“กรุงไทย” มองส่งออกไทยปี 67 ขยายตัว ท่ามกลางสงครามการค้า-ต้นทุนขนส่งกดดัน
ศูนย์วิจัย “Krungthai COMPASS” ชี้ส่งออกสินค้า “เกษตร-อุตสาหกรรม” ไทยปี 67 สดใส หลังไตรมาส 2/67 ขยายตัวต่อเนื่อง 5.8% แต่อาจเผชิญปัจจัยสงครามการค้าสหรัฐ-จีน ต้นทุนค่าขนส่ง แรงงานกดดันกระทบกำไรผู้ประกอบการ
ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ประเมินภาพรวมการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในไตรมาสที่ 2 ปี 67 ขยายตัวต่อเนื่องที่ 5.80% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัว 0.30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกไปตลาดสำคัญอย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 9% และ 7% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวต่อเนื่องที่ 16.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 16.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ การขยายตัวดังกล่าวส่วนหนึ่งเกิดจากฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับแรงหนุนจากความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหาร ทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าในกลุ่มอาหารเพิ่มขึ้น เช่น ข้าว ไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น
อย่างไรก็ดี การส่งออกไปยังตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดใหญ่สุด คิดเป็นสัดส่วน 27% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรหดตัวต่อเนื่องที่ ลดลง 3.60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้ง ซึ่งเป็นสินค้าที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ทั่วไป ประกอบกับผลกระทบของภัยแล้งที่ทำให้ผลผลิตผลไม้ออกสู่ตลาดลดลง
ขณะที่ หมวดสินค้าเกษตรขยายตัวต่อเนื่องที่ 8.30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สัดส่วนราว 54% ของมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรทั้งหมด โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว 53.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ไก่ 4.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และยางพารา 37.30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การขยายตัวส่วนหนึ่งเกิดจากฐานที่ต่ำในปีก่อน และราคาส่งออกที่เพิ่มขึ้นมาก ขณะที่กลุ่มสินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ มันสำปะหลัง ลดลง 10.40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ลดลง 3.50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
ด้านหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรพลิกกลับมาขยายตัว 2.40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สัดส่วนราว 46% โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง 33.30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สิ่งปรุงรสอาหาร 8.40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 4.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การขยายตัวส่วนหนึ่งเกิดจากฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับความต้องการนำเข้าอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปในตลาดตะวันออกกลางเพิ่มขึ้น จากความกังวลต่อสงครามระหว่างอิหร่านและอิสราเอลที่ยืดเยื้อ ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัวแรง ได้แก่ น้ำตาลทราย ลดลง 39.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งจากฐานที่สูงในปีก่อน เนื่องจากราคาส่งออกในปีที่แล้วที่ปรับเพิ่มขึ้นมาก
สถานการณ์การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในกลุ่มสินค้าสำคัญ
โดยมูลค่าการส่งออกข้าวไตรมาสที่ 2 ปี 67 ขยายตัวต่อเนื่องที่ 53.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปริมาณการส่งออกข้าวโดยรวมที่ขยายตัว 31.40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยโดยรวมที่มีการปรับเพิ่มขึ้น 16.50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยเฉพาะราคาส่งออกข้าวขาว 5% ที่ปรับเพิ่มขึ้นถึง 21.40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากนโยบายการจำกัดการส่งออกข้าวของอินเดีย รวมถึงยังได้รับอานิสงส์จากความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหาร ประกอบกับปริมาณการส่งออกที่ขยายตัว 20.50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้มูลค่าการส่งออกข้าวขาว 5% ยังคงขยายตัวดีที่ 51.70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ เช่นเดียวกับมูลค่าการส่งออกข้าวหอมมะลิที่ขยายตัว 22.60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปริมาณการส่งออกที่ขยายตัว 21.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากฐานที่ต่ำในปี 66 เป็นหลักประกอบกับราคาส่งออกที่ปรับขึ้น 1.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอานิสงส์ของเอลนีโญในช่วงครึ่งปีแรก แต่ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าข้าวชนิดอื่น เนื่องจากยังคงมีการแข่งขันกับข้าวชนิดอื่นในตลาดส่งออก เช่น ข้าวพันธุ์พื้นนุ่มของเวียดนามที่มีราคาถูกและรสชาติดี
มูลค่าการส่งออกยางพาราไตรมาส 2 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3
ส่วนมูลค่าส่งออกยางแผ่นและยางแท่งไตรมาสที่ 2 ปี 67 ขยายตัว 40.70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณการส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว ไม่ว่าจะเป็นจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 1 คิดเป็น 39.80% ของการส่งออกยางแผ่นยางแท่งทั้งหมดของไทยขยายตัว 30.60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งสหรัฐที่เพิ่มขึ้น 28.80% และญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้น 62.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ
ส่วนหนึ่งมาจากฐานที่ต่ำในปีก่อน รวมทั้งยังได้รับอานิสงส์จากยอดขายยานยนต์ไฟฟ้าทั่วโลกในไตรมาสที่ 2 ที่ขยายตัว 22.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ราคาส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้น 22.40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลกระทบของปรากฎการณ์เอลนีโญในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ปริมาณน้ำยางในตลาดโลกลดลง ส่งผลให้อุปทานยางพาราต่ำกว่าความต้องการใช้ยางพาราของโลก
ขณะที่ มูลค่าส่งออกน้ำยางข้นเพิ่มขึ้น 25.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามราคาส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้น 35.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากสภาวะเอลนีโญในช่วงครึ่งปีแรกเช่นกัน แต่ปริมาณส่งออกน้ำยางข้นลดลง -7.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามการส่งออกไปจีนซึ่งคิดเป็น 35.00% ของตลาดส่งออกน้ำยางข้นทั้งหมดหดตัวลงถึง ลดลง 48.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความกังวลปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน ที่อาจกระทบการส่งออกถุงมือยางจากจีนไปสหรัฐฯ ทำให้จีนชะลอนำเข้าน้ำยางข้นซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตถุงมือยาง
มูลค่าส่งออกมันสำปะหลังไตรมาส 2 หดตัวต่อเนื่อง
โดยมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังทั้งหมดในไตรมาสที่ 2 ของปี 67 อยู่ที่ 779 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว ลดลง 10.40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดอยู่ที่ 162 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ราว 5,844 ล้านบาท) หดตัว ลดลง 54.90% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในแง่ปริมาณหดตัว ลดลง 68.70% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะเผชิญปัญหาวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการแปรรูปเพื่อส่งออก เนื่องจากปัญหาภัยแล้งและบางพื้นที่ยังประสบปัญหาโรคใบด่าง ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย
ส่วนมูลค่าส่งออกแป้งมันสำปะหลังอยู่ที่ 603 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 21,805 ล้านบาท) ขยายตัว 22.30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในแง่ปริมาณขยายตัว 27.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแม้ไตรมาส
ไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มูลค่าส่งออกแป้งมันสำปะหลังขยายตัวได้ แต่ก็เป็นผลจากฐานที่ต่ำในปีก่อน
สำหรับสถานการณ์ราคาส่งออกมันสำปะหลังในไตรมาสที่ 2 ปรับลดลง โดยมันเส้นและมันอัดเม็ดลดลง 14.30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาแอลกอฮอลล์ที่ใช้มันเส้นเป็นวัตถุดิบในจีนปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลังที่ลดลง เนื่องจากต้องแข่งขันกับราคาแป้งข้าวโพดจีนที่มีราคาถูกกว่ามาก
การส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งไตรมาส 2 หดตัวต่อเนื่อง
โดยมูลค่าการส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งไตรมาสที่ 2 ปี 67 หดตัวต่อเนื่องที่ ลดลง 3.50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดหลักหดตัว ลดลง 3.90% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าการส่งออกทุเรียนหดตัว ลดลง 1.40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนจากปริมาณการส่งออกที่หดตัว ลดลง 8.30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนหนึ่งจากฐานที่สูงในปีก่อน ประกอบกับผลกระทบของภัยแล้งในช่วงครึ่งแรกของปี 67 ทำให้ผลผลิตผลไม้ออกสู่ตลาดลดลงกระทบต่อปริมาณผลผลิตเพื่อส่งออก อีกทั้ง การส่งออกทุเรียนไปตลาดจีนเผชิญการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงมากขึ้น สะท้อนจากราคาส่งออกทุเรียนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าราคาส่งออกทุเรียนเฉลี่ยในช่วงเดียวกันของปี 62-66 เนื่องจากคู่แข่งอย่างเวียดนามขยายตลาดผลไม้ในจีนเพิ่มขึ้นกระทบการส่งออกผลไม้ของไทย
การส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปไตรมาส 2 ขยายตัวต่อเนื่อง จากความต้องการนำเข้าของตลาดส่งออกหลักที่เพิ่มขึ้น
ส่วนภาพรวมมูลค่าการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปไตรมาสที่ 2 ปี 2567 ขยายตัว 4.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะไก่แปรรูปขยายตัว 10.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากตลาดส่งออกหลักอย่างสหภาพยุโรปที่ขยายตัว 12.50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะได้รับอานิสงส์จากความกังวลวิกฤตทะเลแดงทำให้เร่งสั่งซื้อเนื่องจากเป็นสินค้าจำเป็นในการบริโภค
ส่วนการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งกลับมาหดตัว ลดลง 7.60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนที่หดตัว ลดลง 20.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งจากฐานที่สูงในปีก่อน จากการเร่งนำเข้าของคู่ค้าเพื่อทดแทน
ไก่เนื้อจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในจีนและทิศทางการส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญในปี 2567-2568
สินค้าข้าว คาดการณ์ว่าในปี 67 ปริมาณการส่งออกข้าวจะอยู่ที่ 9.2 ล้านตัน หรือยังคงขยายตัวราว 5.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัญหาอุปทานข้าวโลกที่ตึงตัวจากปัจจัยเอลนีโญในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ประเทศคู่ค้ายังคงมีการสะสมสต็อกข้าว ซึ่งผลผลิตข้าวไทยยังมีเพียงพอสำหรับส่งออก เนื่องจากปัญหาภัยแล้งในช่วงครึ่งปีแรกอาจส่งผลต่อไทยน้อยกว่าที่คาดการณ์
อย่างไรก็ตาม ช่วงครึ่งปีหลังยังต้องติดตามนโยบายจำกัดการส่งออกข้าวของอินเดียที่คาดว่าจะผ่อนคลายลงในเดือนตุลาคม เนื่องจากผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้นจากอิทธิพลของลานีญาอาจทำให้ซัพพลายข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อราคาข้าวในตลาดโลกในช่วงปลายปีมีแนวโน้มลดลง แต่โดยรวมคาดว่าราคาส่งออกข้าวขาว 5% ของไทยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 595 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือเพิ่มขึ้น 7.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น
อีกทั้ง คาดการณ์ว่าจะส่งผลดีต่อรายได้โดยรวมของผู้เล่นในตลาดข้าวตั้งแต่เกษตรกร หยง รวมไปถึงผู้ส่งออกข้าว อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามปัญหาต้นทุนค่าขนส่ง ที่คาดว่ายังคงอยู่ในระดับสูงซึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งอาจกระทบความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรมข้าว
ส่วนในปี 68 คาดการณ์ว่า ปริมาณการส่งออกข้าวจะลดลงมาอยู่ที่ 7.8 ล้านตัน หรือลดลง 15.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหากภัยแล้งในอินเดียเริ่มคลี่คลาย จะทำให้อินเดียผ่อนคลายนโยบายควบคุมการส่งออกข้าว ทำให้อานิสงส์จากการที่ผู้นำเข้าข้าวหันมานำข้าวไทยทดแทนอินเดียหมดลง ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับลดลง โดยคาดว่าราคาส่งออกข้าวขาว 5% เฉลี่ยของไทยจะอยู่ที่ 550 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือลดลง 7.60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มันสำปะหลัง
ขณะที่ในปี 67-68 คาดว่าอุตสาหกรรมต่อเนื่องในจีนยังมีความต้องการนำเข้ามันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการข้าวโพดต่อสต็อกข้าวโพดของจีนที่ยังสูงอยู่ที่ราว 1.5 เท่า (สูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงปี 62-66 ซึ่งอยู่ที่ 1.4 เท่า) แต่ในปี 67 ผลผลิตมันสำปะหลังไทยมีแนวโน้มจะไม่เพียงพอต่อการส่งออก เนื่องจากปัญหาภัยแล้งในไทยในช่วงครึ่งปีแรก ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังได้รับความเสียหายและผลผลิตมีจำกัด
รวมทั้งต้องแข่งขันด้านราคากับราคาข้าวโพดในจีนที่มีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตาม การเข้าสู่ลานีญาในช่วงครึ่งปีหลังจะเอื้อต่อการเพาะปลูกมากขึ้น ส่วนในปี 2568 หากสภาพอากาศเอื้ออำนวย คาดว่าจะทำให้ผลผลิตกลับมาขยายตัวได้
อย่างไรก็ตาม จากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น คาดว่าในปี 67 ปริมาณส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดจะอยู่ที่ 2.5 ล้านตัน หรือหดตัว ลดลง45.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับราคาเฉลี่ยมันเส้นในประเทศและราคาส่งออกจะอยู่ที่ 8.1 บาท/กก. และ 230 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ตามลำดับ ลดลง 5.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ ลดลง 15.40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนในปี 68 ปริมาณส่งออกมันเส้นและมันอัดเม็ดคาดจะอยู่ที่ 2.7 ล้านตัน หรือขยายตัว 10.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ราคาเฉลี่ยมันเส้นในประเทศและราคาส่งออกจะปรับลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 8.0 บาท/กก. และ 225 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ตามลำดับ (ลดลง 1.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ ลดลง 2.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)
อีกทั้งคาดกาณณ์ว่าในปี 67 ปริมาณส่งออกแป้งมันสำปะหลังจะอยู่ที่ 3.7 ล้านตัน หรือหดตัว ลดลง 5.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแม้ปริมาณส่งออกช่วงครึ่งปีแรกจะขยายตัวได้ เนื่องจากผู้ส่งออกบางรายยังมีสต็อกเดิม แต่คาดว่าครึ่งปีหลังสต็อกเดิมที่ทยอยหมดลงจะกระทบต่อการส่งออก สำหรับราคาเฉลี่ยแป้งมันสำปะหลังในประเทศและราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลังจะอยู่ที่ 18.1 บาท/กก. และ 540 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ตามลำดับ (ลดลง 0.50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ ลดลง 2.90% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนในปี 68 ปริมาณส่งออกแป้งมันสำปะหลังคาดจะอยู่ที่ ลดลง 3.9 ล้านตัน หรือขยายตัว 6.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับราคาเฉลี่ยแป้งมันสำปะหลังในประเทศและราคาส่งออกจะอยู่ที่ 18.2 บาท/กก. และ 529 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน ตามลำดับ (ลดลง 2.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ ลดลง 2.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน)
สินค้ายางพารา ในปี 67 คาดการณ์ว่ามูลค่าส่งออกยางแผ่นและยางแท่งจะอยู่ที่ 1.5 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 58.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากราคาส่งออกที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 33.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 1.9 พันเหรียญสหรัฐฯ/ตัน เพราะในช่วงครึ่งปีแรกราคาส่งออกอยู่ในระดับสูง จากผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วงปลายปี 2566 ที่ทำให้ผลผลิตยางพาราโลกต่ำกว่าความต้องการใช้ยางพาราของโลก
อย่างไรก็ตาม ช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าราคาส่งออกยางพาราจะมีแนวโน้มลดลง ตามผลผลิตยางพาราโลกที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่ยังต้องติดสถานการณ์โรคใบร่วงที่ยังมีอยู่ อาจทำให้ราคาส่งออกยางปรับลดลงไม่มาก ส่วนปริมาณส่งออกจะเพิ่มขึ้น 15.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์โลกที่ทยอยฟื้นตัว
ส่วนในปี 2568 คาดการณ์ว่ามูลค่าส่งออกยางแผ่นและยางแท่งจะอยู่ที่ 1.6 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น 5.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 2.2 ล้านตัน ตามการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์โลก ทำให้ความต้องการใช้ยางเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมยานยนต์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาส่งออกยางพาราปรับตัวลดลง 2.90% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 1.5 พันเหรียญสหรัฐฯ/ตัน จากผลผลิตยางพาราโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูก
ทั้งนี้ในปี 67 คาดการณ์ว่ามูลค่าส่งออกน้ำยางข้นจะอยู่ที่ 3.1 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลจากราคาส่งออกน้ำยางข้นที่คาดว่าจะอยู่ที่ 52.1 บาท/กก. หรือเพิ่มขึ้น 33.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปริมาณการส่งออกคาดจะลดลง 20.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็น 0.62 ล้านตัน จากฐานที่สูงในปีก่อน
อีกทั้งในปี 68 คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกน้ำยางข้นจะอยู่ที่ 3.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.10% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามปริมาณการส่งออกที่จะเพิ่มขึ้น 4.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอยู่ที่ 0.64 ล้านตัน จากความต้องการใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตในอุตสาหกรรมยางทางการแพทย์ ขณะที่ราคาส่งออกน้ำยางข้นลดลงเท่ากับ 50.6 บาท/กก. หรือลดลง 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามผลผลิตยางพาราโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
สินค้าผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งในปี 2567 คาดการณ์ว่า มูลค่าการส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งจะอยู่ที่ราว 2.28 แสนล้านบาท หรือหดตัว ลดลง 4.30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากได้รับปัจจัยกดดันด้านผลผลิตเป็นหลัก โดยแม้ราคาทุเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นแต่สภาพอากาศที่แปรปรวน ทำให้ผลผลิตต่อไร่ของทุเรียนลดลง
อนึ่งประกอบกับสถานการณ์น้ำท่วมภาคตะวันออกในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. 67 ทำให้ผลผลิตผลไม้บางพื้นที่ได้รับความเสียหาย โดยคาดว่า ผลผลิตทุเรียนในปี 67 จะอยู่ที่ราว 1.28 ล้านตัน หรือลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตทุเรียนเพื่อส่งออกมีแนวโน้มลดลงตามไปด้วย
นอกจากนี้ การส่งออกไปจีนเผชิญปัจจัยท้าทายจากคู่แข่งที่เพิ่มขึ้น ภายหลังมาเลเซียสามารถส่งออกทุเรียนสดเข้าจีนได้ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 67 ขณะที่เวียดนามและฟิลิปปินส์เร่งขยายการส่งออกทุเรียน ซึ่งอาจทำให้การแข่งขันด้านราคาในตลาดจีนมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นกระทบการส่งออกผลไม้ของไทย
ส่วนในปี 68 คาดการณ์ว่า มูลค่าการส่งออกผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้งจะอยู่ที่ราว 2.46 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 7.80% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับปริมาณผลผลิตผลไม้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้ออำนวย อีกทั้งความต้องการบริโภคผลไม้เมืองร้อนของชาวจีนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
อย่างไรก็ดี การแข่งขันในตลาดจีนมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จากการเร่งขยายการส่งออกทุเรียนของประเทศคู่แข่ง ทั้งเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย รวมถึงผลผลิตทุเรียนของจีนที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่ประเทศคู่ค้ากำหนด เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันระยะยาว
สินค้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป ในปี 67-68 คาดการณ์ว่า ปริมาณส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปจะอยู่ที่ 1.12 และ 1.17 ล้านตัน หรือยายตัว 3.40% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 4.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 146,401 และ 153,721 ล้านบาท หรือขยายตัว 4.00% และ 5.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตามลำดับ
เนื่องจากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมีทิศทางฟื้นตัว ตามการเติบโตของการท่องเที่ยวและธุรกิจร้านอาหาร ส่งผลให้ความต้องการนำเข้าไก่แปรรูปเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการส่งออกไก่แปรรูปของไทยไปญี่ปุ่นที่ยังขยายตัว ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในญี่ปุ่นที่นิยมบริโภคอาหารพร้อมทาน
รวมทั้งการระบาดของไข้หวัดนกในญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปจะช่วยหนุนการนำเข้าไก่เนื้อของไทยเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจะยังได้รับผลดีจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในจีน อีกทั้งยังได้รับผลดีจากการ
ส่วนในปี 67-68 คาดการณ์ว่า ปริมาณส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปจะอยู่ที่ 1.12 และ 1.17 ล้านตัน หรือขยายตัว 3.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ 4.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 146,401 และ 153,721 ล้านบาท หรือขยายตัว 4.00% และ 5.00% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ เนื่องจากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมีทิศทางฟื้นตัว ตามการเติบโตของการท่องเที่ยวและธุรกิจร้านอาหาร
โดยส่งผลให้ความต้องการนำเข้าไก่แปรรูปเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการส่งออกไก่แปรรูปของไทยไปญี่ปุ่นที่ยังขยายตัว ตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในญี่ปุ่นที่นิยมบริโภคอาหารพร้อมทาน
รวมทั้งการระบาดของไข้หวัดนกในญี่ปุ่นและสหภาพยุโรปจะช่วยหนุนการนำเข้าไก่เนื้อของไทยเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจะยังได้รับผลดีจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในจีน อีกทั้งยังได้รับผลดีจากการ
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนรอบใหม่อาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทย
โดยประเด็นนี้อาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทยที่เป็นห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเมื่อเดือน พ.ค. 67 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน เช่น ในกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และถุงมือยางทางการแพทย์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรไทยที่เป็นห่วงโซ่อุปทานของสินค้าจีนที่ถูกปรับขึ้นภาษี โดยเฉพาะยางแผ่น ยางแท่ง และน้ำยางข้น
เนื่องจากไทยส่งออกยางพารากลุ่มนี้ไปยังตลาดจีน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 39% ของมูลค่าการส่งออกยางพาราไปยังตลาดโลก ซึ่งอาจได้รับผลกระทบให้ความต้องการนำเข้ายางพาราเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนมีแนวโน้มลดลง
อย่างไรก็ดี ไทยอาจได้รับอานิสงส์ในการส่งออกถุงมือยางไปยังตลาดสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนถุงมือยางจากจีน ซึ่งสหรัฐนำเข้าถุงมือยางจากไทยคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 34.10% ของมูลค่าการนำเข้าถุงมือยางทั้งหมดของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ตามจากข้อมูลต่างๆที่กล่าวมาเบื้องต้นนั้น Krungthai COMPASS มองว่า แม้การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรในปี 2567 จะขยายตัวได้ แต่มีปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ดังนี้
สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนรอบใหม่ อาจกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรไทยที่เป็นห่วงโซ่อุปทานของจีน โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มยางพาราเนื่องจากไทยส่งออกยางพาราไปจีน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 39% ของมูลค่าการส่งออกยางพาราทั้งหมดของไทย ทำให้อาจได้รับผลกระทบจากการที่สหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้า (EV) จากจีนในอัตรา 100% ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการนำเข้ายางพาราเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของจีนมีแนวโน้มลดลง
ขณะที่ ความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ อาจกระทบต่อต้นทุนการส่งออก ทำให้ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าขนส่งที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงตามราคาน้ำมันและค่าระวางเรือในตลาดโลก รวมทั้งอาจส่งผลกระทบต่อสินค้าไทยที่พึ่งพาตลาดตะวันออกกลางในสัดส่วนที่สูง เช่น สินค้าในกลุ่มข้าว และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น
ส่วนการแข่งขันในตลาดจีนที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ภายหลังมาเลเซียสามารถส่งออกทุเรียนสดเข้าจีนได้ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 67 ขณะที่เวียดนามและฟิลิปปินส์เร่งขยายการส่งออกทุเรียน ทำให้การแข่งขันด้านราคาของทุเรียนสดในตลาดจีนมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น อาจกระทบต่อการส่งออกทุเรียนของไทย
ด้านต้นทุนค่าจ้างแรงงานที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอาจกดดันต่ออัตรากำไรของผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและอาหาร โดยล่าสุดรัฐบาลมีแผนจะปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำปัจจัยท้าทายจากมาตรการสิ่งแวดล้อมของประเทศคู่ค้าที่เข้มงวดขึ้น เช่น กฎหมายที่ห้ามนำเข้าหรือส่งออกสินค้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่าไม้เข้าสู่ตลาดของสหภาพยุโรป (EU Deforestation-free products) ที่จะเริ่มนำมาใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 30 ธ.ค. 67 อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปยังประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มยางพารา และน้ำมันปาล์ม
ขณะที่ประเด็นสภาพอากาศในช่วงครึ่งปีหลังที่เข้าสู่ปรากฎการณ์ลานีญา อาจทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลง จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ โดยอาจส่งผลต่อนโยบายด้านความมั่นคงทางอาหารของประเทศต่างๆ ที่ในช่วงที่ผ่านมามีการนำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นทยอยได้รับอานิสงส์ลดลง เช่น นโยบายจำกัดการส่งออกข้าวของอินเดียที่อาจมีการผ่อนคลายลงในช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งจะส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เป็นต้น โดยทั่วประเทศเป็น 400 บาท โดยให้เริ่มมีผลในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ซึ่งจะกระทบกับผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่กระบวนการผลิตมีการใช้แรงงานจำนวนมาก เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง เป็นต้น