“สรท.” มั่นใจยอด “ส่งออก” ปีนี้ขยายตัวเกิน 2% หลัง 9 เดือนแรกโตเฉียด 4%

“สรท.” มั่นใจยอดส่งออกปีนี้แตะ 10 ล้านล้านบาท ขยายตัวเกิน 2% หลังโชว์ 9 เดือนแรกโตเฉียด 4% จากความร่วมมือภาครัฐ-เอกชนผลักดันส่งออก พ่วงอานิสงส์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนหนุน


นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก เปิดเผยว่า สรท.มั่นใจยอดส่งออกในปีนี้จะขยายตัวได้เกิน 2% จากที่คาดการณ์ไว้ที่ 1-2% โดยมีมูลค่าราว 290,084 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นเงินบาทแตะ 10 ล้านล้านบาท หลังยอดส่งออกในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.67) ขยายตัว 3.9% จากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการผลักดันส่งออก และได้รับอานิสงส์จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก มั่นใจยอดส่งออกในปีนี้จะขยายตัวได้เกิน 2% จากที่คาดการณ์ไว้ที่ 1-2% โดยมีมูลค่าราว 290,084 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นเงินบาทแตะ 10 ล้านล้านบาท หลังยอดส่งออกในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.67) ขยายตัว 3.9% จากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชนในการผลักดันส่งออก และได้รับอานิสงส์จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน

ถึงแม้ยอดส่งออกในเดือน ก.ย.67 จะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียงเล็กน้อยแค่ 1.1% เนื่องจากปีที่แล้วมีฐานสูง และตลาดส่งออกในหลายประเทศยังเติบโตได้ดี

สำหรับยอดส่งออกในเดือน ต.ค.67 คาดจะมีมูลค่าอยู่ที่ 25,983 ล้านดอลลาร์ และเดือนหน้า สรท.จะแถลงคาดการณ์ส่งออกในปี 68 ได้ หลังประเมินสถานการณ์หลังรู้ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แล้ว

“ช่วง 9 เดือนแรกเติบโต 3.9% ถือว่าสอบผ่าน หากช่วงไตรมาสสุดท้ายเติบโตเท่ากับปีก่อน มั่นใจยอดส่งออกปีนี้น่าจะโตเกิน 2% อย่างแน่นอน ส่วนปีหน้ามีความท้าทายสูง” นายชัยชาญ กล่าว

โดยมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง ได้แก่

1) ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์

1.1) การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีกังวลเกี่ยวกับนโยบายกีดกันทางการค้า มาตรการกำแพง และของสหรัฐอเมริกากับประเทศคู่ค้าที่ได้ดุลการค้าจากสหรัฐฯการค้า ไม่เฉพาะจีนเท่านั้น

1.2) สถานการณ์สงครามในตะวันออกกลางยังคงยืดเยื้อและขยายวงกว้างออกไปในหลายภูมิภาค

2) ดัชนีภาคการผลิต Manufacturing PMI ยังคงชะลอตัวในตลาดสำคัญ ยกเว้นอันเดีย

3) ปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวังส่งผลต่อต้นทุนภาคการผลิต

3.1) ค่าเงินบาทยังมีความผันผวน แม้ว่าจะอ่อนค่าลงมาเล็กน้อยจากการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายจากการประชมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งล่าสุด ขณะเดียวกันธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีแนวโน้มที่จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก

3.2) สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเลเริ่มผ่อนคลายและปรับลดลงจากช่วงเวลาก่อนหน้า มีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างไรก็ตามอาจต้องเฝ้าระวังหลายสัญญาณที่อาจเกิดขึ้นช่วงปลายปีอีกครั้งหนึ่ง

3.3) ราคาน้ำมันปรับลดลงต่อเนื่อง กลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันเปลี่ยนแผนการปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันออกไปอีกจากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือนธันวาคม จากความกังวลด้านอุปสงค์ที่ชะลอตัวในหลายตลาดสำคัญ อย่างไรก็ตามความยืดเยื้อของสงครามในตะวันออกกลางยังคงครุกกรุ่นเป็นระยะส่งผลให้ทิศทางของราคายังคงมีความผันผวน

4) มาตรการทางการค้าที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่

4.1) การยกเลิกมาตรการห้ามส่งออกข้าวของอินเดีย กระทบต่อผู้ส่งออกข้าวไทย

4.2) คณะกรรมาธิการส่งเสริมการสนับสนุนดำเนินการตามกฎระเบียบว่าด้วยการไม่ตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR) เลื่อนการบังคับใช้ออกไปเป็นปี 2569 กระทบราคาและการส่งมอบต่อผู้ส่งออกยางพารา

ทั้งนี้ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้

1) ต้องเฝ้าระวังค่าระวางการขนส่งสินค้าทางทะเล เนื่องจากปัจจัยหลายปัจจัย อาทิ สถานการณ์สู้รบในตะวันออกกลางและความไม่แน่นอนของการเจรจาค่าแรงในท่าเรือฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกายังคงมีอิทธิพลต่อตลาดการขนส่งทางทะเล และความพยายามของสายเรือที่จะปรับเพิ่มขึ้นค่าระวางในเดือนพฤศจิกายน

2) ต้องเฝ้าระวังความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน และเตรียมความพร้อมเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน รวมถึงต้องรักษาเสถียรภาพการเงินไม่ให้แข็งค่าเร็วเกินไป

3) เร่งรัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าในกลุ่มประเทศศักยภาพ รวมถึงการเจรจาการค้าเสรี และการทำข้อตกลงเพื่อความร่วมมือทางการค้า

Back to top button