“ทรัมป์” รีดภาษี! เขย่าเศรษฐกิจโลก ส่อกระทบตลาดการเงิน-ภาคอุตสาหกรรม

ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเก็บภาษีใหม่ 25% สำหรับสินค้าจากเม็กซิโกและแคนาดา ขณะที่สินค้าจากจีนอยู่ที่ 10% มีผลบังคับใช้วันที่ 4 ก.พ. 2568 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและจัดการปัญหายาเสพติด ขณะเดียวโบรกมองหวั่นกระทบตลาดการเงิน-ภาคอุตสาหกรรมในระยะสั้น กระตุ้นให้เกิดสงครามการค้ารอบใหม่ที่อาจฉุดรั้งเศรษฐกิจโลก


ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) ระบุผ่านบทวิเคราะห์วันนี้ (5 ก.พ.68) ว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเมื่อวันเสาร์ (1 ก.พ.) กำหนดอัตราภาษีนำเข้า 25% สำหรับสินค้าจากเม็กซิโกและแคนาดา และ 10% สำหรับสินค้าจากจีน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันอังคาร (4 ก.พ.) ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดสงครามการค้ารอบใหม่ที่อาจฉุดรั้งเศรษฐกิจโลก และผลักดันเงินเฟ้อให้สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ยกเลิกการเว้นภาษีนำเข้าจากประเทศเหล่านี้ ที่มีมูลค่าต่ำกว่า 800 ดอลลาร์ฯ ต่อคนต่อวัน (De minimis) ที่เคยเป็นช่องโหว่สำคัญในการนำเข้าสินค้ามายังสหรัฐฯ ด้วย

ทั้งนี้ ปธน.ทรัมป์ยืนยันจะคงมาตรการภาษีไว้จนกว่าจะสิ้นสุดภาวะฉุกเฉินแห่งชาติเกี่ยวกับปัญหายาเฟนทานิลและการเข้าเมืองผิดกฎหมายสหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าพลังงานจากแคนาดาในอัตราเพียง 10% เพื่อลดผลกระทบต่อโรงกลั่นน้ำมันและรัฐแถบมิดเวสต์ที่พึ่งพาพลังงานจากแคนาดา ขณะที่สินค้าพลังงานจากเม็กซิโกถูกเก็บในอัตรา 25%

อีกทั้งการเก็บภาษีเพิ่มเติมจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เวลา 00:01 น. ตามเวลาสหรัฐฯ ของวันอังคาร (4 ก.พ.) หรือตรงกับเวลา 12:01 น. ตามเวลาไทย

อย่างไรก็ดี ในเวลาต่อมา ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ ประกาศชะลอแผนการเรียกเก็บภาษี 25% ต่อสินค้านำเข้าจากเม็กซิโกออกไปอีก 1 เดือน หลังจากที่ประธานาธิบดีคลอเดีย เชนบาม ผู้นำเม็กซิโก ยินยอมที่จะส่งกำลังทหารจำนวน 10,000 นายไปประจำการตามแนวชายแดนตอนเหนือเพื่อป้องกันการลักลอบนำยาเสพติดจากเม็กซิโกเข้าสู่สหรัฐ โดยเฉพาะยาเฟนทานิล

ด้านจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดาเปิดเผยว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ได้ตกลงที่จะระงับการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากแคนาดาเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วัน โดยสำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า นายกรัฐมนตรีทรูโดประกาศผ่านทางแพลตฟอร์มเอ็กซ์ (X) ว่า “ผมเพิ่งคุยโทรศัพท์กับปธน.ทรัมป์ ซึ่งการพูดคุยเป็นไปด้วยดี” และยังระบุด้วยว่า การระงับมาตรการภาษีดังกล่าว เป็นการตอบสนองต่อข้อตกลงของแคนาดาที่จะจัดการไม่ให้มีการลักลอบนำสารเสพติดเฟนทานิลข้ามพรมแดนเข้าสู่สหรัฐฯ

ด้านจีนได้ออกมาตรการตอบโต้สหรัฐฯ ทันทีในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ได้แก่ 1.) กระทรวงการคลังจีนประกาศว่า จีนจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากสหรัฐฯ ในอัตรา 15% และเรียกเก็บภาษีนาเข้าน้ำมันดิบ อุปกรณ์ด้านการเกษตร และรถยนต์บางประเภท ในอัตรา 10% โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ.นี้ 2.) กระทรวงพาณิชย์จีนได้ออกมาตรการควบคุมการส่งออกโลหะ 5 ชนิดที่เป็นวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ พลังงานสะอาด และอุตสาหกรรมอื่นๆ โดยมาตรการใหม่นี้มีผลทันที

ทั้งนี้การควบคุมการส่งออกโลหะ 5 ชนิด ได้แก่ ทังสเตน เทลลูเรียม บิสมัท อินเดียม และโมลิบดีนัม รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตตั้งแต่แผงโซลาร์เซลล์ไปจนถึงกระสุนปืนใหญ่ 3) สานักงานบริหารการกากับดูแลตลาดแห่งชาติจีน (SAMR) ประกาศว่า จีนจะเริ่มสอบสวนบริษัทกูเกิล ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ กรณีต้องสงสัยละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดทางการค้า

ขณะเดียวกัน จีนยังได้ยื่นคำร้องต่อกลไกระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อคัดค้านการตัดสินใจของสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ล่าสุดยังได้ตัดสินใจขึ้นบัญชีบริษัทพีวีเอช คอร์ป (PVH Corp.) และอิลลูมินา อิงค์ (Illumina, Inc.) ของสหรัฐฯ ในฐานะองค์กรที่ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งจีนระบุว่า ทั้งสองบริษัทได้ละเมิดหลักการการค้าที่เป็นปกติในตลาด บ่อนทาลายการค้าทั่วไปกับบริษัทจีน และดำเนินมาตรการเลือกปฏิบัติต่อบริษัทจีน ซึ่งส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อสิทธิและผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของบริษัทเหล่านั้น

สำหรับสินค้าสำคัญที่สหรัฐฯ มีการนำเข้าจากแคนาดา ได้แก่ น้ำมัน พลังงาน และสินค้าเกษตร ขณะที่ในส่วนของเม็กซิโกมีสินค้านาเข้าหลัก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร และสินค้าอุปโภคบริโภค โดยทั้งสองประเทศมีสัดส่วนประมาณ 28% ของการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ ในปีล่าสุด ขณะที่การนำเข้าสินค้าจากจีนมีสัดส่วนประมาณ 13.5% ของการนำเข้าสินค้า ดังนั้น ตลาดการเงินคาดว่า อุตสาหกรรมยานยนต์จะได้รับผลกระทบหนัก เนื่องจากมาตรการภาษีใหม่จะส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคที่ชิ้นส่วนต้องข้ามพรมแดนหลายครั้งก่อนประกอบเป็นรถยนต์สำเร็จรูป

อีกทั้งการประกาศเก็บภาษีดังกล่าวเป็นการเริ่มต้น Trade Wars ในยุค Trump 2.0 เพื่อนำภาคการผลิต โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมกลับมาผลิตที่สหรัฐฯ อีกครั้ง ตลอดจน ปกป้องอุตสาหกรรมการเกษตรในประเทศ ขณะที่ต้องจับตาว่าทรัมป์จะมีการประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศกลุ่มอื่นๆ อย่างไร ซึ่งคงจะถูกทยอยประกาศออกมาในช่วงที่สหรัฐฯ อยู่ระหว่างการศึกษาประเด็นการค้าที่ไม่เป็นธรรม ที่มีกาหนดสิ้นสุดโครงการในวันที่ 1 เม.ย. นี้

ประกอบกับประเมินผลกระทบต่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าเงินบาทไทยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ ในอาเซียน โดยดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงินจากต่างประเทศ โดยในวันจันทร์ที่ผ่านมา (3 ก.พ.) พุ่งขึ้นไปแตะสูงสุดที่ระดับ 109.87 จากระดับ 108.5 ในวันที่31 ม.ค. ก่อนที่จะปรับลดลงมาอยู่ที่ 108.53 (as of 4:00 PM, 4 ก.พ.)

ส่วนเงินบาทเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงสู่ระดับ 33.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ จากระดับ 33.79 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯในวันที่ 31 มกราคม ก่อนการลงนามคำสั่งดังกล่าว ขณะที่ล่าสุด เงินบาทกลับมาแข็งค่า เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักหลังตลาดคลายความกังวล เกี่ยวกับผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้าได้ชั่วคราว จากความคืบหน้าในการเจรจาล่าสุดที่ทางสหรัฐฯ ชะลอเวลาปรับขึ้นภาษีนำเข้า สินค้าจากเม็กซิโกและแคนาดาออกไปอีก 1 เดือน ดังกล่าวข้างต้น

จากคาสั่งดังกล่าว คาดว่า อาจทำให้ทิศทางของดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยเฉพาะกับสกุลเงินต่างๆ ในอาเซียน รวมทั้งบาทไทยซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากการไหลกลับของเงินทุนไปสู่สินทรัพย์ปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เงินเยน หรือทองคำในระหว่างที่เกิดภาวะความไม่แน่นอนของตลาดการเงินโลก อย่างไรก็ดี การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะเป็นระยะสั้น ๆ เท่านั้น เพราะตลาดจะให้น้ำหนักกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) และตัวเลขพื้นฐานเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ อัตราการว่างงาน การจ้างงานนอกภาคการเกษตร อัตราเงินเฟ้อ เป็นต้น

อีกทั้งประเมินทิศทางการส่งออก กรณีจีนตอบโต้สหรัฐฯ ด้วยการควบคุมการส่งออกโลหะ 5 ชนิด โดยมองว่า แม้ไม่ถึงขั้นระงับการส่งออก แต่ก็คาดว่าตัวเลขการส่งออกจะร่วงหนัก เพราะบริษัทต่าง ๆ ต้องใช้เวลาขอใบอนุญาตส่งออกซึ่งอาจใช้เวลาราว 6 สัปดาห์ และหากพิจารณาจากการควบคุมการส่งออกรอบก่อน ๆ นั้นชี้ว่าการส่งออกน่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัวเมื่อได้ใบอนุญาตครบ ทั้งนี้สหรัฐฯ พึ่งพาการนำเข้าแร่กลุ่มนี้ หลังจากเลิกทำเหมืองทังสเตนไปตั้งแต่ปี 2558 และหยุดผลิตบิสมัทบริสุทธิ์มาตั้งแต่ปี 2540

ขณะเดียวกัน ในกรณีที่มีการขึ้นภาษีหรือตั้งกำแพงภาษีกับประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากเม็กซิโก แคนาดา และจีน โดยมองว่าไทยจะได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องจับตาดูเนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน (ทั้งนี้ ดุลการค้าของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ ในปี 2567 อยู่ที่ 35,427.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสหรัฐฯ เป็นประเทศที่เกินดุลการค้ากับไทยในอันดับที่ 1 มีสัดส่วนร้อยละ 34.1 ของมูลค่าเกินดุลรวม) สำหรับผลกระทบต่อธุรกิจและการส่งออกต่าง ๆ

โดยแบ่งเป็น ผลกระทบทางตรง อาทิ ยางพารา, ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง, กุ้งสด แช่เย็น และแช่แข็ง, เครื่องใช้ไฟฟ้า,เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ, พลาสติก, ธุรกิจน้ำมัน เป็นต้น และผลกระทบทางอ้อม อาทิเหล็ก, รถยนต์ไฟฟ้า (EV) เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถอ่านรายละเอียดต่อได้ที่ Research Note: Assessing the impact on businesses from Donald Trump’stax hike policies ( 24 มกราคม 2565)

นอกจากนี้ประเมินทิศทางราคาน้ำมันและก๊าซปรับตัวสูงขึ้นในวันจันทร์ (3 ก.พ.) หลังจากปธน.ทรัมป์ได้ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (1 ก.พ.) ขณะที่ โกลด์แมนคาดการณ์ว่า การนำเข้าน้ำมันทางทะเลจากแคนาดาและเม็กซิโกจะถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังตลาดอื่น ขณะที่สหรัฐฯ จะทดแทนซัพพลายเหล่านั้นด้วยน้ำมันดิบจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก), ละตินอเมริกา และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากยุโรป โกลด์แมนยังคงคาดการณ์ราคาน้ำมัน

สำหรับปี 2568-2569 ไว้ที่ระดับเดิม โดยมองว่าผลกระทบต่อราคาจะมีเพียงเล็กน้อยในระยะสั้น เนื่องจากการผลิตและอุปสงค์น้ำมันทั่วโลกยังคงมีเสถียรภาพ อีกทั้งนักลงทุนในตลาดได้ซึมซับผลกระทบจากภาษีน้ำมันแคนาดาไปแล้วก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โกลด์แมนได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาน้ำมันเบรนท์สำหรับปี 2568 สู่ระดับ 78 ดอลลาร์/บาร์เรล จากเดิมที่ระดับ76 ดอลลาร์/บาร์เรล และปรับเพิ่มคาดการณ์ราคาสำหรับปี 2569 เป็น 73 ดอลลาร์/บาร์เรล จากเดิมที่ระดับ 71 ดอลลาร์/บาร์เรล

Back to top button