ตลท.ยอมรับข่าว “หมอบุญ” กระทบเชื่อมั่นตลาดฯ ยันไม่พบ “ใบหุ้นปลอม” THG

ตลท.ยอมรับข่าว “หมอบุญ” กระทบเชื่อมั่นตลาดทุน หลังพบกระแสข่าวใช้ใบหุ้นปลอมกู้ยืมเงิน ด้าน TSD ยังไม่พบความผิดปกติใบหุ้น THG หลังมีนักลงทุนแจ้งเปลี่ยนชื่อกว่า 10 ราย


นายรองรักษ์ พนาปวุฒิกุล รองผู้จัดการ ในฐานะโฆษก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากกรณีข่าว หมอบุญ หรือ นายแพทย์บุญ วนาสิน อดีตประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG มีการฉ้อโกงกู้ยืมเงิน รวมทั้งจากกรณีต่างๆ ที่ผ่านมานั้น อาจจะส่งผลกระทบกับความเชื่อมั่นของตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างแน่นอน

โดยกรณีกระแสข่าวที่มีการนำใบหุ้นปลอมของ นำมาใช้เป็นหลักประกันแพร่ระบาดอยู่นั้น ทางตลาดหลักทรัพย์ยังไม่ตรวจพบใบหุ้นปลอมดังกล่าวยื่นมาแก่ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (TSD) โดยมีเพียงกรณีที่เอกสารไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ TSD กำหนดเท่านั้น พร้อมมองว่าบริษัท TSD มีกระบวนการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงใบหุ้นและการยืนยันเจ้าของหลักทรัพย์

ทั้งนี้จากการตรวจสอบข้อมูลของ TSD พบว่าในช่วงที่ผ่านมามีบุคคลที่ผู้รับจำนำหุ้น THG มายื่นขอแจ้งจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อในใบหุ้นกับนายทะเบียนหรือ TSD แล้วจำนวนหลาย 10 ราย หรือคิดเป็นจำนวนหุ้นรวมมากกว่าล้านหุ้น โดยที่รายชื่อผู้ถือหุ้น THG ที่นำใบหุ้นไปจำนำหลายราย รวมถึงมีรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ที่อยู่ใน 10 อันดับแรกด้วย

“ยอมรับว่ากรณีปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆ อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของตลาดทุน แต่มั่นใจว่ากระบวนการของเรา ที่มีความมุ่งมั่น และมีการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดอย่างเข้มข้น โดยตลาดหลักทรัพย์ฯต้องการสร้างให้เกิด trust and confidence ส่วนแนวทางป้องกันก็จะมีการหารือกับผู้เกี่ยวข้องต่อไป” นายรองรักษ์ กล่าว

ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ฝากผู้ลงทุนที่เป็นคนรับจำนำหุ้นที่เป็นหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยกระบวนการรับจำนำที่ถูกต้องควรติดต่อกับเคาท์เตอร์ TSD ซึ่งจะช่วยตรวจสอบใบหุ้นว่าจริงหรือไม่ และถือเป็นขั้นตอนกระบวนการจำนำที่ถูกต้องในกรณีมีใบหุ้น ส่วนกรณีไร้ใบหลักทรัพย์ (Scripless) การจำนำต้องบันทึกในระบบโดยการติดต่อกับโบรกเกอร์

สำหรับการบังคับชำระหนี้จากหลักทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกัน กรณีผู้จำนำผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งผู้จำนำส่งหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้ และบอกกล่าวการบังคับขายทอดตลาด

อย่างกรณีผู้ที่มีใบหลักทรัพย์ จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องการใช้หลักทรัพย์ทั้งหมด 3 ราย คือ 1.ผู้รับจำนำ 2.ผู้จำนำ 3.นายทะเบียน

โดยกรณีของไร้ใบหลักทรัพย์ จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องการใช้หลักทรัพย์ประกันทั้งหมด 4 ราย คือ 1.ผู้รับหลักทรัพย์เป็นประกัน 2.ผู้ใช้หลักทรัพย์เป็นประกัน 3.บริษัทสมาชิกผู้ฝาก 4.นายทะเบียน TSD

ส่วนการบังคับขายทอดตลาดทำได้ 2 กรณี คือ 1.การขายทอดตลาดโดยใช้ประมูล ซึ่งสามารถใช้ได้ใบหลักทรัพย์ และไร้ใบหลักทรัพย์ 2.การขายในตลาดหลักทรัพย์ สำหรับผู้ขายทอดตลาดหลักทรัพย์ (สมาชิกตลาดฯ) ซึ่งสามารถใช้ได้ใบหลักทรัพย์ และไร้ใบหลักทรัพย์

การขอออกใบหลักทรัพย์ใหม่มี 2 กรณี คือ กรณีหลักทรัพย์เดิมหาย หรือกรณีที่มีใบหลักทรัพย์เดิมมาเปลี่ยนเป็นใบหลักทรัพย์ใหม่ ซึ่งเอกสารที่ใช้จะมีอยู่ 3 ส่วน คือ แบบคำขอ เอกสารคำขอ รวมถึงเอกสารอื่นๆ แล้วแต่กรณี

ทั้งนี้ ทาง ตลท.ได้มีการพูดคุยกับบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือว่าหลังจากนี้จะต้องทำอย่างไร เพราะปัจจุบันโจรมีการพัฒนาเทคนิคมากขึ้นทุกวัน ซึ่งทาง ตลท.จะเร่งดำเนินการให้เข้มข้นและรวดเร็วมากขึ้น โดยพร้อมตรวจสอบความผิด และจะปราบผู้กระทำผิดให้เห็นว่า ตลท.เอาจริงผ่านความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยดึงความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนกลับมา

โดยจากการตรวจสอบข้อมูล TSD พบว่าในช่วงที่ผ่านมามีบุคคลที่ผู้รับจำนำหุ้น THG มายื่นขอแจ้งจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อในใบหุ้นกับนายทะเบียนหรือ TSD แล้วจำนวนหลายสิบราย หรือคิดเป็นจำนวนหุ้นรวมมากกว่าล้านหุ้น  โดยรายชื่อผู้ถือหุ้น THG  ที่นำใบหุ้นไปจำนำหลายราย รวมถึงมีรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ที่อยู่ใน 10 อันดับแรกด้วย

ขณะนี้ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังไม่พบกรณีใบหุ้นปลอมที่ยื่นเข้ามา ดังกล่าวยื่นมาที่ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด หรือ TSD โดยมีเพียงกรณีที่เอกสารไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ TSD กำหนดเท่านั้น พร้อมมองว่าบริษัท TSD มีกระบวนการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงใบหุ้นและการยืนยันเจ้าของหลักทรัพย์

อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์มีการตรวจสอบข้อมูล และมีการดำเนินการกับผู้ที่กระทำความผิด อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นตลาดหลักทรัพย์ จึงจำเป็นต้องมีการดำเนินผู้ที่กระทำผิดอย่างเข้มข้น โดยมีการทำงานร่วมกันหลายฝ่ายอย่าง สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. หรือ ปปง. และ กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

Back to top button