![](https://media.kaohoon.com/wp-content/uploads/2023/04/IRPC_2023-04-04.jpg)
IRPC เซ่นสต๊อกลอส-ตั้งดอยค่า ฉุดปี 67 ขาดทุน 5.1 พันล้านบาท
IRPC เปิดงบฯปี 67 ขาดทุนสุทธิ 5.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 77% จากปีก่อน เซ่นรายได้ลดลง 6% ตามราคาน้ำมัน พ่วงขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันกว่า 2,496 ล้านบาท และ พร้อมกับมีการบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าและตัดจำหน่ายทรัพย์สินจำนวน 566 ล้านบาท
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2567 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ขาดทุนสุทธิเพิ่มขึ้น ดังนี้
บริษัทฯ รายงานผลการกำไรปี 2567 มีผลขาดทุนสุทธิ 5,193 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77.65% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขาดทุนสุทธิ 2,923 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจาก บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิสำหรับปี 2567 อยู่ที่ 281,711 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีสาเหตุจากปริมาณขายลดลงร้อยละ 4 และราคาขายเฉลี่ยลดลดลงร้อยละ 2 ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง
สำหรับธุรกิจปิโตรเลียมมีกำไรขั้นต้นจากการกลั่นตามราคาตลาด (Market Gross Refining Margin: Market GRM) ที่ลดลงจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์เทียบกับราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยเฉพาะส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซล และน้ำมันเบนซินที่อ่อนตัวลงจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตใหม่ของโรงกลั่นในแถบประเทศตะวันออกกลางและทวีปแอฟริกา
ขณะที่ ธุรกิจปิโตรเคมี มีกำไรขั้นต้นจากการผลิดตามราคาตลาดของกลุ่มธุรกิจกิจปีโตรเคมี (Market Product to Feed: Market PTF) ที่เพิ่มขึ้นจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีกับราคาแนฟทาปรับตัวเพิ่มขึ้น ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลจีน
ในขณะที่ กลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคมีกำไรขั้นต้นค่อนข้างคงที่จากการขายไฟฟ้าและไอน้ำ ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาด (Market GIM) อยู่ที่ 18,355 ล้านบาท หรือ 7.24 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 5
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปี 2567 ปรับตัวลดลงจากปีก่อน โดยมีปัจจัยกดดันจากความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจจีน สหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ชะลอตัว รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งในหลายประเทศ อาทิ รัสเซีย-ยูเครน อิสราเอล-อิหร่าน ซึ่งการลดลงของราคาน้ำมันดิบส่งผลให้เกิดการขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน 2,496 ล้านบาท หรือ 0.98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ขณะที่ มีการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่ได้รับ (กลับรายการ NRV) อยู่ที่ 953 ล้านบาท หรือ 0.38 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และกำไรจากการบริหารความเสี่ยงน้ำมันที่เกิดขึ้นขึ้นจริง (Realized Oil Hedging) อยู่ที่ 879 ล้านบาท หรือ 0.35 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากรายการดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทฯ บันทึกขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสุทธิ์ (Net Inventory Loss) รวม 664 ล้านมาท หรือ 0.25 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลให้บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากจากการผลิลทางบัญชี (Accounting GIM) อยู่ที่ 17,691 ล้านบาท หรือ 6.99 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 3 จากปีก่อน
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) จำนวน 4,476 ล้านบาท ลดลง 1,278 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 22
โดยในปี 2567 บริษัทฯ บันทึกค่าเสื่อมราคา อยู่ที่ 9,140 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปีก่อน เป็นผลจากสินทรัพย์ที่เพิ่มจาก โครงการ Ultra Clean Fuel (UCF) ที่มีการผลิตเชิงพาณิชย์ในเดือนเมษายน 2567 ประกอบกับมีต้นทุนทางการเงินสุทธิอยู่ที่ 2,427 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากเงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้นตามตลาด
นอกจากนี้ บริษัทฯ บันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าและตัดจำหน่ายทรัพย์สิน จำนวน 566 ล้านบาท โดยหลักมาจากบันทึกด้อยค่าเงินลงทุนของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม และบันทึกการกลับรายการด้อยค่าที่ดิน
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีกำไรจากการลงทุนอยู่ที่ 989 ล้านบาท โดยหลักๆ เพิ่มขึ้นจากส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนใน บริษัท ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล เอสเตท ระยอง จำกัด (WHAIER) ที่เริ่มรับรู้รายได้จากการจำหน่ายที่ดินตั้งแต่ไตรมาส 2/2567 จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ในปี 2567 บริษัทฯ บันทึกผลการด่าเนินงานขาดทุนสุทธิ 5,193 ล้านบาท มากกว่าปี 2566 ที่ร้อยละ 78
นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบไตรมาส 4/2567 กับไตรมาส 4/2566 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิ ลดลง 12,259 ล้านบาท หรือร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากราคาขายเฉลี่ยลดลงร้อยละ 14 ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลง และปริมาณขายลดลงร้อยละ 2
สำหรับธุรกิจมีโตรเลียมมี Market GRM ที่เพิ่มขึ้นจากส่วนต่างราคาน้ำมันเตาและแนฟทาเทียบกับราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้นขึ้น ประกอบกับกันทุน Crude Premium ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่วน ธุรกิจนี่โตรเคมี Market PTF ที่เพิ่มขึ้นตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีน ในขณะที่กลุ่มธรกิจสาธารณูปโภคมีกำไรขั้นต้นค่อนข้างคงที่ ส่งผลให้บริษัทฯ มี Market GIM เพิ่มขึ้น 2,903 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน
นอกจากนี้ บริษัทฯ บันทึก Net Inventory Gain อยู่ที่ 648 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 4/2566 ที่บันทึก Net Inventory Loss 1,986 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทฯ มี Accounting GIM อยู่ที่ 6,270 ล้านมาท เพิ่มขึ้น 5,537 ล้านบาท เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ บริษัทฯ มี EBITDA อยู่ที่ 3,200 ล้านบาท เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/2566 ที่มีผลขาดทุน EBITDA อยู่ที่ 2,256 ล้าบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ บันทึกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่างๆ รวมทั้งรายการอื่นๆ ตามที่กล่าวถึงข้างดันส่งผลให้ในไตรมาส 4/2567 บริษัทฯ บันทึกผลการดำเนินงานขาดทุนสุทธิ อยู่ที่ 1,125 ล้านบาท น้อยกว่าไตรมาส 4/2566 ที่ร้อยละ 67
สำหรับปี 2567 บริษัทฯ มีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี (Accounting GIM) อยู่ที่ 17,691 ล้านบาท หรือ 6.99 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลง 530 ล้านมาท หรือ 0.45 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากปีก่อน เนื่องจาก Market GIM ลดลง 989 ล้านบาท หรือ 0.66 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ Net Inventory loss ในสัดส่วนที่น้อยกว่าปีก่อนที่ 459 ล้านบาท หรือ 0.21 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดย Net Inventory Loss ในปี 2567 ประกอบด้วยขาดทุนจากสด็อกน้ำมันอยู่ที่ 2,496 ล้านบาท หรือ 0.98 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ขณะที่ มีการกลับรายการปรับลดมูลค่าสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่ได้รับ (กลับรายการ NRV) อยู่ที่ 953 ล้านบาท หรือ 0.38 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และกำไรจาก Reallized Oil Hedging จำนวน 879 ล้านบาท หรือ 0.35 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล สำหรับปี 2567 บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายด่าเนินงาน 12,912 ลำนบาท เพิ่มขึ้น 429 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายพนักงาน
อีกทั้งปี 2567 บริษัทฯ มีค่าเสื่อมราคาจำนวน 9,140 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 474 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นผลจากสินทรัพย์ที่เพิ่มจากโครงการ Ultra Clean Fuel (UCF) ที่มีการผลิดเชิงพาณิชย์ในเดือน เมษายน 2567 นอกจากนี้ บริษัทฯ มีต้นทนทางการเงินสุทธิ์จำนวน 2,427 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 406 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากเงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น และอัดราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ปรับเพิ่มขึ้นตามตลาด