เปิดโผ 14 หุ้น รับครม. ไฟเขียว มาตรการแก้หนี้ “รายย่อย-เอสเอ็มอี”

เปิดโผ 14 หุ้น รับครม. ไฟเขียวมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย-เอสเอ็มอี ฟากโบรกฯแนะนำ "ซื้อ" กลุ่มธนาคาร, กลุ่ม Finance และกลุ่มค้าปลีก


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (11 ธ.ค.67) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมครม. อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี (Small and Medium Enterprises : SME) และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

นางสาวแพทองธาร กล่าวต่อว่า รายละเอียดเบื้องต้น เป็นเรื่องการลดภาระการชำระหนี้และดอกเบี้ยผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ เน้นการตัดเงินต้นและยกเว้นดอกเบี้ย เมื่อลูกหนี้ปฏิบัติได้ตามเงื่อนไข เพื่อให้ลูกหนี้สามารถรักษาทรัพย์สิน เช่น บ้าน รถยนต์ รวมถึงสถานประกอบการของตนเองไว้ได้

โดยการให้โอกาสลูกหนี้ NPL มียอดหนี้ไม่เกิน 5,000 บาท สามารถปิดบัญชีหนี้ได้และเคลียร์เครดิตเพื่อเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในอนาคตได้

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางเพิ่มเติม ทั้งลูกหนี้ที่มีประวัติของการชำระหนี้ดี และให้กำลังใจในการรักษาวินัยการเงินการคลังต่อไป รวมถึงลูกหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้เรื้อรังด้วย

ส่วนมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ Non-Bank โดยการลดภาระการผ่อนชำระค่างวดเหลือ 70% และลดอัตราดอกเบี้ย 10% เช่น จากอัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี จะเหลือ 15% ต่อปี ทั้งนี้รายละเอียดเพิ่มเติม โดยกระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) จะมีการแถลงข่าวในเวลา 14:00 น. วันนี้

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและผู้ประกอบการ SME ที่ครม. อนุมัติ ประกอบด้วย

มาตรการปรับโครงสร้างหนี้แบบลดภาระดอกเบี้ย โดยการเน้นตัดต้นเงินลูกหนี้และประเภทสินเชื่อ 3 ประเภท โดยเป็นสัญญาสินเชื่อที่ทำขึ้นก่อนวันที่ 1 ม.ค.67 ประเภทสินเชื่อวงเงิน รวมต่อสถาบันการเงิน เช่น

1.สินเชื่อบ้าน และ/หรือสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ไม่เกิน 5 ล้านบาท

  1. สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และ/หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อเช่ำซื้อรถจักรยานยนต์และ/หรือสินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 800,000 บาทไม่เกิน 500,000 บาท

3.สินเชื่อธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการ SME ที่มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไม่เกิน 5 ล้านบาท

ส่วนรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น ลดภาระการผ่อนชำะค่างวดระยะเวลา 3 ปี โดยในปีที่ 1, ปีที่ 2 และปีที่ 3 ชำระค่างวดร้อยละ 50, 70 และ 90 ตามลำดับตามค่างวดที่ชำระจะนำไปตัดเงินต้นทั้งหมด เพื่อให้ลูกหนี้ปิดหนี้ได้เร็วขึ้นและดอกเบี้ยจะพักการชำระไว้ในช่วงระยะเวลามาตรการ

มาตรการลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ ที่ถูกจัดชั้นเป็น NPLs ที่มียอดหนี้ไม่สูง เช่น ลูกหนี้ และประเภทสินเชื่อ เป็นลูกหนี้บุคคลธรรมดำที่เป็น NPLs และมีภาระหนี้คงค้างไม่เกิน 5,000 บาท (ครอบคลุมสินเชื่อทุกประเภทที่กู้ในนามบุคคลธรรมดา)

นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการให้ความช่วยเหลือและเงื่อนไข เช่น การปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรนโดยลดภาระให้ลูกหนี้จ่ายชำระร้อยละ 10 ภาครัฐรับภาระร้อยละ 45 และสถาบันการเงินรับภาระร้อยละ 45 ของภาระหนี้คงค้าง

ทั้งนี้ แหล่งเงินของทั้ง 2 มาตรการ มาจาก

1 เงินนำส่งเข้า FIDF ของ ธนาคารพาณิชย์ ที่ได้รับการละเว้นจากการปรับลดอัตรานำส่งเงินฯ จำนวน 39,000 ล้านบาท

2 เงินงบฯ ตาม ม.28 เพื่อชดเชยให้ SFIs 6 แห่ง จำนวนวน 38,920 ล้านบาท

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ของ Non-Bank โดยขยายการให้ความช่วยเหลือให้ครอบคลุมไปยังลูกหนี้ของ Non-Bank เนื่องจากกลุ่มนี้มีความเปราะบางและมีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีดอกเบี้ยสูง

คุณสมบัติลูกหนี้ และประเภทสินเชื่อ 5 ประเภท สัญญาสินเชื่อทำขึ้นก่อน 1 ม.ค.67 ในประเภทสินเชื่อวงเงินรวมไม่เกิน

  1. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ 800,000 บาท
  2. สินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ 50,000 บาท
  3. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กการกำกับ 100,000 บาท หรือ 200,000 บาท
  4. สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล 20,000 บาท
  5. สินเชื่อรายย่อยเพื่อกำรประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano Finance)

ทั้งนี้ จากที่ประชุมครม. อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย และผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น ด้าน บริษัท หลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ แนะนำ “ซื้อ” กลุ่มธนาคาร ที่มีสัดส่วนลูกหนี้รายย่อยสูง อย่าง ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK, ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB

รวมถึงกลุ่ม Finance อย่าง บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC, บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) หรือ TIDLOR และเก็งกำไร บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT อีกทั้งในกลุ่มค้าปลีก ได้แก่ บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) หรือ CPAXT, บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL, บริษัท คาราบาวกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ CBG, บริษัท โมชิ โมชิ รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ MOSHI

ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์วันนี้ 11 ธ.ค.67  ว่าด้วยมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยมาตรการช่วยลูกหนี้ที่มียอดคงค้างไม่เกิน 1 ปี ในส่วนสินเชื่อ บ้าน รถยนต์ และ SMEs รวม 2.3 ล้านราย วงเงิน 1.31 ล้านล้านบาท โดยจะเป็นการพักดอกเบี้ยทั้งสิ้น 3 ปี

ทั้งนี้ แหล่งเงินที่จะใช้ รัฐบาลจะร่วมกับสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลจะลดอัตราเงินนำส่งเงินสมทบกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) จากธนาคารพาณิชย์ลงครึ่งหนึ่งเหลือ 0.23% ต่อปี จากเดิม 0.46% ต่อปี เพื่อนำเงินนี้มาช่วยจ่ายดอกเบี้ยแทนเชิงกลยุทธ์ แม้ประเมินเงินที่ลดลงจากการส่ง FIDF จะไม่ครอบคลุมผลกระทบทั้งหมด แต่เชื่อว่าคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น  ความสามารถกลับมาขยายสินเชื่อระยะถัดไป จะช่วยชดเชยผลกระทบ โดยรวมฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักเป็นกลาง-บวกอ่อนๆต่อกลุ่มธนาคารคาดธนาคารได้ประโยชน์สูง คือ กลุ่มที่มีสัดส่วนสินเชื่อที่เข้าข่ายในมาตรการสูงบริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB (57% ของสินเชื่อ) และ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK (50% ของสินเชื่อ)

ส่วนมาตรการช่วยลูกหนี้ที่มีวงเงินค้างชำระหนี้สำหรับรายย่อย เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล ต้องไม่เกิน 5,000 บาทต่อราย กำหนดให้ลูกหนี้ ที่ค้างชำระหนี้ ที่เป็นหนี้เสียต่างๆ ต้องจ่ายเงินต้น 10-15% จากเงินค้างชำระทั้งหมด เพื่อล้างหนี้ ปิดหนี้ทั้งก้อนได้ทันที

กรณีดังกล่าว ฝ่ายวิจัยประเมินเป็นบวกต่อหุ้นที่มีสินเชื่อเพื่อการบริโภค สินเชื่อส่วนบุคคลสูง อาทิ บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หรือ AEONTS (92% ของสินเชื่อ) บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC (98%ของสินเชื่อ) และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB (26% ของสินเชื่อ)

Back to top button