“นิฮอน เอ็ม แอนด์ เอฯ” ตั้งกองทุน A2G Capital ขยายองค์กรญี่ปุ่นสู่อาเซียน
“นิฮอน เอ็ม แอนด์ เอ เซ็นเตอร์ โฮลดิงส์” จัดตั้งกองทุนเอทูจี แคปปิตอล สนับสนุนการขยายบริษัทญี่ปุ่นเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียน มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมการควบรวมและซื้อกิจการข้ามพรมแดน
นายยูสุเกะ โอจิมะ หัวหน้าส่วนภูมิภาคอาเซียน บริษัท นิฮอน เอ็ม แอนด์ เอ เซ็นเตอร์ โฮลดิงส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Nihon M&A Center) ประกาศจัดตั้งกองทุนเอทูจี แคปปิตอล (ASEAN to Global Capital) ซึ่งเป็นบริษัทจัดการกองทุนของกลุ่ม ที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนการขยายบริษัทญี่ปุ่นเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียน มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมการควบรวมและซื้อกิจการข้ามพรมแดนผ่านกองทุนนี้ โดยความร่วมมือครั้งแรกได้เริ่มต้นขึ้นในมาเลเซียกับ ซีเค แมค โกลบอล (CK MAC Global Sdn. Bhd.) ซึ่งเป็นบริษัทการค้าที่เชี่ยวชาญในด้าน เครื่องจักรที่เกี่ยวกับระบบควบคุมเชิงตัวเลขด้วยคอมพิวเตอร์ (CNC) และการให้บริการหลังการขายที่มีการดำเนินงานในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์
สำหรับ กองทุน เอทูจี แคปปิตอล มุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมโอกาสในการควบรวมกิจการระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและ SME ในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้ความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือให้ SME สามารถปรับโครงสร้างธุรกิจและส่งเสริมความร่วมมือกับบริษัทผู้ลงทุนจากญี่ปุ่น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการควบรวมและซื้อกิจการที่ดีที่สุด
ด้าน นายยูสุเกะ กล่าวว่า เป็นเวลาหลายทศวรรษที่ญี่ปุ่นและอาเซียนได้สานสัมพันธ์และความร่วมมือในการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจที่แข็งแกร่งเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคให้เติบโต การก่อตั้งกองทุน เอทูจี แคปปิตอลจะเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันการลงทุนระหว่างประเทศสู่ SME เพื่อส่งมอบทรัพยากรและความเชี่ยวชาญ ตลอดจนถึงการผลักดันให้ SME ประสบความสำเร็จทางธุรกิจและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
“เนื่องจากตลาดภายในประเทศญี่ปุ่นอยู่ในช่วงเวลาที่เติบโตเต็มที่และถึงจุดอิ่มตัว จึงมีศักยภาพในการเติบโตที่จำกัด เมื่อเปรียบเทียบกับเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนที่มีพลวัตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับบริษัทญี่ปุ่นที่ต้องการสร้างการเติบโตที่หลากหลาย ด้วยการขยายการลงทุนสู่ประเทศในอาเซียน บริษัทในญี่ปุ่นสามารถลดความเสี่ยงต่อความผันผวนของเศรษฐกิจภายในประเทศ และยังสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ๆ ในการขยายตลาด และสร้างการเติบโตในระยะยาวอีกด้วย” นายยูสุเกะ กล่าวเสริม
ทั้งนี้ ข้อมูลการลงทุนระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ระบุว่า ในปี 66 ญี่ปุ่นมีการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนสูงถึง 2.41 แสนล้านดอลลาร์ ในขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จากญี่ปุ่นไปยังอาเซียนมีมูลค่า 1.45 หมื่นล้านดอลลาร์ส มีข้อมูลดังนี้ (1) การลงทุนของญี่ปุ่นในมาเลเซีย: ญี่ปุ่นยังคงลงทุนอย่างแข็งแกร่งในมาเลเซีย โดยมีมูลค่าประมาณ 1.15 พันล้านดอลลาร์ ราว 5.5 พันล้านดอลลาร์ริงกิต โดยมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในภาคอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์
(2) การลงทุนของญี่ปุ่นในอินโดนีเซีย: แม้จะมีความท้าทายระดับโลก แต่ญี่ปุ่นยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของอินโดนีเซีย โดยมีเงินลงทุนประมาณ 4.63 พันล้านดอลลาร์ (3) การลงทุนของญี่ปุ่นในไทย: การลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยมีมูลค่าถึง 1.08 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 40,200 ล้านบาท โดยการลงทุนหลักเน้นไปที่การผลิตในขั้นสูง (4) การลงทุนของญี่ปุ่นในเวียดนาม: ญี่ปุ่นลงทุนเกือบ 6.57 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นกว่า 17.9% ของการลงทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้น 37.3% จากปีที่ 2565 และ (5) การลงทุนของญี่ปุ่นในสิงคโปร์: การลงทุนของญี่ปุ่นในสิงคโปร์พุ่งสูงถึง 5.76 พันล้านดอลลาร์ ประมาณ 7.89 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ซึ่งตอกย้ำถึงความร่วมมือที่แข็งแกร่งทางด้านการเงินและเทคโนโลยี
อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี 64 นิฮอน เอ็ม แอนด์ เอ เซ็นเตอร์ ได้ปิดดีลการควบรวมและซื้อกิจการในประเทศไทยแล้ว 6 ราย แต่ละรายมีมูลค่าเฉลี่ยที่ 5-20 ล้านดอลลาร์ โดย SME ที่มีการควบรวมและซื้อกิจการไปนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้าง โลจิสติกส์ ไอที และธุรกิจจัดจำหน่าย ด้วยความคิดริเริ่มใหม่นี้กองทุนเอทูจี แคปปิตอล ของนิฮอน เอ็ม แอนด์ เอ เซ็นเตอร์ จึงมีเป้าหมายที่จะเสริมศักยภาพของธุรกิจในอาเซียนโดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลาง เพื่อเพิ่มศักยภาพศักยภาพสูงสุดให้ธุรกิจสามารถเติบโตก้าวสู่ตลาดระดับโลกได้
สำหรับ กองทุนเอทูจี แคปปิตอล จะสนับสนุนธุรกิจ SME ในกระบวนการควบรวมและซื้อกิจการในเฟสที่หนึ่งและสอง โดยสนับสนุนการปรับโครงสร้างภายในองค์กร และช่วยเหลือในการขายหุ้นบริษัทให้กับนักลงทุนที่สนใจผ่านบริการให้คำปรึกษาของนิฮอน เอ็ม แอนด์ เอ เซ็นเตอร์ โดยกองทุนจะเข้ามารับประกันสอดรับกับมาตรฐานธุรกิจของญี่ปุ่น และนำเสนอแนวทางการบูรณาการหลังการควบรวมกิจการ (Post-Merger Integration: PMI) อย่างเป็นระบบซึ่งจะช่วยลดเวลาและต้นทุนในการควบรวมและซื้อกิจการให้ประสบความสำเร็จ ขณะเดียวกันก็ลดความจำเป็นในการมีส่วนร่วมของการจัดการโดยตรง ด้านการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและช่วยให้มั่นใจได้ว่าการเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ธุรกิจที่มีวัฒนธรรมของญี่ปุ่นจะเป็นไปอย่างราบรื่น ด้วยโมเดลดังกล่าว