โบรกแนะสอย 16 หุ้นเด่น เน้นน่าลงทุน ก.พ. นี้
โบรกแนะสอย หุ้นเด่น CRC- KTB- TTB- PTTEP-MTC- AWC-JMT-SISB-CPALL-BDMS-LH-MINT-OR -SCB- KBANK- BBL น่าลงทุนเดือน ก.พ.68 รับผลงานไตรมาส 4/67 แกร่งและปี 68 เติบโตต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา SET Index ย่อลงท่ามกลางภาวะตลาดโดยรวมที่อ่อนแอเกินคาดการณ์เนื่องมาจากปัจจัยลบ อย่างเรื่องความไม่แน่นอนเกี่ยวกับ สงครามการค้า หลังจากประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ส่งสัญญาณขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจาก แคนาดา, เม็กซิโก และ จีน รวมถึงปัจจัย กลุ่มเทคโนโลยีสหรัฐฯ เผชิญแรงขายหนักจากข่าวการเปิดตัว AI โดยบริษัทสัญชาติจีน ซึ่งค่อนข้างมีประสิทธิภาพดี
อย่างไรก็ตาม SET Index ยังมีแรงหนุนจากปัจจัยในประเทศอยู่เช่นเรื่องผลประกอบการไตรมาส 4/67 กลุ่มธนาคารออกมาดี และ รัฐบาลไทยออกมาตรการกระตุ้นการบริโภค อาทิ Easy e-Receipt และ แจกเงิน 1 หมื่นบาท เฟส 2 จำนวน 3 ล้านราย
ทั้งนี้ทาง “ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการรวบรวมหุ้นที่โดดเด่นสำหรับใช้เป็นกลยุทธ์ลงทุนเดือน ก.พ. 68 เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุน อาทิ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุผ่านบทเคราะห์ว่าเดือน ก.พ. คาดการณ์ SET Index จะพักฐานในระดับที่ค่อนข้างต่ำเนื่องจากปัจจัยในตลาดโลกยังเป็นลบและอาจยืดเยื้อ ขณะที่ รัฐบาลสหรัฐฯ ยืนยันว่าจะขึ้นภาษีสินค้าที่นำเข้าจาก แคนาดา, เม็กซิโก และ จีน แต่ยังไม่ได้ประกาศรายการสินค้าที่จะได้รับการยกเว้น
นอกจากนี้ ยังไม่แน่ว่าแต่ละประเทศเหล่านี้ จะดำเนินมาตรการตอบโต้สหรัฐฯ หรือไม่อย่างไร ปัจจัยที่ 2 ความไม่แน่นอนของทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐฯ กลับมามีอิทธิพลกับตลาดอีกครั้ง หลังจากผลการประชุม FOMC รอบล่าสุดแสดงว่า ธนาคารกลางสหรัฐ ไม่รีบร้อนที่จะขึ้นดอกเบี้ย
ปัจจัยที่ 3 การแข่งขันที่เข้มข้นมากขึ้นในอุตสาหกรรม AI อาจจะทำให้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลก รวมถึง DELTA ผันผวนหนักขึ้น ส่วนปัจจัยภายในประเทศ นักลงทุนควรติดตามผลประกอบการไตรมาส 4/67 บริษัทในภาคเศรษฐกิจ (real sector) รวมไปถึงตัวเลข GDP ไตรมาส 4/67
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายนักวิเคราะห์ยังคงแนะนำลงทุน 5 หุ้นที่โดดเด่น จากปัจจัยเฉพาะตัว อาทิ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC เนื่องจากเป็นช่วง High season และ ห้างสรรพสินค้าของบริษัทในอิตาลี และ ประเทศไทยปรับปรุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว CRC จึงคาดการณ์ว่ายอดขายสาขาเดิม SSSG ไตรมาส 4/67 จะออกมาดี และยังจะได้อานิสงส์จากมาตรการ Easy e-Receipt รวมถึงวัฏจักรขาลงของอัตราดอกเบี้ยด้วยจากการที่บริษัทมีหนี้ที่มีภาระดอกเบี้ย 9.34 หมื่นล้านบาท ซึ่งประมาณ 85% คิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัวและ อีก 15% คิดอัตราดอกเบี้ยคงที
อีกทั้งแนะนำ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB เนื่องจากสินเชื่อขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 4/67 ฝ่ายนักวิเคราะห์ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัว ของสินเชื่อปี 68 เป็น 5% และ ปี 69 อยู่ที่ 6% นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าสัดส่วนต้นทุนต่อรายได้จะลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 38.5% ในปี 68 และ 38.0% ในปี 69 ซึ่งจะเป็นโอกาสให้ KTB ปรับเพิ่มอัตราการจ่ายเงินปันผล (dividend payout ratio) ให้สูงขึ้นจากระดับปัจจุบันอยู่ที่ 30%
รวมถึง ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB ฝ่ายนักวิเคราะห์ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 68 ขึ้นอีก 3% จากปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ 1.) ปรับเพิ่มสมมติฐาน NIM ขึ้นอีก 0.02% เป็น 3.24% และ2.) ปรับลดอัตราการขยายตัวของสินเชื่อลงเหลือ 0.2% จากเดิม 2.5% นอกจากนี้ ฝ่ายนักวิเคราะห์ยัง re-rate PBV ของธนาคารเป็น 0.9 เท่า จาก 0.85 เท่า เพื่อสะท้อนถึง ROE ที่สูงกว่า 10% โดยมองว่าโครงการซื้อหุ้นคืนจะเป็นธีมการลงทุนหลักของ TTB ซึ่งจะทำให้ทั้งเงินปันผล และ ROE เพิ่มขึ้นทั้งคู่
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP หลังจากที่ผลประกอบการปี 67 ออกมาแข็งแกร่ง PTTEP ประกาศจ่ายเงินปันผลงวดครึ่งหลังปี 67 อยู่ที่ 5.125 บาท/หุ้น กำหนดขึ้น XD วันที่ 25 ก.พ.นี้ ซึ่งจะทำให้ยอดจ่ายเงินปันผลเต็มปีอยู่ที่ 9.625 บาท/หุ้น ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลระหว่างกาลอยู่ในเกณฑ์ดีที่ 4.00% มองว่าในฤดูจ่ายปันผลรอบนี้ หุ้น PTTEP จะดึงดูดความสนใจของนักลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มที่เน้นเงินปันผล
สุดท้าย แนะนำลงทุน บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) หรือ MTC ส่งสัญญาณว่าคุณภาพสินทรัพย์ดีขึ้นเล็กน้อย, สินเชื่อชะลอตัวลง และ margin ลดลงในไตรมาส 4/67 ซึ่งฝ่ายนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ากำไรสุทธิในไตรมาส 4/67 จะเพิ่มขึ้น 3% จากไตรมาสก่อนหน้า และ 20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่คาดว่ากำไรสุทธิ เต็มปีจะเพิ่มขึ้น 21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงแม้ว่าฝ่ายนักวิเคราะห์จะปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 68 ลง 3.5% จากการปรับสมมติฐาน yield สินเชื่อ และ credit cost แต่มองว่าต้นทุนการระดมทุนที่ลดลงมาในช่วงนี้จะเป็น ปัจจัยบวกสำหรับ MTC
นอกจากนี้ บริษัทหลักทรัพย์ เอเอสแอล จำกัด ยังระบุผ่านบทวิเคราะห์แนะนำหุ้นเด่นเดือน ก.พ.นี้ คือ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป จำกัด (มหาชน) หรือ AWC ผู้บริหารมีจะเพิ่มจำนวนห้องพัก 13-15% จากปีก่อน เป็น 6,771-7,000 ห้อง จากการเปิดโรงแรม Melia Pattaya, โรงแรม Marriott Resort Jomtien Beach และ Fairmont Bangkok Sukhumvit ซึ่งจะช่วยเร่งการเติบโต ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (RevPar) คาดการณ์เพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน
สำหรับธุรกิจเช่าและพาณิชย์ สัดส่วน 25% ของรายได้ และ 46% ของ EBITDA คาดการณ์ว่าจะมีรายได้และอัตราทำไรที่มั่นคง เนื่องจากธุรกิจนี้น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในปี 67 ซึ่งคาดกำไรสุทธิไตรมาส 4/67 เพิ่มขึ้นทั้งจากไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลบวกของช่วง High season ของฤดูกาลท่องเกี่ยวไทยสนับสนุนกำไรปกติปี 67 เติบโตก้าวกระโดด โดย Bloomberg คาดการณ์กำไรสุทธิ์อยู่ที่ 19 พันล้านบาก และ 2.5 พันล้านบาก ตามลำดับ ทั้งนี้ ให้ราคาเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 3.36 บาท
ขณะที่ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) หรือ JMT ผู้บริหารคาดการณ์แนวโน้มธุรกิจเติบโตต่อเนื่อง สำหรับปี 68 ตั้งเป้าหมายการเติบโตเน้นการซื้อหนี้กลุ่มลูกหนี้รายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดี โดย JMT จัดซื้อหนี้ปี 68 ที่ 2,000 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถซื้อหนี้ได้มูลค่ารวมถึง 10,000 ล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกปี 68 พร้อมบริหารจัดการ โดยเฉพาะในเรื่องของการตั้งสำรอง และการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดเก็บหนี้ ส่วนแนวโน้มไตรมาส 4/67 คาดการณ์ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ด้าน บริษัท เอสไอเอสบี จำกัด (มหาชน) หรือ SISB แนวโน้มไตรมาส 4/67 คาดกำไรสุทธิราว 240-250 ล้านบาก เติบโตต่อเนื่องทั้งจากไตรมาสก่อนหน้า และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อาจกำนิวไฮจากผลของการปรับค่าเทอมที่เพิ่มขึ้นเต็มไตรมาส และจำนวนนักเรียนที่ใกล้เคียงเป้าหมาย 4,600 คน ประกอบกับการควบคุมค่าใช้จ่ายที่มีประสิทธิภาพและผลของ Economies of scale สนับสนุนให้ EBITDA margin ปรับตัวขึ้นแตะระดับ 48.0-485%
ส่วนภาพทั้งปีจาก Bloomberg เท่ากับ 890 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซี่งบริษัทมแผยการประกาศงบไตรมาส 4/67 ในวันที่ 20 ก.พ.นี้ ซึ่งให้ราคาเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 16.40 บาท
ทั้งนี้ ผู้บริหารมีแผนเพิ่มจำนวนนักเรียนในปี 68 อยู่ที่ 5,000 คน และปี 69 อยู่ที่ 5,400 คน พร้อมทั้งเป้าหมายรายได้ได้ในปี 69 แตะระดับ 31 พันล้านบาก สำหรับปี 68 มีแผมปรับขึ้นค่าเทอม 3% และพยายามคงสัดส่วนต้นทุนคงที่ราว 46% ของรายได้รวมถึงขยายสาขาโรงเรียนใหม่แห่งที่ 7 (รังสิต) คาดเปิดทำการไตรมาส 4/69
โดยเจาะกลุ่มตลาด Mid to high ราคาที่ปรับตัวลงราว 17% ในเดือนม.ค. ได้สะท้อนปัจจัยลบการปรับขึ้นค่าเทอมใบปี 25 ที่น้อยกว่าปี 24 รวมถึงความกังวลจำนวนนักเรียบไม่เป็นไปตามเป้าหมายบริษัท โดยเฉพาะนักเรียบจากจีน แต่ฝ่ายนักวิเคราะห์ประเมินว่าตลาดได้ซึมซับข่าวลบไปพอสมควรแล้ว ให้ราคาเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 28.00 บาท
นอกจากนี้ นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางตลาดหุ้นไทยเดือนกุมภาพันธ์ว่า ภาพตลาดหุ้นไทยในเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่า SET Index มีโอกาสปรับตัวลงในช่วงแรก หลังในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ปธน.ทรัมป์ของสหรัฐฯลงนามเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากทั้ง แคนาดา เม็กซิโก ในอัตรา 25% และจีน ในอัตรา 10% ตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้
ปัจจัยดังกล่าวทำให้ไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง ได้พัฒนากลายมาเป็นสงครามการค้าย่อมๆ จากการตอบโต้ของประเทศเหล่านี้ ทั้งการเตรียมเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯของทั้งแคนาดา 25% และเม็กซิโก รวมถึงจีนที่เตรียมจะยื่นคำร้องต่อ WTO ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบทางอ้อมไปยังราคาน้ำมันดิบให้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากทั้งแคนาดาและเม็กซิโก ต่างก็เป็นแหล่งนำเข้าทางด้านเชื้อเพลิงที่สำคัญของสหรัฐฯ
อย่างไรก็ดี มองการปรับตัวลงของดัชนี SET ในช่วงแรกของเดือนน่าจะได้รับการประคับประคองบ้างจากกลุ่ม Oil & Gas ที่ได้ Sentiment เชิงบวกจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น รวมถึงกลุ่ม Domestic play ที่คาดว่าจะเห็นการรีบาวด์ขึ้นบ้าง หลังราคาลงไปแรงจากผู้นำกลุ่มเช่น บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL ในช่วงปลายเดือนก่อน ไม่นับรวมกับ Valuation ของดัชนีที่อยู่ต่ำเป็นทุนเดิม ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่ามีโอกาสที่หุ้นไทยจะปรับตัวแข็งแกร่งกว่าหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสงครามการค้าที่เกิดขึ้น
โดยประเมินแนวรับสำคัญของ SET เดือนนี้จะอยู่ที่จุดต่ำสุดที่เคยทำไว้แถวบริเวณ 1,270-1,280 จุด ซึ่งในเชิง Valuation ถือว่าน่าสนใจมาก เนื่องจากเป็นระดับเทียบเท่า PBV 1.22 เท่า เท่านั้น ถูกที่สุดเป็นอันดับ 3 นับตั้งแต่วิกฤติซับไพรม์ ในเชิงกลยุทธ์ แนะนำซื้อหุ้นที่บริเวณแนวรับดังกล่าวนี้ โดยเน้นไปที่กลุ่ม Domestic play ที่ค่อนข้างปลอดภัยจากประเด็นสงครามการค้าที่เกิดขึ้นนี้
สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นที่อาจต้องติดตามต่อในเดือนนี้ ได้แก่ 1.) ความเสี่ยงที่สงครามการค้าจะลากยาวจนก่อให้เกิดความกลัวเกี่ยวกับการกลับมาของเงินเฟ้ออีกครั้ง ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง อาจทำให้โอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยของธปท.ในเดือนนี้ลดลง,2.) การประกาศผลประกอบการบจ.ไตรมาส 4 ซึ่งหากออกมาแย่กว่าคาด อาจนำมาสู่การปรับลดประมาณการในตลาดอีกครั้ง, 3.) แรงขายสุทธิของนักลงทุนสถาบันในประเทศที่อาจเกิดขึ้น หากเริ่มมีความชัดเจนว่าตลท.จะมีการปรับปรุงการคำนวณดัชนีหุ้นไทยรูปแบบใหม่ไปเป็นวิธี Free-float adjusted market cap weighted และ 4.) ความเสี่ยงที่ MSCI อาจปรับลดน้ำหนักหุ้นไทย จนนำมาสู่แรงขายของนักลงทุนต่างชาติในระยะสั้น
สำหรับกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจในเดือนนี้ มองไปยัง 3 ธีมการลงทุนสำคัญได้แก่ 1.หุ้นกลุ่มค้าปลีกที่ราคาปรับลงมาแรง และได้ประโยชน์จากมาตรการ Easy E-Receipt รวมถึงการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น CPALL, 2.หุ้นขนาดใหญ่ที่ Valuation ลงมาอยู่ในโซน Trough เมื่อเทียบเคียงกับในอดีต เช่น บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด(มหาชน) หรือ BDMS, บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) หรือ LH, บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT, บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR
3.กลุ่มธนาคารที่จะได้ประโยชน์ หากดัชนี Free float adjusted market cap weighted index ได้รับความนิยมในตลาดสูงขึ้น ได้แก่ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK และ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL