ครม. ไฟเขียว แก้หนี้ครัวเรือน “รายย่อย-SME” พ่วงลดดอกเบี้ย Non-Bank

“แพทองธาร” เผย ครม. อนุมัติมาตรการช่วยเหลือ ลูกหนี้รายย่อย-SME ผ่านปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมลดดอกเบี้ย ลูกหนี้ Non-Bank


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (11 ธ.ค.67) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม. อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี (Small and Medium Enterprises : SME) และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

“ถือว่าเรื่องนี้จะเป็นข่าวดี… เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนขึ้น” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นางสาวแพทองธาร กล่าวต่อว่า รายละเอียดเบื้องต้น เป็นเรื่องการลดภาระการชำระหนี้และดอกเบี้ยผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ เน้นการตัดเงินต้นและยกเว้นดอกเบี้ย เมื่อลูกหนี้ปฏิบัติได้ตามเงื่อนไข เพื่อให้ลูกหนี้สามารถรักษาทรัพย์สิน เช่น บ้าน รถยนต์ รวมถึงสถานประกอบการของตนเองไว้ได้

การให้โอกาสลูกหนี้ NPL มียอดหนี้ไม่เกิน 5,000 บาท สามารถปิดบัญชีหนี้ได้และเคลียร์เครดิตเพื่อเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในอนาคตได้

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพิ่มเติม ทั้งลูกหนี้ที่มีประวัติของการชำระหนี้ดี และให้กำลังใจในการรักษาวินัยการเงินการคลังต่อไป รวมถึงลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้เรื้อรังด้วย

ส่วนมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ Non-Bank โดยการลดภาระการผ่อนชำระค่างวดเหลือ 70% และลดอัตราดอกเบี้ย 10% เช่น จากอัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี จะเหลือ 15% ต่อปี ทั้งนี้รายละเอียดเพิ่มเติม โดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) จะมีการแถลงข่าวในเวลา 14:00 น. วันนี้

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs ที่ครม. อนุมัติ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ประกอบด้วย

มาตรการปรับโครงสร้างหนี้แบบลดภาระดอกเบี้ย โดยการเน้นตัดต้นเงินลูกหนี้และประเภทสินเชื่อ 3 ประเภท โดยเป็นสัญญาสินเชื่อที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 ม.ค.67 ประเภทสินเชื่อวงเงิน รวมต่อสถาบันการเงิน เช่น

1. สินเชื่อบ้าน/สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ไม่เกิน 5 ล้านบาท

2. สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และ/หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อเช่ำซื้อรถจักรยานยนต์และ/หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 800,000 บาทไม่เกิน 500,000 บาท

3. สินเชื่อธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไม่เกิน 5 ล้านบาท

ส่วนรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น ลดภาระการผ่อนชำะค่างวดระยะเวลา 3 ปี โดยในปีที่ 1, ปีที่ 2 และปีที่ 3 ชำระค่างวดร้อยละ 50, 70 และ 90 ตามลำดับตามค่างวดที่ชำระจะนำไปตัดเงินต้นทั้งหมด เพื่อให้ลูกหนี้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้นและดอกเบี้ยจะพักการชำระไว้ในช่วงระยะเวลามาตรการ

มาตรการลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ที่ถูกจัดชั้นเป็น NPLs ที่มียอดหนี้ไม่สูง เช่น ลูกหนี้ และประเภทสินเชื่อ เป็นลูกหนี้บุคคลธรรมดำที่เป็น NPLs และมีภำระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท (ครอบคลุมสินเชื่อทุกประเภทที่กู้ในนามบุคคลธรรมดา)

นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น การปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรนโดยลดภาระให้ลูกหนี้จ่ายชำระร้อยละ 10 ภาครัฐรับภาระร้อยละ 45 และสถาบันการเงินรับภาระร้อยละ 45 ของภาระหนี้คงค้าง

ทั้งนี้ แหล่งเงินของทั้ง 2 มาตรการ มาจาก

1 เงินนำส่งเข้า FIDF ของ ธนาคารพาณิชย์ ที่ได้รับการละเว้นจากการปรับลดอัตรานำส่งเงินฯ จำนวน 39,000 ล้านบาท

2 เงินงบฯ ตาม ม.28 เพื่อชดเชยให้ SFIs 6 แห่ง จำนวนวน 38,920 ล้านบาท

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ของ Non-Bank โดยขยายการให้ความช่วยเหลือให้ครอบคลุมไปยังลูกหนี้ของ Non-Bank เนื่องจากกลุ่มนี้มีความเปราะบางและมีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยสูง

คุณสมบัติลูกหนี้ และประเภทสินเชื่อ 5 ประเภท สัญญาสินเชื่อทำขึ้นก่อน 1 ม.ค.67 ในประเภทสินเชื่อวงเงินรวมไม่เกิน

1. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ 800,000 บาท

2. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ 50,000 บาท

3. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กการกำกับ 100,000 บาท หรือ 200,000 บาท

4. สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล 20,000 บาท

5. สินเชื่อรายย่อยเพื่อกำรประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano Finance)

โดยรูปแบบการช่วยเหลือ เช่น ลดภาระการผ่อนชำระค่างวด เป็น 70% ของค่างวด ก่อนเข้าร่วมมาตรการ ระยะเวลา 3 ปี ลดอัตราดอกเบี้ย 10% จากอัตราดอกเบี้ยก่อนเข้าร่วมมาตรการ ตลอดระยะเวลา 3 ปี

สำหรับ แหล่งเงิน ธนาคารออมสิน ให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ Non–Banks อัตราร้อยละ 0.01 ต่อปี วงเงิน 50,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี โดยรัฐบาลชดเชยต้นทุนเงินในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี งบประมาณรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 3,000 ล้านบาท

มาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพิ่มเติมของ SFIs มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมสำหรับลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่น ๆ เช่น เกษตรกร ผู้ประกอบการหาบเร่แผงลอย ซึ่งจะไม่ซ้ำซ้อนกับกลุ่มลูกหนี้ ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SMEs และครอบคลุมลูกหนี้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดีเพื่อสร้างแรงจูงใจในการรักษาวินัยทางการเงินของลูกหนี้

รูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น ลูกหนี้ปกติ ครอบคลุมลูกหนี้ รายย่อย ผู้ประกอบการรายย่อย/เกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยและ ปานกบาง ผ่านการลดดอกเบี้ยเป็นการทั่วไป ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ผ่านการพักชำระเงินต้นและไม่คิดดอกเบี้ยกับลูกหนี้ในระหว่างพักชำระหนี้ ลูกหนี้ที่ขอสินเชื่อใหม่ ผ่านการรให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

โดยแหล่งเงิน ให้ SFIs ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน, ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.), ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอิสลาม ใช้จ่ายจากเงินที่ได้จากการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIF) จากร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.125 ต่อปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี 2568 โดยจากประมาณการเงินนำส่งเข้า SFIF ของ SFIs ทั้ง 4 แห่ง ในปี 2568
พบว่า หากได้รับการปรับลดอัตราเงินนำส่งฯ เหลือร้อยละ 0.125 ต่อปี จะมีการนำส่งเงินเข้า SFIF ลดลงประมาณ 8,092 ล้านบาท

สำหรับแนวทางการแก้ไขหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ ประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก

1. ยกระดับข้อมูลหนี้สินครัวเรือนที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลของ บจก.ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมการมีหนี้ที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในระดับที่เหมาะสมกับรายได้ และไม่เกินกำลังในการชำระคืน รวมถึงออกแบบมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างตรงจุดและทันการณ์ และยกระดับข้อมูลหนี้สินครัวเรือน โดยมีแนวทาง เช่น ปรับปรุงและเพิ่มเติมการจัดทำฐำนข้อมูลภาวะหนี้นอกระบบของครัวเรือน เพื่อให้มีข้อมูลสถานะภาระหนี้สินที่แท้จริง

2. การสร้างความสามารถในการแข่งขันและการยกระดับรายได้ โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน โดยมีแนวทาง เช่น ส่งเสริมให้แรงงานยกระดับทักษะฝีมือแรงงาน ดูแลให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจรายใหญ่ได้รับความเป็นธรรม

Back to top button