เปิด 6 หุ้น “ไฟแนนซ์” รับลูก ครม. ขยายโครงการ “คุณสู้ เราช่วย”

เปิด 6 หุ้น “ไฟแนนซ์” รับลูก ครม. ไฟเขียวขยายโครงการ "คุณสู้ เราช่วย"  ให้ลูกหนี้รายย่อยของ Non-Banks ภายใต้ 2 มาตรการ มารตรการ "จ่ายตรง คงทรัพย์" และ มาตรการ "จ่าย ปิด จบ"


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (13 ก.พ.68) จากกรณีที่ประชุมครม.เห็นชอบขยายโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ให้ลูกหนี้รายย่อยของ Non-Banks ภายใต้โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” 2 มาตรการ ดังนี้

1) มารตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” ช่วยลูกหนี้ค้างชำระ ณวันที่ 31 ต.ค. 67 ของ Non-Banks ในตัวสินเชื่อได้แก่  สินเชื่อรถยนต์วงเงินไม่เกิน 800,000 บาท, สินเชื่อรถจักรยานยนต์วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท, สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มีวงเงินรวมไม่เกิน 100,000 หรือไม่เกิน 200,000 บาท ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขแต่ละแห่ง, สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล ที่มีวงเงินรวมไม่เกิน 20,000 บาท และสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ที่มีวงเงินรวมไม่เกิน 50,000 บาท

โดยมาตรการนี้ จะลดภาระผ่อนชำระ 3 ปี เหลือเพียง 70% และลดดอกเบี้ยให้ 10% ตลอดระยะเวลา 3 ปี โดยพักดอกเบี้ยส่วนที่ลดให้ และยกเว้นให้เลย หากลูกหนี้ทำตามเงื่อนไขได้

2) มาตรการ “จ่าย ปิด จบ” ช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ Non-Banks บุคคลธรรมดาที่เป็นหนี้เสีย แต่มียอดคงค้างหนี้ไม่เกิน 5,000 บาท โดยให้ลูกหนี้ชำระหนี้เพียง 10% เพื่อปิดหนี้ได้ทันที

ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง จัด Soft Loan สำหรับ Non-Banks ของธนาคารออมสิน วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท เป็นเวลา 3 ปี และกำหนดให้วงเงินสินเชื่อของ Non-Banks แต่ละรายขึ้นอยู่กับการสูญเสียรายได้ของ Non-Banks แต่ละแห่ง ที่เกิดจากการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ครั้งนี้

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ PST ระบุว่า มีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มการเงิน สอดรับกับดัชนีกลุ่มการเงินที่ปรับตัวขึ้นได้ดีในช่วงบ่ายวันที่ 11 ก.พ. 68 ที่ผ่านมา ส่งผลให้วันนี้ปรับตัวขึ้นไปแล้วกว่า 2.7% ส่วนหุ้นที่ทางฝ่ายมองจะได้รับประโยชน์จากมาตรการข้างต้น ได้แก่ SAWAD, MTC, THANI, AEONTS ขณะที่ KTC และ TIDLOR ทำผ่านเกณฑ์ของธนาคารที่ออกมาก่อนหน้า เนื่องจากเป็นบริษัทลูกของธนาคาร

ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน)  ระบุว่า จากกรณี ธปท. ขยายระยะเวลาการสมัครเข้าโครงการฯ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2568 จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เพื่อเพิ่มโอกาสที่ลูกหนี้จะได้รับความช่วยเหลือและสามารถกลับมาชาระหนี้ได้ตามปกติในระยะข้างหน้าเมื่อรายได้ฟื้นตัว

ธปท. ร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน และผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank อื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยตามโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เพิ่มเติม โดยผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank จำนวน 2 ราย ที่มีคุณสมบัติและผ่านการพิจารณา ได้แก่ (1) บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จากัด (มหาชน)  หรือ MTC และ (2) บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จากัด (มหาชน) หรือ AEONTS  นั้น จะได้รับการสนับสนุน Soft loan จากธนาคารออมสิน เพื่อลดต้นทุนในการส่งผ่านความช่วยเหลือไปยังลูกหนี้ และ Non-bank ทั้งสองรายนี้ จะร่วมสนับสนุนเม็ดเงินในการช่วยเหลือลูกหนี้ด้วย โดยการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในส่วน

ของ Non-bank ประกอบด้วย 2 มาตรการ ดังนี้

มาตรการที่ 1 “ลดผ่อน ลดดอก” เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยด้วยการลดภาระค่างวดและภาระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 ปี (1) สินเชื่อวงเงินผ่อนชาระ (installment loan) ได้แก่ สินเชื่อจานาทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อจานาทะเบียนรถจักรยานยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัลและสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ (นาโนไฟแนนซ์) โดยให้ชาระค่างวดขั้นต่ำที่ 70% ของค่างวดเดิม

(2) สินเชื่อวงเงินหมุนเวียน (revolving credit) ได้แก่ สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันประเภทบัตรกดเงินสด โดยให้แปลงเป็นสินเชื่อแบบผ่อนชาระรายเดือน ชาระค่างวดไม่ต่ำกว่า 2%ของยอดคงค้างสินเชื่อก่อนทาสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ตามมาตรการรวมทั้งลูกหนี้จะได้รับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 10% จากอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม โดยต้องเป็นลูกหนี้สินเชื่อที่ทาสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567โดยมีสถานะบัญชีและคุณสมบัติตามที่กาหนด รวมถึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการ เช่นลูกหนี้ต้องไม่ก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มในช่วง 12 เดือนแรกที่เข้าร่วมมาตรการ

มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ” เป็นการช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้รายย่อยที่เป็นหนี้เสีย (สถานะ NPL) และมียอดคงค้างหนี้ไม่สูง (ไม่เกิน 5,000 บาท) ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรน โดยลูกหนี้จะชาระหนี้บางส่วนเพื่อให้ สามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ทาให้ลูกหนี้สามารถเริ่มต้นใหม่ได้

บล.กรุงศรีระบุอีกว่ามีมุมมองเป็นกลางต่อการเพิ่มมาตรการของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ โดยผู้ที่เข้าร่วม คือ MTC และ AEONTS เพราะ 1) มองว่าลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการจะมีสัดส่วนน้อย จากลูกหนี้เข้าโครงการแล้วไม่สามารถก่อหนี้เพิ่มได้ในช่วง 12 เดือนแรก ซึ่งลูกหนี้กลุ่ม Non-bank เป็นกลุ่มที่ต้องการสินเชื่อหมุนเวียน 2) คาดว่ารายได้ดอกเบี้ย (NII) ของสถาบันการเงินที่หายไปจากการช่วยเหลือลูกหนี้ จะถูกชดเชยกับค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) และหนี้ เสีย NPL ที่ลดลง

สำหรับโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” เพิ่มเติม มาตรการที่ 1 “ลดผ่อน ลดดอก” เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย ได้แก่ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์สินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล และสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ด้วยการลดภาระค่างวด ( ช าระค่างวดขั้นต่ำที่ 70% ของค่างวดเดิม สำหรับสินเชื่อวงเงินผ่อนช าระ และช าระค่างวดไม่ต่ำกว่า 2% ของยอดคงค้างสินเชื่อก่อนทำสัญญาสำหรับสินเชื่อวงเงินหมุนเวียน) และภาระดอกเบี้ย (ลดดอกเบี้ยลง 10% จากสัญญาเดิม)เป็นระยะเวลา 3 ปี และ มาตรการที่ 2 “จ่าย ปิด จบ” เป็นการช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้รายย่อยที่เป็นหนี้เสีย ได้แก่ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์ สินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล สินเชื่อนาโนไฟแนนซ์และสินเชื่อบัตรเครดิต และมียอดคงค้างหนี้ไม่เกิน 5,000 บาท โดยลูกหนี้จะช าระหนี้บางส่วนเพื่อให้สามารถปิดจบหนี้ได้

ผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ โดยผู้ที่เข้าร่วม คือ MTC และ AEONTS จะได้รับการสนับสนุน Soft loan จากธนาคารออมสิน คาดอัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี เพื่อลดต้นทุนในการส่งผ่านความช่วยเหลือไปยังลูกหนี้ และ Non-bank ทั้งสองรายนี้ จะร่วมสนับสนุนเม็ดเงินในการช่วยเหลือลูกหนี้ด้วย เบื้องต้นคาดจะได้รับเงิน

สนับสนุนจากทาง ธปท. และกระทรวงการคลัง 90% และ Non-bank สนับสนุน 10%

โดยสินเชื่อที่เข้าข่ายในโครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ของ MTC คิดเป็น 78% และ AEONTS คิดเป็น 92%

ทั้งนี้ คงคำแนะนำ NEUTRAL ต่อกลุ่ม Bank คง KBANK ราคาเป้าหมาย 178 บาท  และ KTB ราคาเป้าหมาย 24 บาท เป็น Top Pick

นอกจากนี้ คงคำแนะนำ NEUTRAL ต่อกลุ่ม Consumer Finance คง MTC ราคาเป้าหมาย  58 บาท เป็น Top Pick

 

Back to top button