ดีลยักษ์ GULF ควบ INTUCH ฉลุย! “สารัชถ์” เหลือรับซื้อหุ้น “ผู้ค้านดีล” แค่ 1%

GULF ควบรวม INTUCH ฉลุย ผู้ถือหุ้นโหวตผ่าน 99% ทางด้าน “สารัชถ์” เหลือรับซื้อหุ้น INTUCH จากผู้คัดค้าน จำนวน 33.79 ล้านหุ้น มูลค่า 3.08 พันล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (3 ต.ค.67) เมื่อเวลา 13:00 น. ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ GULF มีมติอนุมัติการทำธุรกรรมการควบรวมบริษัทระหว่าง GULF และ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH โดยมีผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม รวม 2,084 ราย คิดเป็นจำนวนเสียง 10,498,054,299 หรือคิดเป็นร้อยละ 100 ผลการพิจารณาในวาระดังกล่าวปรากฏว่าผู้ถือหุ้นถึงร้อยละ 99.9931 (10,497,330,299 เสียง) เห็นด้วยกับการเข้าทำธุรกรรมการควบรวมบริษัทระหว่าง GULF และ INTUCH โดยมีผู้ถือหุ้นเพียง 0.0068 (715,100 เสียง) ที่ไม่เห็นด้วยต่อวาระดังกล่าว

ขณะที่ เมื่อเวลา 16:00 น. วันเดียวกันที่ประชุมครั้งที่ 1/2567 บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH มีมติพิจารณาอนุมัติธุรกรรมการปรับโครงสร้างควบบริษัทระหว่าง INTUCH และ GULF โดยที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วยจำนวน 2,684,945,410 เสียง คิดเป็นร้อยละ 98.7483 ไม่เห็นด้วย 33,794,783 เสียง คิดเป็นร้อยละ 1.2429 และ งดออกเสียง 237,771 เสียง คิดเป็นร้อยละ 0.0087

ทั้งนี้ มีรายงานว่า นายสารัชถ์ รัตนาวะดี, บริษัท กัลฟ์ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย), Gulf Capital Holdings Limited และ Gulf Investment and Trading Pte. Ltd. เป็นผู้มีหน้าที่รับซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นที่คัดค้านการควบรวมกิจการดังกล่าว โดยในส่วนของ GULF มีจำนวน 715,100 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 0.0068% ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ โดยราคารับซื้อคือราคาปิดของวันก่อนหน้า (2 ต.ค.67) ซึ่งเท่ากับ 56.50 บาทต่อหุ้น มูลค่า 40.40 ล้านบาท

ส่วน INTUCH มีผู้คัดค้าน จำนวน 33,794,783  หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 1.2429% ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ โดยราคารับซื้อคือราคาปิดของวันก่อนหน้า (2 ต.ค.) ซึ่งเท่ากับ 91 บาทต่อหุ้น มูลค่า 3.08 พันล้านบาท

สำหรับโครงสร้างธุรกิจบริษัทใหม่ (หลังควบรวมกิจการ) ประกอบด้วย 1.) ธุรกิจพลังงานโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคนั่นคือ ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ(โรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่(Independent Power Producer IPPs),โรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (Small Power Producer: SPP), โรงไฟฟ้า Captive ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ Duqm ประเทศโอมาน, โรงไฟฟ้าในตลำดซื้อขายไฟฟ้าแบบเสรี (Merchant Market) ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ธุรกิจพลังงานหมุนเวียน (โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล (Biomass),โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) ทั้งแบบติดตั้งบนพื้นดิน (Solar Farms) แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar farms with battery energy storage systems: Solar BESS) และแบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop),โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม (Wind Farm) ทั้งบนฝั่ง (Onshore) และในทะเล (Offshore),โครงการโรงไฟฟ้าขยะ (Waste-to-Energy) ทั้งโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน (Municipal Waste to Energy) และโครงการโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม (Industrial Waste to Energy), โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydroelectric Power Plant)

ธุรกิจก๊าซ (โครงกำรจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อ (Natural Gas Distribution),โครงการท่าเรือก๊าซและสถานีรับ-จ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Terminal),โครงการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (LNG Shipper Licenses)

ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค (โครงกำรทำงหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) ในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance : O&M for M6 & M81 Intercity Motorways), โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1), โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F (Deep Sea Container Port), โครงการบริหารจัดการท่าเทียบเรือสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าเหลว Thai Tank Terminal และโครงกำรระบบจำหน่ายกระแสไฟฟ้าและระบบผลิตน้ำเย็นแบบรวมศูนย์ให้แก่โครงการ One Bangkok (Electricity Distribution & District Cooling System)

2.) ธุรกิจดิจิทัล ประกอบด้วยธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอัจฉริยะ โดย ADVANC เป็นผู้นำในการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมและเทคโนโลยีอัจฉริยะโดยมี 4 บริการหลัก ได้แก่ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้บริการระบบเติมเงินและรายเดือนบนโครงข่าย 4G และ 5G ภายใต้แบรนด์ “เอไอเอส” (AIS), บริการอินเทอร์เน็ตบ้านบรอดแบนด์ความเร็วสูง ด้วยเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber Optic Cable) ภายใต้แบรนด์ “AIS Fibre3” และ “3BB Fibre3”

การบริการสาหรับลูกค้าองค์กร ด้านการเชื่อมต่อข้อมูลและโครงข่ายสำหรับองค์กรธุรกิจ, บริการดิจิทัลเซอร์วิส ในรูปแบบใหม่เพื่อต่อยอดสร้างมูลค่ำเพิ่มให้แก่บริการด้านโทรคมนำคมพื้นฐานของเอไอเอส ประกอบด้วยแพลตฟอร์มความบันเทิงและวีดีโอคอนเทนต์ ธุรกรรมทำงกำรเงินผ่านมือถือและประกัน และบริการด้ำนการตลาดผ่านสื่อดิจิทัล

ธุรกิจดิจิทัลอื่นๆ อาทิ บริษัท กัลฟ์ เอดจ์ จำกัด (GE) เป็นบริษัทย่อยของกลุ่มที่มุ่งเน้นกำรลงทุนและพัฒนาโครง สร้างพื้น ฐานดิจิทัล และให้บริการด้ำนดิจิทัล รวมถึงดิจิทัลโซลูชั่นต่างๆให้กับลูกค้ำหลากหลายประเภท ปัจจุบัน GE มีการลงทุนในหลายธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจโทรคมนาคมผ่านดาวเทียม ภายใต้ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) หรือ THCOM หนึ่งในผู้นำในการให้บริการดาวเทียมชั้นนำของเอเชีย,ธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้บริษัท ไบแนนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (Binance TH), ธุรกิจศูนย์ข้อมูล ภายใต้ บริษัท จีเอสเอ ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด(GSA),ธุรกิจคลาวด์ ผ่านความร่วมมือกับ Google Cloud

Back to top button