IFA ยันซื้อหุ้น “ITD Cem” ราคา 148.08 บาท มูลค่า 1.2 หมื่นลบ. เหมาะสม
ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ยันถือหุ้นอยู่ใน ITD Cem ในราคาหุ้นละ 400 รูปี หรือคิดเป็นประมาณ 148.08 บาท รวมเป็นเงินจำนวน 32,045 ล้านรูปี หรือคิดเป็นประมาณ 11,863 ล้านบาท มีความเห็นว่าราคาเสนอซื้อหุ้น ITD Cem เป็นราคาที่เหมาะสมด้านราคา
บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD แจ้งผ่านสารสนเทศตลาดหลักทรัพย์ฯ วันนี้ (2 ธ.ค.67) ว่าตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ ครั้งที่ 8/10/2567 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ ITD เพื่อพิจารณาอนุมัติธุรกรรมการจำหน่ายหุ้นทั้งหมดที่บริษัทฯ ถืออยู่ใน ITD Cem จำนวน 80,113,180 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.64 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของ ITD Cem ในราคาหุ้นละ 400 รูปี หรือคิดเป็นประมาณ 148.08 บาท 2 ต่อหุ้น รวมเป็นเงินจำนวน 32,045 ล้านรูปี หรือคิดเป็นประมาณ 11,863 ล้านบาท ให้กับ RENEW EXIM DMCC (“RED” หรือ ผู้ซื้อ) ซึ่งเป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
โดยประกอบธุรกิจการลงทุนใน กิจการเชิงพาณิชย์และการบริหารจัดการ และเป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้กลุ่ม Adani ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจชั้นนำในประเทศอินเดียที่มีการดำเนินธุรกิจในหลายภาคส่วน โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งด้านการขนส่งและสาธารณูปโภค ซึ่งรวมถึง ธุรกิจพลังงาน อสังหาริมทรัพย์ และการเกษตร (1 ใน 5 อันดับกลุ่มบริษัทที่มีมูลค่าตลาดรวมสูงสุดในประเทศอินเดีย) (Adani) โดยปัจจุบัน Adani เป็นกลุ่มบริษัทที่มีบริษัทย่อยหลายบริษัทเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศอินเดีย โดย Adani Enterprises Limited (AEL) ซึ่งเป็นบริษัทเรือธงของ Adani Group มีมูลค่าตลาดประมาณ 3.43 ล้านล้านรูปี หรือประมาณ 1.27 ล้านล้านบาท ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567) และไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ (“ธุรกรรมการจำหน่ายหุ้น” หรือ “การเข้าทำรายการฯ”) เพื่อเป็นไปตามแผนการบริหารจัดการทางการเงินและทรัพย์สินของบริษัทฯ
ทั้งนี้ ITD Cem เป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ที่ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศอินเดีย และเป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศอินเดีย (Bombay Stock Exchange (BSE) และ National Stock Exchange of India Limited (NSE) โดยภายหลังจากการจำหน่ายหุ้นทั้งหมดดังกล่าวให้กับผู้ซื้อ จะทำให้ ITD Cem สิ้นสภาพการเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ โดยจากสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทฯ (รายละเอียดตามข้อ 1.1) บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานขาดทุนอย่างต่อเนื่องและมีภาระหนี้สูง บริษัทฯ จึงได้เจรจาขอความช่วยเหลือจากธนาคารและสถาบันการเงินหลายแห่ง ซึ่งประกอบด้วย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือKBANK และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB (กลุ่มธนาคารผู้ให้สินเชื่อ) ได้มีการตกลงร่วมกันถึงแผนการขายทรัพย์สินของบริษัทฯ (หุ้น ITD Cem ถือเป็นส่วนหนึ่งของรายการทรัพย์สินที่อยู่ในแผนการขายทรัพย์สินตามข้อตกลง ซึ่งหากบริษัทฯ สามารถขายหุ้น ITD Cem และได้ค่าตอบแทนเพียงพอที่จะชำระสินเชื่อให้แก่กลุ่มธนาคารผู้ให้สินเชื่อ ก็จะไม่มีการบังคับขายทรัพย์สินส่วนอื่น) เพื่ออนุมัติ วงเงินสินเชื่อ จำนวนไม่เกิน 7,600 ล้านบาท
ประกอบด้วย วงเงินสินเชื่อเพื่อชำระคืนหนี้การค้างชำระ และวงเงินสินเชื่อเพื่อใช้เป็น เงินทุนหมุนเวียนหรือชำระค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2567 และที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม (สัญญาสินเชื่อ Syndicate Loan) โดยมีเงื่อนไขที่สำคัญ ได้แก่
ระยะเวลาเบิกใช้สินเชื่อซึ่งสามารถเบิกใช้ได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 กำหนดชำระคืนเงินกู้ ซึ่่งจะครบกำหนดภายใน 1 ปี นับจากวันที่ลงนามในสัญญา อัตราดอกเบี้ย MLR เฉลี่ยของกลุ่มผู้ให้สินเชื่อลบร้อยละ 1.00 ต่อปี บริษัทฯ จะต้องทำสัญญาหลักประกันเพิ่มเติมกับกลุ่มธนาคารผู้ให้สินเชื่อ ได้แก่ สัญญาจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สัญญาจำนำหุ้น สัญญาหลักประกันทางธุรกิจ และเอกสารและสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักประกัน
ทั้งนี้ ในการเบิกใช้สินเชื่อดังกล่าวจะต้องไม่ทำให้อัตราส่วนภาระหนี้ต่อมูลค่าหลักประกันเกินกว่าที่กลุ่มธนาคารผู้ให้สินเชื่อ กำหนด ถึงแม้ว่าบริษัทฯ จะอยู่ในระหว่างการดำเนินการตามแผนการดำเนินงานธุรกิจและกลยุทธ์ทางการเงินเพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่า บริษัทฯ จะมีสภาพคล่องอย่างเพียงพอและมีความสามารถในการชำระหนี้เมื่อครบกำหนดและดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง แต่ ปัจจัยด้านสภาพคล่องของบริษัทฯ ขึ้นอยู่กับการเรียกใช้สิทธิในการเรียกให้ชำระคืนหุ้นกู้ความสำเร็จในการดำเนินการตามแผน ดังกล่าว การจัดหาแหล่งเงินทุนอื่นเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการดำเนินงาน การปรับปรุงแผนธุรกิจและการดำเนินงานในอนาคต และ ความสามารถในการจ่ายชำระเงินกู้ยืมและหุ้นกู้ได้ตามวันครบกำหนดใหม่
รวมถึงการสนับสนุนของวงเงินสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง และการเจรจาเรียกเก็บเงินค่าก่อสร้างจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำหรับการลงทุนในหลายโครงการ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ แสดงถึงความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญหลายประการซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กันและมีความเป็นไปได้ที่จะมีผลกระทบต่อข้อมูลทางการเงินเพิ่มขึ้น
ในการนี้้เพื่อให้บริษัทฯ มีความสามารถในการชำระคืนสินเชื่อ Syndicate Loan กลุ่มธนาคารผู้ให้สินเชื่อได้มีการระบุใน สัญญาดังกล่าว ให้บริษัทฯ ในฐานะผู้กู้จะต้องขาย และดำเนินการให้มีการขายหลักประกันและหุ้น ITD Cem (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ รายการทรัพย์สินทั้งหมดที่จะต้องขายตามสัญญา) ให้แล้วเสร็จตามแผนการขายทรัพย์สิน (ซึ่งหากบริษัทฯ สามารถขายหุ้น ITD Cem และได้ค่าตอบแทนเพียงพอที่จะชำระสินเชื่อให้กับกลุ่มธนาคารผู้ให้สินเชื่อ ก็จะไม่มีการบังคับขายทรัพย์สินส่วนอื่น) เว้นแต่ บริษัทฯ ได้ชำระหนี้ภายใต้สัญญาดังกล่าวครบถ้วนแล้วภายใน 1 ปี นับจากวันที่ของสัญญา
โดยมีรายละเอียดสาระสำคัญของ สัญญาสินเชื่อ Syndicate Loan ตามข้อ 3.9 จากข้อกำหนดดังกล่าว บริษัทฯ ได้แต่งตั้ง บริษัท อีวาย คอร์ปอเรท เซอร์วิสเซส จำกัด (ที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัท ฯ” หรือ EY) ให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการขายหุ้นใน ITD Cem ตั้งแต่ต้นปี 2567 เพื่อดำเนินการคัดเลือกและติดต่อผู้ลงทุน รายต่างๆ ที่มีศักยภาพและคาดว่ามีความสนใจ (ส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่ลงทุน และ/หรือประกอบธุรกิจใกล้เคียงกับ ITD Cem ใน ประเทศอินเดียและสากลเป็นหลัก) ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ITD Cem โดยวิธีการ Bidding Process และดำเนินการให้ผู้ลงทุนที่สนใจ ยื่นข้อเสนอขั้นต้น (Indicative Offer) มายังบริษัทฯ จากนั้น บริษัทฯ ได้พิจารณาข้อเสนอขั้นต้นดังกล่าวและคัดเลือกผู้ลงทุนเฉพาะรายให้ดำเนินการตรวจสอบสถานะ (Due Diligence) ของ ITD Cem (ภายหลังการส่งออกสารสนเทศการขาย มีผู้แสดงความสนใจ เสนอราคา 3 ราย จาก 13 รายที่ทาง EY ได้นำเสนอสารสนเทศในการขาย) และดำเนินการให้ผู้ลงทุนที่ได้รับคัดเลือกยื่นข้อเสนอขั้น สุดท้าย (Final Binding Offer) ซึ่งระบุเงื่อนไขเชิงพาณิชย์ต่างๆ เพื่อให้บริษัทฯ พิจารณาคัดเลือกผู้ลงทุนที่่บริษัทฯ จะเข้าเจรจา รายละเอียดของสัญญาซื้อขายหุ้นและบรรลุข้อตกลงกับผู้ลงทุนหนึ่งราย
โดยในการนี้ บริษัทฯ ได้พิจารณาถึงข้อเสนอและเงื่่อนไขเบื้องต้น ตามที่ได้รับการนำเสนอจากผู้ลงทุนแต่ละรายอย่างถี่ถ้วน ซึ่ง รวมถึงราคาซื้อขายหุ้น และการจัดหาแหล่งเงินทุนในการเข้าซื้อหุ้น โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ และได้คัดเลือกผู้ซื้อเพื่อการเข้าทำสัญญาซื้อขายหุ้นตามที่เสนอ โดยผู้ซื้อรายดังกล่าวได้แก่ RED หรือ ผู้ซื้อ โดยมีรายละเอียดสาระสำคัญของสัญญาซื้อขายหุ้นตามข้อ 3.9
ดังนั้น การเข้าทำรายการฯ ในครั้งนี้ จะทำให้บริษัทฯ ได้รับมูลค่าสิ่งตอบแทนจำนวนรวม 32,045 ล้านรูปี หรือคิดเป็น ประมาณ 11,863 ล้านบาท ซึ่งน่าจะช่วยให้บริษัทฯ สามารถดำเนินการได้ตามข้อกำหนดในสัญญาสินเชื่อ Syndicate Loan
อย่างไรก็ดี เนื่องจาก ITD Cem เป็นบริษัทจดทะเบียนในประเทศอินเดีย ส่งผลให้มีข้อกำหนดทางกฎหมายหลายประการในแต่ละขั้นตอน ของกระบวนการขายหุ้น เช่น การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ โดยมีรายละเอียดกรอบกำหนดการเบื้้องต้นของการเข้าทำรายการฯ ดังนี้
ซึ่งหากบริษัทฯ ไม่รีบดำเนินการอาจทำให้บริษัทฯ มีความเสี่ยงในการปฏิบัติตามสัญญาสินเชื่อ Syndicate Loan ให้ได้ทัน ตามกำหนดการ นั่นคือ ภายใน 1 ปี นับจากวันที่ลงนามในสัญญา ซึ่งได้แก่ วันที่ 16 กรกฎาคม 2568 โดยหากเกิดเหตุผิดนัดชำระหนี้ขึ้้นราคาที่บริษัทฯ จะได้รับจากการขายหุ้นใน ITD Cem อาจเป็นราคาบังคับขาย (Forced Sale) (กล่าวคือ จำนวนเงินที่จะได้รับจากการขายทรัพย์สินภายใต้เงื่อนไขที่ผู้ขายถูกกดดันให้ขายในระยะเวลาที่สั้นกว่าระยะเวลาที่เพียงพอที่จะทำการซื้อขายโดยปกติ) หรือ อาจจะถูกกำหนดโดยกลุ่มธนาคารผู้ให้สินเชื่อ ซึ่งอาจต่ำกว่าราคาที่บริษัทฯ ได้รับการเสนอจากผู้ซื้อ ในปริมาณหุ้นที่ต้องขายทั้งหมด จำนวน 80,113,180 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.64 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของ ITD Cem
ทั้งนี้ เนื่องจากการดำเนินการในครั้งนี้ เป็นการประมูลแบบปิด (Closed Bidding) ซึ่งโดยทางทฤษฎีในการประมูลแบบปิด (Closed Bidding) ผู้ซื้อมักจะเสนอราคาที่สูงที่สุดที่สามารถให้ได้เพื่อให้มีโอกาสชนะการประมูลมากที่สุด ซึ่งน่าจะเป็นราคาที่ทำให้บริษัทฯ ได้รับประโยชน์สูงสุดบนอุปสงค์ในตลาดปัจจุบัน
โดยจากการประเมินมูลค่าหุ้นโดยวิธีต่างๆ 7 วิธี ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระมีความเห็นว่าวิธีการประเมินมูลค่าที่เหมาะสม ของ ITD Cem ในครั้งนี้ คือ วิธีมูลค่าตามราคาตลาด (Market Value Approach) และ วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินสด (DCF) ซึ่งจะได้ราคาอยู่ระหว่าง 354.71 – 622.88 รูปีต่อหุ้น หรือประมาณ 131.31 – 230.59 บาทต่อหุ้น หรือเท่ากับ 60,935.28 – 107,002.43 ล้านรูปี หรือ 22,558.28 – 39,612.30 ล้านบาท
ซึ่งหากคิดมูลค่าตามสัดส่วนของการเข้าทำรายการที่ร้อยละ 46.64 จะอยู่ระหว่าง 28,417.23 – 49,900.61 ล้านรูปี หรือ 10,520.06 – 18,473.20 ล้านบาท โดยราคาเสนอซื้อหุ้น ITD Cem ที่ 400 รูปีต่อหุ้น หรือ 148.08 บาทต่อหุ้น หรือเท่ากับ 32,045 ล้านรูปี หรือ 11,863 ล้านบาท อยู่ในช่วงของมูลค่ายุติธรรมตามที่ปรึกษาทางการเงินอิสระประเมินได้
ดังนั้น ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระจึงมีความเห็นว่าราคาเสนอซื้อหุ้น ITD Cem เป็นราคาที่เหมาะสมที่ปรึกษาทางการเงินอิสระจึงมีความเห็นว่าการเข้าทำรายการฯ ในครั้งนี้ มีความเหมาะสมด้านราคา