ศาลฯ ตีตกแก้แผนฟื้นฟู “การบินไทย” 3 ฉบับ ไม่เห็นชอบ “คลัง” ตั้ง 2 ผู้บริหารแผนเพิ่ม

ศาลล้มละลายกลาง ตีตกคำร้องแก้แผนฟื้นฟูกิจการ “การบินไทย” ทั้ง 3 ฉบับ ไม่เห็นชอบคลังตั้งผู้บริหารแผน 2 ท่าน ทำให้ขั้นตอนยุ่งยาก-เพิ่มรายจ่าย


นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ตามที่ศาลล้มละลายกลางได้นัดฟังคำสั่งเกี่ยวกับข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการ จำนวน 3 ฉบับ ของบริษัท ซึ่งประกอบด้วย

1) คำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อกำหนดให้ผู้บริหารแผนมีอำนาจลดทุนด้วยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) เพื่อล้างผลขาดทุนสะสม (คำร้องขอแก้ไขแผน ฉบับที่ 1)

2) คำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อเพิ่มข้อกำหนดที่ชัดเจนว่า หากในอนาคตบริษัทฯ จะมีการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น บริษัทฯ สามารถนำกระแสเงินสดส่วนเกินมาจ่ายเงินปันผลได้ โดยเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการจะได้รับชำระหนี้ก่อนกำหนดตามข้อ 5.4 (ข) ของแผนฟื้นฟูกิจการ เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่าจำนวนเงินปันผลที่จะมีการเสนอจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในครั้งนั้น ๆ (คำร้องขอแก้ไขแผน ฉบับที่ 2)

3) คำร้องขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการเพื่อเพิ่มผู้บริหารแผนจำนวน 2 ท่าน (คำร้องขอแก้ไขแผน ฉบับที่ 3) ซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติยอมรับข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวแล้วนั้นบริษัทฯ ขอแจ้งว่า เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2568 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการทั้ง 3 ฉบับ เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขแผนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 (และที่มีแก้ไขเพิ่มเติม) (พ.ร.บ. ล้มละลายฯ) มาตรา 90/63

โดยศาลล้มละละลายกลางเห็นว่า การแก้ไขแผนตามคำร้องขอแก้ไขแผน ฉบับที่ 1 เรื่องอำนาจของผู้บริหารแผนในการลดทุนด้วยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) เพื่อล้างผลขาดทุนสะสม นั้น การลดทุนเป็นวิธีการบริหารเงินทุนของบริษัทฯ ให้เกิดความเหมาะสมเพื่อให้มีโครงสร้างทุนที่แข็งแรงขึ้น

โดยในแผนฟื้นฟูกิจการ ข้อ 5.6.3 และข้อ 5.6.4 ได้กำหนดรายละเอียดในการเพิ่มทุนจดทะเบียนไว้ และข้อ 5.6.7 ระบุว่าผู้บริหารแผนมีอำนาจดำเนินการลดทุนจดทะเบียนเพื่อตัดหุ้นสามัญเพิ่มทุนส่วนที่ไม่มีการเสนอขายตามที่ผู้บริหารแผนเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ ซึ่งการลดทุนจดทะเบียนด้วยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (Par Value) เพื่อล้างขาดทุนสะสมเพื่อการปรับตัวเลขทางบัญชีของบริษัทฯ ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของการลดทุนที่จะส่งผลให้ผู้ถือหุ้นได้รับเงินปันผลเร็วขึ้น และเป็นอำนาจของผู้บริหารแผนที่จะดำเนินการได้ เพื่อให้การฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ เป็นผลสำเร็จตามแผนข้อ 10.10

ประกอบกับมีบทบัญญัติมาตรา 90/42 วรรรคท้ายบัญญัติยกเว้นหลักเกณฑ์ทั่วไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 (และที่มีแก้ไขเพิ่มเติม) มาตรา 139 ไว้ในเรื่องลดทุนจดทะเบียน

ดังนั้น การที่ผู้บริหารแผนจะลดทุนจากจำนวนที่จดทะเบียนไว้ด้วยการลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากเดิมหุ้นละ 10 บาท เป็นจำนวนตามที่ผู้บริหารแผนเห็นสมควรและเหมาะสมโดยคำนึงถึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทฯ เป็นสำคัญ จึงเป็นวิธีการที่ผู้บริหารแผนมีอำนาจกระทำได้ภายในชอบอำนาจโดยยชอบตามแผนพื้นฟื้นฟูกิจการอยู่แล้ว และดำเนินการดังกล่าวมิได้กระทบสิทธิต่อการได้รับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการแต่อย่างใด ในส่วนของคำร้องขอแก้ไขแผนฉบับที่ 2

เรื่อง การนำกระแสเงินสดส่วนเกินมาจ่ายเงินปันผลและการชำระหนี้ก่อนกำหนดกรณีจ่ายเงินปันผล นั้นศาลล้มละลายกลางเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นการเพิ่มรายละเอียดให้ชัดเจนเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินปันผลที่ผู้บริหารแผนมีอำนาจกระทำได้ภายในขอบอำนอำนาจโดยชอบตามแผนฟื้นฟูกิจการอยู่แล้วเช่นเดียวกัน

ดังนั้น กรณีจึงไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขแผนฟื้นฟื้นฟูกิจการตามคำร้องขอแก้ไขแผน ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ในส่วนคำร้องขอแก้ไขแผน ฉบับที่ 3 เรื่อง เพิ่มผู้บริหารแผนจำนวน 2 ท่าน นั้น ศาลล้มละลายกลางเห็นว่า ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2565 ที่ผู้บริหารแผน 2 คนได้ลาออกจากการเป็นผู้บริหารแผน ผู้บริหารแผนอีก 3 คนที่เหลืออยู่มีอำนาจดำเนินการตามแผนฟื้นฟื้นฟูกิจการได้มาถึงปัจจุบัน โดยเมื่อพิจารณารายงานผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามสาระสำคัญของแผนฟื้นฟูกิจการตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปีที่ 2 จนถึงโตรมาสที่ 4 ปีที่ 3 ปรากฏว่าผู้บริหารแผนดำเนินการเป็นไปตามสาระสำคัญของแผนฟื้นฟูกิจการ ไม่ปรากฏว่าการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการจะมีปัญหาขัดข้องหรือติดขัดจากการที่มีผู้บริหารแผนจำนวน 3 คนแต่อย่างใด

นอกจากนี้ หากมีการเพิ่มผู้บริหารแผนอีก 2 คนตามคำร้องขอแก้ไขแผน ฉบับที่ 3 จะต้องมีการจัดประชุมคณะผู้บริหารแผนเพื่อตั้งประธานคณะผู้บริหารแผนกำหนดอำนาจหน้าที่ของประธานคณะผู้บริหารแผนแผนและผู้บริหารแผนแต่ละคน และกำหนดกรอบวิธีการดำเนินการของผู้บริหารแผน ตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ข้อ 10.3 อันจะเป็นการเพิ่มกระบวนการและขั้นตอนในการบริหารงานของผู้บริหารแผนชุดเดิมให้มีความยุ่งยากมากขึ้น และย่อมทำให้เกิดความล่าช้าในการพิจารณาตัดสินใจในการบริหารงานต่างๆ เนื่องจากผู้บริหารแผนทั้ง 2 คนที่ถูกเสนอเพิ่มเติมเข้ามา ปัจจุบันปฏิบัติงานอยู่ในส่วนภาครัฐ ไม่เคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารของบริษัทฯ มาก่อนอันจะทำให้การบริหารจัดการภายในไม่คล่องตัวเท่าเดิม ทั้งการเพิ่มผู้บริหารแผนยังเป็นการเพิ่มรายจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนผู้บริหารแผน เพราะข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามรายงานผลการปฏิบัติงานเป็นไปตามสาระสำคัญของแผนฟื้นฟูกิจการตั้งแต่ไตรมาสที่มีผู้บริหารแผน 3 คน ได้ปรากฏว่ามีค่าใช้จ่ายจากการชำระเงินค่าตอบแทนผู้บริหารแผนลดลงจากที่เคยชำระให้ผู้บริหารแผนเดิมเกือบครึ่งหนึ่ง การปรับลดค่าใช้จ่ายนับว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะสนับสนุนผลลลสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ ประกอบกับการดำเนินการตามแผนฟื้นฟื้นฟูกิจการ

ปัจจุบันดำเนินมาถึงปีที่ 4 ปรากฏว่าเป็นไปตามสาระสำคัญของแผนฟื้นฟูกิจการมาโดยตลอด ไม่เกิดเหตุผิดนัดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ดังนั้น การแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการโดยการเพิ่มผู้บริหารแผนในครั้งนี้ จึงยังไม่มีความจำเป็นเพื่อให้การฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ สำเร็จลุลลุล่ล่วงไปได้ตามพ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/63

ดังนั้น ศาลล้มละลายกลางจึงมีคำสั่งไม่เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการทั้งสามฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ คำสั่งศาลล้มละลายกลางดังกล่าว ไม่มีผลต่อการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทฯ แต่อย่างใด

Back to top button