“กรมโลกร้อน” เล็งใช้ AI ประเมินภัยพิบัติ จ่อเชื่อม “Big Data” ระหว่างหน่วยงานปี 68

นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมโลกร้อน ชี้ AI มีบทบาทสำคัญเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน-ทรัพยากร พร้อมตั้งเป้าปี 68 เตรียมเชื่อมโยงข้อมูล Big data ระหว่างหน่วยงานรัฐ เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงภัยพิบัติ


ผู้สื่อข่าวรายงาน วันนี้ (25 ต.ค. 2567) นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยในงานสัมมนาเชิงกลยุทธ์ Battle Strategy ภายใต้หัวข้อ “Intelligent Economics Leveraging AI Amid Climate Challenges” ว่าการนำ AI มาใช้ในการ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ หรือ Climate Change ถือเป็นแนวทางที่ทุกภาคส่วนทั่วโลกต่างต้องการใช้ เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ภูมิอากาศในปัจจุบัน โดย AI สามารถช่วยวิเคราะห์และจัดการข้อมูลให้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

นายพิรุณยกตัวอย่างว่า AI มีบทบาทสำคัญในการจัดการพลังงาน ในช่วงที่ผ่านมา มีการนำ Ai วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับเปลี่ยนระบบสายส่งไฟฟ้าให้รองรับพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ส่งผลกระทบด้านพลังงาน

นอกจากนี้ AI ยังมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการน้ำเพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันการป้องกันและจัดการข้อมูลภูมิอากาศ (Climate Data Prevention) กลายเป็นเรื่องที่จำเป็นมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัญหาภัยพิบัติจำเป็นต้องการและวางแผนบริหารปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่ง AI เป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลประเมินความเสี่ยงและเตรียมการรับมือได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมองในมิติของ กรมโลกร้อน ในปัจจุบันมีการนำ Ai มาใช้แล้ว และในปี 2567 มีแผนที่จะทำ Big data ที่สามารถเชื่อมโยงเอาข้อมูลของทั้งภาครัฐ และ เอกชน ให้เชื่อมโยงกัน อีกทั้งมีแผนใช้เพื่อพัฒนาระบบในการประเมินการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อาทิ ใช้เพื่อวัดอุณหภูมิน้ำฝน ดูว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร และนำมาเชื่อมโยงกับข้อมูลจากหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่าง นำมาประกอบข้อมูลจากกระทรวงทรัพย์ที่มีข้อมูลปัญหาการสไลน์ข้อหน้าดิน เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ล่วงหน้าจะได้มีเวลาในการเตรียมการรับมือ

ขณะที่หากถามว่า AI เป็นตัวแปรสำคัญในการผลักดันในเศรษฐกิจไทยสู่ Green Economy นายพิรุณ กล่าวว่าผมองว่าปัจจัยที่สำคัญมากกว่า AI คือ ความร่วมมือของคนทุกภาคส่วน ซึ่งมองว่า AI เป็นเพียงส่วนที่มาเสริมศักยภาพในการทำงานให้เร็วมากขึ้นภายใต้ทรัพย์ยากรที่จำกัด ยกตัวอย่างการบริหารจัดการผ่านการนำ AI มาใช้ในการประมวลการจราจร ความถี่ของรถ ที่จะไม่ทำให้รถติดซึ่งจะช่วยเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเชื่อมโยงโดยตรงกับ Green Economy

ส่วนในภาคอุตสาหกรรมปิโตเคมีที่นับว่ามีการใช้พลังงานสูงสุด นั้นนับว่าอยู่ในเป้าหมายของการจัดการเพื่อลดโลกร้อน ซึ่ง Ai จะช่วยลดโลกร้อนจากประเด็นนี้ได้ ซึ่งดูจากรายงานประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยมีการทำ Database (ฐานข้อมูล) ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการกลั่นกรอง ดูผลการปฏิบัติงานตามมาตรการต่างๆ เป็นการลดต้นทุนด้านบุคลากร

นอกจากนี้ AI จะประมวลว่าจะใช้พลังงานอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญมาก เพราะมีการคิด วิเคราะห์ ที่ละเอียด แม่นยำ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มขีดความสามารถในระยะยาว

ส่วนอุปสรรคสำคัญของประเทศ ที่ยังไม่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้ความท้าทายสำคัญ คือ เรื่องงบประมาณ เรื่องข้อมูล โดยตอนนี้กรมลดโลกร้อน พยายามจะทำข้อมูลเพื่อให้เชื่อมกับหน่วยงานต่างๆ มากขึ้น แล้วนำมาประมวลเพื่อส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ ขณะที่ประเทศที่นำ Ai มาใช้ลดโลกร้อน ที่เป็นโรลโมเดล คือ เยอรมนี ที่ประกาศเป้า net zero ปี 2045 ซึ่งถือว่าเร็วที่สุดในโลก โดยมุ่งใช้พลังงานทดแทนเป็นหลัก

ขณะที่ เรื่องใช้ AI มาช่วยลดโลกร้อนระหว่างประเทศ ทำได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ปัญหา pm2.5หากเอา AI มาช่วย จะสามารถจัดการต้นตอการเกิดฝุ่นได้ ยกตัวอย่าง สิงคโปร์ ในเรื่องการจัดการพลังงานเพราะเป็นประเทศเล็ก ไม่มีต้นไม้ดูดคาร์บอน จึงต้องหาพลังงานอื่นๆ ทดแทน เรื่องเหล่านี้ก็ใช้ AI มาช่วยได้

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้มีการลงนามเพื่อลดภาวะเรือนกระจก ผ่านความร่วมมือกับ  สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย ลงนามบันทึกความเข้าใจ การบูรณาการความร่วมมือในการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อประเทศไทยบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมแสดงเจตจำนงขับเคลื่อนร่วมกัน การพัฒนาปูนซีเมนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Back to top button