วิกฤตต่อ! 12 เขต “กทม.” เจอฝุ่น PM2.5 อ่วม “หนองจอก” ทะลุ 93 มคก./ลบ.ม.

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร เผย 12 เขตในกรุงเทพมหานครมีค่าฝุ่น PM2.5 สูงสุด พบ “หนองจอก” ทะลุ 93 มคก./ลบ.ม. เตือนงดกิจกรรมกลางแจ้ง


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 25 มกราคม 2568 เวลา 07:00 น. โดยค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 73.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)

ทั้งนี้ 12 อันดับ ของค่าฝุ่น PM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร

1 เขตหนองจอก 93.6 มคก./ลบ.ม.

2 เขตมีนบุรี 91.8 มคก./ลบ.ม.

3 เขตคันนายาว 91.5 มคก./ลบ.ม.

4 เขตบางนา 89.9 มคก./ลบ.ม.

5 เขตคลองสามวา 89.7 มคก./ลบ.ม.

6 เขตหนองแขม 87.6 มคก./ลบ.ม.

7 เขตบึงกุ่ม 87.6 มคก./ลบ.ม.

8 เขตสะพานสูง 83.7 มคก./ลบ.ม.

9 เขตลาดกระบัง 83.7 มคก./ลบ.ม.

10 เขตวังทองหลาง 81.5 มคก./ลบ.ม.

11 เขตภาษีเจริญ 80.9 มคก./ลบ.ม.

12 เขตลาดพร้าว 80.3 มคก./ลบ.ม.

กรุงเทพเหนือ

66.4 – 80.3 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงเทพตะวันออก

67.5 – 93.6 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงเทพกลาง

61.1 – 81.5 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงเทพใต้

59 – 89.9 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงธนเหนือ

67 – 77.9 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรุงธนใต้

62.1 – 87.6 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง

ภาพรวม : คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 🟠

 ข้อแนะนำสุขภาพ:

คุณภาพอากาศระดับสีแดง: มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนทุกคน งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร

จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก

ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร

เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

Back to top button