“ภาวะโลกเดือด” ภัยเงียบ กระทบ”ธุรกิจการบิน”

เครื่องบิน พาหนะทางอากาศ เสี่ยงไม่ปลอดภัย ผลพวง"ภาวะโลกเดือด" - นักวิชาการ ออกโรงเตือน อัตราตกหลุมอากาศ - เสียการทรงตัวในการบิน สูงขึ้นถึง 40 %


ข้อมูลในปี 2566 ตามหน้าข่าว ปรากฏข้อมูลว่า เกิดความปั่นป่วนทางอากาศทําให้เที่ยวบินที่เดินทางไปเยอรมนีจากเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ลดลงอย่างกะทันหัน 1,000 ฟุตระหว่างให้บริการอาหาร เมื่อผู้โดยสารและลูกเรือเคลื่อนที่ไปรอบๆห้องโดยสาร เจ็ดคนถูกนําตัวส่งโรงพยาบาลด้วยอาการบาดเจ็บเล็กน้อย

จากปรากฎการณ์ดังกล่าว มีนักวิทยาศาสตร์ ออกมาวิเคราะห์ว่า ความปั่นป่วนทางอากาศกำลังเพิ่มขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นทำให้แรงเฉือนของลมในกระแสน้ำพุ่งแรงขึ้น และเมื่อไปสืบค้นข้อมูลลึกลงไปพบว่า ระหว่างปี ค.ศ.1979 จนถึง ปัจจุบัน ความถี่ของความปั่นป่วนในอากาศใสรุนแรงเพิ่มขึ้น 55% ทั่วสหรัฐอเมริกาและมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ

ปัญหาทางภาวะโลกเดือด หรือ โลกร้อน ที่ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลให้ เมื่อวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา สายการบิน Air New Zealand ประกาศลดเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศในระยะใกล้ลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายและความยากลำบากของอุตสาหกรรมการบินในการบรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอนในระยะสั้นรวมถึงการรับมือความปั่นป่วนทางอากาศ

Greg Foran ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Air New Zealand เปิดเผยว่า สายการบินมีความจำเป็นต้องรักษาฝูงบินที่มีอยู่ไว้ เนื่องจาก ปัญหาด้านการผลิตรวมถึงห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกและปัญหาภาวะโลกเดือดที่กระทบต่อธุรกิจการบิน

นอกจากนี้ มีความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบิน ประเมินว่า ภายในปี ค.ศ. 2050 นักบินอาจประสบกับความปั่นป่วนในอากาศอย่างรุนแรง อย่างน้อยสองเท่า

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการบิน ยังระบุว่า แนวทางป้องกันเพื่อให้การบินเป็นไปอย่างปลอดภัยและภาวะโลกเดือดกระทบธุรกิจการบินน้อยที่สุด มีวิธีดังต่อไปนี้

1.การลดภาวะโลกร้อน รวมถึงการมีส่วนร่วมโดยตรงในการรณรงค์ลดอุตสาหกรรมการบินต่อการปล่อยมลพิษ

2.การพัฒนาเทคโนโลยีสําหรับตรวจจับและคาดการณ์ความปั่นป่วนชั้นบรรยากาศ เช่น การทําไลดาร์ เรดาร์ที่ใช้เลเซอร์ที่สามารถตรวจจับความปั่นป่วนของอากาศที่ใสได้ มีขนาดกะทัดรัดและคุ้มค่ามากขึ้น

3.การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแบบจําลองการทํานายโดยการฝึกอบรมอัลกอริธึมในชุดข้อมูลความปั่นป่วนของอากาศขนาดใหญ่ สิ่งนี้จะช่วยระบุการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยและรูปแบบที่ซับซ้อน และเพิ่มความแม่นยําของการทํานาย

หากภาวะโลกเดือดทวีความรุนแรงมากขึ้น แน่นอนว่า จะส่งผลกระทบให้สภาพอากาศแปรปรวน หลากหลายสายการบิน จะจำกัดเที่ยวบิน ลดเที่ยวบินลง เพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง และ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อธุรกิจการบิน

นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย อธิบายถึงปรากฎการณ์โลกเดือดที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการบิน ว่า เครื่องบินอาจตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น รวมไปถึง เครื่องบินเสียการทรงตัว แม้บินอยู่ในท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง เนื่องจาก ภาวะโลกเดือด เมื่อโลกร้อนขึ้น อุณหภูมิในบรรยากาศโลกสูงขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะเครื่องบินตกหลุมอากาศมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่เครื่องบินบินอยู่ในบรรยากาศที่ปลอดโปร่งได้ ซึ่งในช่วงปี 2566 จนถึงปัจจุบัน พบว่า เรื่องนี้เกิดบ่อยขึ้น

หากไม่ดำเนินการใดๆ ในปี ค.ศ. 2050 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส จะเข้าสู่ สภาวะโลกเดือดอย่างสมบูรณ์แบบ  อาจจะทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศและเสียการทรงตัวอย่างรุนแรงมากขึ้นถึง 40% แม้ขณะที่บินผ่านในบรรยากาศที่ปลอดโปร่งก็ตาม นายสนธิ กล่าวทิ้งท้าย

จากข้อมูลที่รวบรวมมาทั้งหมด ชี้ชัดว่า “ หากเราไม่เร่งลดภาวะโลกร้อน  เครื่องบิน หรือ การเดินทางทางอากาศ ที่ขึ้นชื่อว่า เป็นการเดินทางที่ปลอดภัยที่สุด อาจไม่ปลอดภัยอีกต่อไป

Back to top button