25 เมกะวัตต์มีแผนเปิดให้บริการในเดือนเมษายน 2568 โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะขยายศูนย์ข้อมูลดังกล่าวเพิ่มอีก 25 เมกะวัตต์ในเฟสที่ 2 ภายในพื้นที่เดียวกัน รวมเป็น 50 เมกะวัตต์ โดย GSA DC จะมุ่งเน้นไปที่การใช้พลังงานสะอาด และได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการใช้ GPU ในการประมวลผลข้อมูล (cloud computing) ด้วย
เนื่องจากปัจจุบันองค์กรธุรกิจต่างๆ กำลังขับเคลื่อนไปสู่ digital transformation จากการใช้งาน big data, IoT และ AI ซึ่ง workload ของ AI ดังกล่าวต้องใช้ GPU ในการประมวลผลข้อมูล ซึ่งจำเป็นต้องใช้พลังงานมหาศาลและใช้ระบบ liquid cooling ในการระบายความร้อน โดยกลุ่มลูกค้าหลักของ GSA DC จะเป็นกลุ่ม hyperscalers enterprise และหน่วยงานรัฐบาล ส่วนธุรกิจ cloud ที่บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับ Google เพื่อให้บริการ Google Distributed Cloud air-gapped มีแผนที่จะเปิดให้บริการในช่วงกลางปี 2568
โดยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ได้แก่ องค์กรที่ต้องการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลที่มีความสำคัญหรือเป็นความลับ โดยผู้ใช้งาน Google Cloud สามารถเลือกที่จะจัดเก็บข้อมูลที่ศูนย์ข้อมูล GSA DC ของบริษัทฯ ได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมองการต่อยอดความร่วมมือทางธุรกิจไปสู่บริการอื่น ๆ ในอนาคต ซึ่งได้แก่ AI และ cybersecurity
สำหรับเรื่องการควบรวบริษัทระหว่าง GULF และบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH นั้น ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ ซึ่งการจัดตั้งบริษัทใหม่ (NewCo) คาดว่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 2/2568”
โดย GULF มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน และการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย โดยเข้าไปมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ ครอบคลุม 40 จังหวัดทั่วไทยผ่านหลากหลายโครงการ เช่น โครงการพลังงานสะอาดเชื่อมเครือข่ายเพื่อคนไทย โดย GULF ร่วมกับ AIS ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ และระบบสื่อสารจากสถานีฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพื้นที่ห่างไกล ขาดแคลนสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าและระบบสื่อสารโทรคมนาคม ตั้งเป้า 30 พื้นที่ในระยะเวลา 5 ปี มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างการเติบโตร่วมกันของเศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ว่า คงคำแนะนำ “ซื้อ” GULF และคงราคาเป้าหมายที่ 57 บาทสำหรับ GULF เนื่อง จากเชื่อว่าจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์รายใหญ่ที่สุดจากการประมูลในอนาคตภายใต้แผน PDP ใหม่ และท่ามกลางแนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งของบริษัท
สำหรับแผนการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น จากการควบรวมกิจการ GULF-INTUCH ที่ประกาศไปเมื่อวันที่ 16 ก.ค.67 ที่ผ่านมา ทางฝ่ายวิจัยมีมุมมองเชิงบวก เนื่องจากจะนำไปสู่ 1) การลดอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน และ 2) เพิ่มรายได้ประมาณ 2 พันล้านบาทต่อปี