ACAP แจงอัยการสั่งไม่ฟ้อง 7 รายคดี “ทุจริตก่อสร้างกำแพง-ปล่อยกู้ GSC
ACAP แจงอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องผู้บริหาร 7 ราย ในคดีทุจริตปล่อยกู้ GSC รวมถึงผู้บริหาร 2 รายในคดีทุจริตการก่อสร้างกำแพง โดยอัยการพิจารณาแล้วว่า ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะฟ้องข้อกล่าวหา
บริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ACAP แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ข้อ 1. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้มีการร้องทุกข์กล่าวโทษ ดำเนินคดีกับ นางสาวณิชารดี สุขเจริญไกรศรี ผู้ต้องหาคนที่ 1, นางสาวสุดาภรณ์ กลิ่นแก้ว ผู้ต้องหาคนที่ 2, นางสาวสิริณี ฉิมบรรเทิง ผู้ต้องหาคนที่ 3, นางสาวอุดมพร เอี่ยมจ้อย ผู้ต้องหาคนที่ 4, นางสาวณิชาภา ทองตัด ผู้ต้องหาคนที่ 5, นายธัญพิสิษฐ์ ทรัพย์รอด ผู้ต้องหาคนที่ 6, นางสาวเมตตา โพธิ์กิ่ง ผู้ต้องหาคนที่ 7 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ในข้อหาร่วมกันกระทำความผิดหน้าที่โดยทุจริต แสวงหาประโยชน์ที่มีควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่น และทำให้บริษัทเสียหายหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ ทำให้ GSC ได้รับความเสียหายหรือทำให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์
โดยร่วมกันตัดสินใจ อนุมัติ หรือสังการให้ GSC ปล่อยเงินกู้ยืมให้แก่บริษัท รวม7 รายการ มูลค่าสะสมรวมสูงสุดอยู่ที่ 180 ล้านบาท โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสินทรัพย์รวมของ GSC ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งไม่ได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน และไม่เป็นไปตานโยบายการลงทุน ทำให้ GSC มีความเสียงในการลงทุนและเสียประโยชน์จากดอกเบี้ยที่ควรได้รับ รวมทั้งทำให้ ACAP ได้ประโยชน์จากส่วนต่างดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมที่ลดลง
อีกทั้งเป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของรายการที่เกี่ยวโยงกันฯ โดยเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 กองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ได้มีหนังสือ ที่ ตช 0025.935/3265 เรื่อง แจ้งคำสั่งไม่ฟ้อง ตามหนังสือของพนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร ๒ หนังสือที่ อส 0015.2/1620 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2565 โดยอัยการพิเศษฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 2 มีคำวินิจฉัยโดยสรุปดังนี้
จากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หน้าที่ดังกล่าวของ ผู้ต้องหาที่ 1 ถึงผู้ต้องหาที่ 4 มิได้ทำให้เกิดความเสียหายแก่ บริษัท โกลบอล เซอร์วิส เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ GSC เนื่องจากบริษัทฯ ได้รับการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจาก ACAP ตามอัตราที่เหมาะสมและได้รับชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว เพราะขณะนั้น GSC ได้ฝากเงินจำนวนดังกล่าวแบบเผื่อเรียกไว้กับสถาบันการเงินได้รับดอกเบี้ยเพียง 0.75% เท่านั้น แต่การให้ ACAP กู้ยืมได้รับดอกเบี้ย 2% ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินจ่ายให้และสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศกำหนดไว้ แม้ผู้กล่าวหา (ก.ล.ต.) จะให้การทำนองว่าผู้ต้องหาที่ 1 ถึงผู้ต้องหาที่ 4 ได้ร่วมกันสั่งการให้ GSC คิดดอกเบี้ยจากการให้ ACAP กู้ยืมทั้ง 3 ครั้งต่อปี ซึ่งต่ำกว่าที่ควร เนื่องจากหากคิดดอกเบี้ยตามเครดิตเรทติ้ ACAP จะต้องคิดดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ร้อยละ 4-5-5- ต่อปี
โดยอ้างอิงจากรายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระก็ตาม แต่การกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโดยอาศัยอ้างอิงความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเพียงลอยๆ เท่านั้น ซึ่งไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าในขณะนั้นมีสถาบันการเงินใดหรือบริษัทอื่นใดเสนอให้ดอกเบี้ยเงินฝากหรือเสนอขอกู้เงินจาก GSC โดยให้ดอกเบี้ยสูงกว่า 2% ต่อปี โดยก่อนที่ GSC จะให้ ACAP กู้เงินนั้น บริษัท GSC มีรายได้จากการฝากเงินที่ให้กู้ดังกล่าวจากธนาคารเพียง 0.75% ต่อปีเท่านั้นซึ่งการให้ ACAP กู้ดังกล่าว ทำให้ GSC ได้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารถึงร้อยละ 1.25 ต่อปี
ประกอบกับการที่ GSC ให้ ACAP กู้ยืมนั้นนั้นเป็นการลงทุนในตั๋วเงินระยะสั้นแบบเผื่อเรียก ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับการฝากเงินแบบเผื่อเรียกไว้กับสถาบันการเงินทั่วไป แต่ได้รับดอกเบี้ยที่สูงกว่าอัตราคอกเบี้ยของสถาบันการเงินทั่วไป
อีกทั้งในขณะนั้น ACAP เป็นผู้ถือหุ้นใน GSC ถึงร้อยละ 64 จึงน่าเชื่อว่าจะไม่ทำให้ GSC ที่ ACAP ถือหุ้นอยู่เสียหาย และเมื่อพิจารณาตามสำเนาตั๋วสัญญาใช้เงินที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน ที่ ACAP เคยให้ GSC กู้ยืมเงิน ปรากฏว่า ACAP เคยคิดดอกเบี้ย จาก GSC ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปีเท่านั้น ประกอบกับจากการตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวทางบัญชีก็ไม่ปรากฏว่า นางสาวณิชารดี สุขเจริญไกรศรี ผู้ต้องหาที่ 1, นางสาวสุดาภรณ์ กลิ่นแก้ว ผู้ต้องหาที่ 2, นางสาวสิริณี ฉิมบรรเทิง ผู้ต้องหาที่ 3, นางสาวอุคมพร เอี่ยมจ้อย ผู้ต้องหาที่ 4 ได้รับผลประโยชน์อื่นใดจากการอนุมัติให้กับ ACAP กู้ยืมเงินทั้ง 9 รายการดังกล่าว ทั้ง GSC ไม่ได้รับความเสียหายแต่กลับได้รับผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยจากการให้ ACAP กู้ยืมเงินจำนวน 7 รายการดังกล่าว จำนวน 2,826,027.40 บาท ซึ่งกรณีเป็นเรื่องปกติทางการค้าในการบริหารเงินสภาพดล่องส่วนเกินให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับ GSC และไม่ปรากฏว่า ACAP ผิดนัดชำระหนี้แต่อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏว่าในการกู้เงินดังกล่าว ACAP ได้รับประโยชน์อื่นใดเกินไปกว่าความเป็นปกติธรรมดาทางการค้าของพันธ์มิตรร่วมค้าที่เคยพึ่งพาอาศัยกันกู้ยืมเงินซึ่งกันและกัน
อันจะเห็นได้จากกรณีที่ก่อนหน้านั้น ACAP เคยให้ GSC กู้ยืมเงินจำนวนหลายครั้งโดยคิดดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 1 ต่อปี ซึ่งแม้คณะกรรมการของ GSC จะเคยมีมติกำหนดไว้ว่าให้บริษัทฯ สามารถนำเงินสภาพคล่องส่วนเกินไปลงทุนในกองทุนรวมความเสี่ยงต่ำระดับ 1 เท่านั้น แต่ ACAP มีระดับความเสี่ยงสูงกว่าระดับ 1 เกินกว่าที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนดไว้ก็ตาม
แต่กรณีปรากฎข้อเท็จจริงว่า ในที่ประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการของ GSC เพื่อรับรองรับงบการเงินไตรมาส 1 ประจำปี 2562 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2562 ก็ได้มีการแจ้งให้กรรมการทุกคนที่เข้าร่วมประชุมให้ได้รับทราบว่า มีการนำเงินสภาพคล่องส่วนเกินของบริษัทฯ ไปลงทุนในตัวสัญญาใช้เงินแบบเผื่อเรียกอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี กับทาง ACAP เพื่อเป็นการบริหารสภาพคล่องระยะสั้นในระหว่างที่กำลังศึกษาข้อมูลการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบ IT ซึ่งกรรมการทุกคนที่เข้าร่วมประชุมก็ได้ให้การรับรองงบการเงินโดยมิได้มีการโต้แย้งใดๆ
ดังนั้นพฤติการณ์ นางสาวณิชารดี สุขเจริญไกรศรี ผู้ต้องหาที่ 1, นางสาวสุดาภรณ์ กลิ่นแก้ว ผู้ต้องหาที่ 2, นางสาวสิริณี ฉิมบรรเทิง ผู้ต้องหาที่ 3, นางสาวอุดมพร เอี่ยมจ้อย ผู้ต้องหาที่ 4 จึงยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบจนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหายหรือทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบโดยทุจริตอันเป็นองค์ประกอบของความผิด ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 43/7, มาตรา 49/12, มาตรา2881/2, วรรคหนึ่ง, วรรคสอง,มาตรา 307, มาตรา 311 ประกอบมาตรา 83 แห่ง
ประมวลกฎหมายอาญา
จึงสั่งไม่ฟ้อง นางสาวณิชารดี สุขเจริญไกรศรี ผู้ต้องหาที่ 1, นางสาวสุดาภรณ์ กลิ่นแก้ว ผู้ต้องหาที่ 2, นางสาวสิริณี ฉิมบรรเทิง ผู้ต้องหาที่ 3, นางสาวอุดมพร เอี่ยมจ้อย ผู้ต้องหาที่ 4 ฐานร่วมกันกระทำความผิดหน้าที่โดยทุจริต แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่น และทำให้บริษัทเสียหาย หรือทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ และร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความชื่อสัตย์สุจริต ทำให้บริษัทเสียหายหรือทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 89/7, มาตรา 89/12, มาตรา 281/2 วรรคหนึ่ง, วรรคสอง,มาตรา 307, มาตรา 31 ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 88
และสั่งไม่ฟ้อง นางสาวณิชาภา ทองตัด ผู้ต้องหาที่ 5, นายธัญพิสิษฐ์ ทรัพย์รอด ผู้ต้องหาที่ 6, นางสาวเมตตา โพธิ์กิ่ง ผู้ต้องหาที่ 7 ฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยขาดความรับผิดชอบ ความระมัดระวัง และความชื่อสัตย์สุจริต ทำให้บริษัทเสียหายหรือทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 89/7, มาตรา 89/12, มาตรา 281/1 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83
ข้อ 2. เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้มีการร้องทุกข์ กล่าวโทษ ดำเนินดดีกับ นางสาวณิชารดี สุขเจริญไกรศรี (ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) และ นางสาวพิมพ์วลัญช์ สุวัตถิกุล (ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งกรรมการและกรรมการบริหาร) กรณีเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทจดทะเบียน กระทำผิดต่อหน้าที่แสวงหาประโยชน์ที่มีควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ ACAP ได้รับความเสียหายและบันทึกบัญชีไม่ถูกต้องหรือไม่ตรงกับความเป็นจริง
โดยได้กระทำความผิดพร้อมพวกอีก 4 ราย การกระทำของอดีตกรรมการและผู้บริหาร ACAP และพวกรวม 6 รายเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 307 มาตรา 311 มาตรา 312 มาตรา 313 และมาตรา 315 แห่ง พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประกอบมาตรา 83 และมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
โดยเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2567 กองกำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ได้มีหนังสือ ที่ ตช 0026.935/3012 เรื่อง แจ้งคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องตามหนังสือของพนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจฯ ๑ หนังสือที่ อส 0015.1/1341 ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 โดยอัยการพิเศษนำคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร & มีคำวินิจฉัยโดยสรุปดังนี้
คดีในส่วนของผู้ต้องหาที่ 1 นางสาวณิชารดี สุขเจริญไกรศรี (ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) และ นางสาวพิมพ์วลัญข์ สุวัตถิกุล (ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งหน่งกรรมการและกรรมการบริหาร) ผู้ต้องหาที่ 2 พิจารณาแล้วเห็นว่า การที่ ACAP ดำเนินการรื้อถอนกำแพงกันดินเก่าและขนย้ายดิน และก่อสร้างกำแพงกั้นดินใหม่เพื่อป้องกันมิให้ดินโคลนไหลลงไปสร้างความเสียหายให้แก่ชาวบ้านซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงที่ดินของ ACAP อันเป็นจุดเกิดเหตุในคดีนี้
โดยมีผู้ต้องหาที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการของ ACAP นั้น เป็นไปตามขั้นตอนและระเบียบบังคับของ ACAP โดยมีการว่าจ้าง ให้ผู้ต้องหาที่ 3 เป็นผู้ก่อสร้าง ซึ่งในการว่าจ้างดังกล่าวก็มีการเปรียบเทียบราคาก่อสร้าง โดยผู้ต้องหาที่ 3 เป็นผู้กำหนดราคาที่ต่ำกว่า และในการก่อสร้างดังกล่าวยังได้ว่าจ้างให้ ผู้ต้องหาที่ 5 เป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างอีกด้วย ซึ่งเป็นพฤติการณ์ปกติของการดำเนินการก่อสร้างในลักษณะดังกล่าว
เพียงแต่ผู้ต้องหาที่ 1 และที่ 2 มิได้ใช้ความระมัดระวังในการกำกับดูแลการก่อสร้างอย่างใกล้ชิด จนทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่ามีการก่อสร้างเป็นไปตามที่ตกลงตามสัญญาว่าจ้างหรือไม่ และเมื่อทราบว่ามิได้มีการก่อสร้างตามสัญญา ก็ได้ยกเลิกสัญญาและเรียกเงินคืนจากผู้ต้องหาที่ 3 จนครบถ้วน ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่ปรากฏตามทางการสอบสวนและที่ได้จากการสอบสวนเพิ่มเติมยังไม่เพียงพอจะรับฟังได้ว่า ผู้ต้องหาที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับผิดบการดำเนินงานของ ACAP ได้ร่วมกันกันกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่น จนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน คดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้องผู้ต้องหาที่ 1 และที่ 2 ตามข้อกล่าวหา
จึงมีคำสั่งไม่ฟ้อง นางสาวณิชารดี หรือ สุกัญญา สุขเจริญไกรศรี ผู้ต้องหาที่ 1 และนางสาว พิมพ์วลัญซ์ สุวัตถิกุล ผู้ต้องหาที่ 2ในข้อหา เป็นบุคคลซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการของบริษัท ร่วมกันกระทำผิดหน้าที่โดยทุจริตหรือแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่นจนเป็นเหตุให้บริษัทได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 307 มาตรา 311, มาตรา 312, มาตรา 313 และมาตรา 315 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83