ส่องหุ้น “โรงพยาบาล-คลินิก” จ่อรับตลาด “มีบุตรยาก” ปีมะเส็งขยายตัว 6.2%
คัดหุ้น “โรงพยาบาล-คลินิก” รับอานิสงส์ภาวะตลาดมีบุตรยาก หลังแนวโน้มธุรกิจบริการรักษาภาวะมีบุตรยากในไทย คาดปี 68 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.2%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (3 ม.ค.68) บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุผ่านบทวิเคราะห์ถึงแนวโน้มธุรกิจบริการรักษาภาวะมีบุตรยากในปี 2568 ว่า คาดมีมูลค่าตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของโลกจะอยู่ที่ราว 2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 6.8% จากปี 2567 ตามอัตราการเจริญพันธุ์ที่ยังคงลดลง และปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ที่พบบ่อยขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่น่าจะกินส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นตามการเข้าสู่สังคมสูงวัยในระดับที่รุนแรงขึ้นของหลายประเทศในภูมิภาคนี้
สำหรับแนวโน้มตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของไทยในปี 2568 คาดว่าจะมีมูลค่าราว 6.3 พันล้านบาท ขยายตัว 6.2% จากปี 2567 โดยรายได้ของธุรกิจยังคงเติบโตตามจำนวนผู้รับบริการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ส่วนมูลค่าตลาดผู้รับบริการชาวไทย คาดว่าจะขยายตัว 5.0% ตามค่านิยมมีบุตรช้าลง รวมถึงปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ที่มีความซับซ้อน และมีสาเหตุมาจากเพศชายมากขึ้น ทำให้ต้องพึ่งพาวิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ขณะที่มูลค่าตลาดผู้รับบริการชาวต่างชาติ คาดว่าจะขยายตัว 7.6% จากไทยยังมีความโดดเด่นด้านคุณภาพ มาตรฐานการบริการ และราคาที่ยังต่ำกว่าคู่แข่ง รวมถึงการขยายตลาดใหม่ๆ
ทั้งนี้ธุรกิจบริการรักษาภาวะมีบุตรยากในระยะข้างหน้า ยังมีโอกาสเติบโตได้จากการปรับกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยเฉพาะมาตรการผ่อนปรนการมีบุตรคนที่ 3 ของจีน และการเตรียมปรับกฎหมายอุ้มบุญของไทย นอกจากนี้ ยังรวมถึงเทรนด์การแช่แข็ง และฝากไข่ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นทั่วโลก
อีกทั้งในปี 2568 มูลค่าตลาดผู้รับบริการชาวไทย คาดว่าจะขยายตัว 5.0% จากค่านิยมมีบุตรช้าลง และปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ที่มีความซับซ้อน และมีสาเหตุมาจากเพศชายมากขึ้น ทำให้ต้องพึ่งพาวิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ขณะที่มูลค่าตลาดผู้รับบริการชาวต่างชาติ คาดว่าจะขยายตัว 7.6% โดยมีแรงหนุนจากราคาและคุณภาพบริการที่ยังโดดเด่น รวมถึงการขยายตลาดใหม่ของธุรกิจ
ขณะเดียวกันไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นในการให้บริการรักษาภาวะมีบุตรยากจากอัตราความสำเร็จในการมีลูก (Success Rate) ที่สูงถึงราว 40-70% โดยมีผู้ให้บริการแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1) กลุ่ม Treatment เช่น โรงพยาบาลรัฐและเอกชน และคลินิก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการบริการแบบครบวงจรตั้งแต่การให้ดำปรึกษา การบริการรักษาด้วยเทดโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ และการแช่แข็ง และฝากไข่หรือสเปิร์ม
2) กลุ่ม Testing ที่ให้บริการคัดกรองความผิดปกติทางพันธุกรรม ทั้งนี้ มูลค่าตลาดบริการรักษาภาวะมีบุตรยากของไทยแบ่งเป็น การใช้บริการของชาวไทย 55% ของมูลค่าตลาดทั้งหมด ส่วนอีก 45% เป็นชาวต่างชาติ
ทั้งนี้ผู้ประกอบการธุรกิจบริการรักษาภาวะมีบุตรยากที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ โดยคาดว่าจะได้รับประโยชน์ ได้แก่
สำหรับประเภทธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ได้แก่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) หรือ BDMS, บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) หรือ BCH, บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BH, บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) หรือ CHG, บริษัท เอกชัยการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ EKH, บริษัท ธนบุรี เมดิเคิล เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ KDH, บริษัท โรงพยาบาล ลาดพร้าว จำกัด (มหาชน) หรือ LPH, บริษัท โรงพยาบาลมหาชัย จำกัด (มหาชน) หรือ M-CHAI
บริษัท วัฒนาการแพทย์ จำกัด (มหาชน) หรือ NEW, บริษัท โรงพยาบาลนนทเวช จำกัด (มหาชน) หรือ NTV, บริษัท แพทย์รังสิตเฮลท์แคร์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ PHG, บริษัท โรงพยาบาลพระรามเก้า จำกัด (มหาชน) หรือ PR9, บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ PRINC, บริษัท โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) หรือ RAM,
บริษัท โรงพยาบาลราชธานี จำกัด (มหาชน) หรือ RJH, บริษัท โรงพยาบาลราชพฤกษ์ จำกัด (มหาชน) หรือ RPH, บริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SKR, บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG, บริษัท โรงพยาบาลวิภาวดี จำกัด (มหาชน) หรือ VIBHA และบริษัท ศรีวิชัยเวชวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) หรือ VIH
ส่วนประเภทธุรกิจคลินิกบริการ ได้แก่ บริษัท เซฟ เฟอร์ทิลิตี้ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ SAFE, บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GFC และ บริษัท แบงคอกจีโนมิกส์อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BKGI