TTB โชว์กำไร Q3 โต 10% ดันผลงาน 9 เดือนแตะ 1.6 หมื่นล้าน

TTB กำไรไตรมาส 3/67 แตะ 5.2 พันล้านบาท โต 10% ดันผลงาน 9 เดือนแรกปี 67 แตะ 1.6 หมื่นล้านบาท โต 17% จากช่วงเดียวกันปีก่อน รับปัจจัย NIM ขยายตัวดี พ่วงค่าธรรมเนียมกองทุนรวม-เนียมบัตรเครดิตหนุน


ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB รายงานผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 3/67 และงวด 9 เดือนแรกของปี 67 มีกำไรสุทธิ ดังนี้

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3/67 มีกำไรสุทธิ 5,229.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 4,734.89 ล้านบาท เนื่องจารายได้ดอกเบี้ยอยู่ที่ 20,664 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.20% จากงวดเดียวของปีก่อน โดยเป็นการปรับสัดส่วนสินเชื่อไปยังสินเชื่อรายย่อยที่ให้ผลตอบแทนสูงและการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนช่วยสนับสนุนยังคงช่วยหนุนการเติบโตของรายได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในก่อนหน้า

อีกทั้ง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2567 ธนาคารมีผลประโยชน์ทางภาษีคงเหลือเป็นจำนวน 1.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งสามารถรับรู้ได้ถึงปี 2571 ทั้งนี้ การใช้ผลประโยชน์ทางภาษีจะทยอยรับรู้ตามการประมาณการรายได้ในอนาคต ไม่ได้ใช้วิธีรับรู้เท่ากันทุกปี (Straight-line basis)

ขณะที่ผลประกอบการรอบ 9 เดือน ปี 2567 ยังคงปรับตัวดีขึ้นด้วยกำไรสุทธิ 15,919 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยหนุนจาก NIM ที่ยังขยายตัวได้ ควบคู่ไปกับการควบคุมต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่าย รวมถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่บริหารจัดการได้ดี

นอกเหนือจากกลยุทธ์การปรับโครงสร้างของสินเชื่อและเงินฝากให้มีความเหมาะสมสมแล้ว ธนาคารยังมีการปรับพอร์ตการลงทุนรวมถึงพอร์ตตราสารหนี้และเงินกู้ยืมของธนาคารให้สอดคล้องกับสภาวะดอกเบี้ยที่กำลังเปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยหนุนการเติบโตของ NIM

สำหรับด้านรายได้ธรรมเนียมธนาคารเห็นการฟื้นตัวที่ดีของค่าธรรมเนียมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสินเชื่อใหม่อย่างค่าธรรมเนียมกองทุนรวมและค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต แม้ว่าสินเชื่อโดยรวมลดลงการเติบโตโตของสินเชื่อรายย่อยเป้าหมายที่ให้ผลตอบแทนสูงยังคงเพิ่มขึ้นได้ดีตาม

ในด้านคุณสินทรัพย์นั้นยังสามารถบริหารจัดการได้ดีโดยอัตราส่วนเงินสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage ratio) ยังคงอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ร้อยละ 149 ทั้งนี้ในระยะยาวจะยังคงเพิ่มประสิทธิภาพด้านดิจิทัลพร้อมทั้งปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจไปสู่ digital-first เพื่อเตรียมความพร้อมของธนาคารที่จะดำเนินเกมรุกเพิ่มช่องทางรายได้ใหม่เมื่อสภาพเศรฐกิจดีขึ้นรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของธนาคารเพื่อเพิ่มผลตอบแทนในอนาคตให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายอย่างยั่งยืน

Back to top button