ธปท. เปิดตัวเลขกำไร Q2 “แบงก์พาณิชย์” แตะ 7.6 หมื่นล้าน-NPL ขยายตัว 0.3%

ธปท.เผยผลดำเนินงานธนาคารพาณิชย์ไตรมาส 2/67 ชี้สินเชื่อขยายตัวชะลอลง 0.3% ขณะที่ยอดคงค้างสินเชื่อคุณภาพ (NPL) เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 5.4 แสนล้านบาท ยังบริหารจัดการคุณภาพหนี้ และให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง


นางสาวสุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือ แบงก์ชาติ กล่าวว่า ภาพรวมระบบธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 2 ปี 2567 ยังมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ รวมทั้งผลการดำเนินงานปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อนโดยมีกำไรแตะ 7.6 หมื่นล้านบาท โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่อง อยู่ในระดับสูง

ด้านสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ ไตรมาส 2 ปี 2567 ขยายตัวชะลอลงที่ 0.3% จากระยะเดียวกันปีก่อน สินเชื่อธุรกิจโดยรวมทรงตัว ขณะที่สินเชื่อ SMEs หดตัวต่อเนื่อง และสินเชื่อ อุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงตามความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น

ทั้งนี้ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) ไตรมาส 2 ปี 2567 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 5.4 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ 2.84% ขยับขึ้นจากสินเชื่ออุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ โดยธนาคารพาณิชย์ ยังบริหารจัดการคุณภาพหนี้ และให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี ระบบธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่อง อยู่ในระดับสูง โดยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ (รวมเครือ) ไตรมาส 2 ปี 2567 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน สินเชื่อธุรกิจโดยรวมทรงตัว

ขณะที่สินเชื่อ SMEs หดตัวต่อเนื่อง และสินเชื่อ อุปโภคบริโภคขยายตัวชะลอลงตามความเสี่ยงด้านเครดิตที่ปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อด้อยคุณภาพ (non-performing loan: NPL หรือ stage 3) ไตรมาส 2 ปี 2567 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 540.8 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมที่ร้อยละ 2.84 จากสินเชื่ออุปโภคบริโภคเป็นสำคัญ ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังบริหารจัดการคุณภาพหนี้และให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับสัดส่วนสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตต่อสินเชื่อรวม (significant increase in credit risk: SICR หรือ stage 2) อยู่ที่ร้อยละ 6.50 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน จากสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ (โดยส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่ยังชำระหนี้ได้ตามสัญญา แต่ถูกจัดชั้นเชิงคุณภาพ) และสินเชื่ออุปโภคบริโภค สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปี 2567 ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยหลักจากรายได้เงินปันผลตามปัจจัยฤดูกาล ขณะที่ค่าใช้จ่ายสำรองปรับเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจ SMEs ขนาดเล็ก ธุรกิจในกลุ่ม ที่ผลประกอบการอาจได้รับผลกระทบจากปัญหาเชิงโครงสร้างและความสามารถในการแข่งขันที่ปรับลดลง รวมทั้งครัวเรือนบางกลุ่มที่ยังมีฐานะการเงินเปราะบางจากรายได้ที่ฟื้นตัวช้า ซึ่งคาดว่าจะยังส่งผลให้ NPL ทยอยปรับเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับที่สามารถบริหารจัดการได้และไม่เกิดการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด (NPL cliff) โดยสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ไตรมาส 1 ปี 2567 ปรับลดลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อย จากสินเชื่อภาคครัวเรือนที่ขยายตัวชะลอลง สอดคล้องกับกระบวนการปรับลดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ (debt deleveraging) ขณะที่ภาคธุรกิจมีสัดส่วนหนี้สินต่อ GDP เพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามการก่อหนี้ ด้านความสามารถในการทำกำไรโดยรวมปรับดีขึ้นจากภาคการผลิตและบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เป็นสำคัญ

Back to top button