อุตุฯ เผย “อาฟเตอร์ช็อก” แผ่นดินไหวเมียนมาแล้ว 27 ครั้ง ระดับความรุนแรงลดลง

กรมอุตุนิยมวิทยารายงาน การเกิดแผ่นดินไหวตาม (Aftershock) แล้ว 27 ครั้ง ระดับความรุนแรงลดลง แต่ทั้งนี้ขอประชาชนติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด


กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยารายงาน การเกิดแผ่นดินไหวตาม (Aftershock) ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก กรมอุตุนิยมวิทยา โดยระบุว่า ตามที่เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.20 น. ศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ล่าสุดมี อาฟเตอร์ช็อก แล้ว 27 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1 เวลา 13.32 น. ขนาด 7.1

ครั้งที่ 2 เวลา 13.45 น. ขนาด 5.5

ครั้งที่ 3 เวลา 14.24 น. ขนาด 4.0

ครั้งที่ 4 เวลา 14.37 น. ขนาด 5.2

ครั้งที่ 5 เวลา 14.42 น. ขนาด 3.9

ครั้งที่ 6 เวลา 14.50 น. ขนาด 3.5

ครั้งที่ 7 เวลา 14.57 น. ขนาด 4.7

ครั้งที่ 8 เวลา 15.21 น. ขนาด 4.0

ครั้งที่ 9 เวลา 15.45 น. ขนาด 3.7

ครั้งที่ 10 เวลา 15.52 น. ขนาด 3.8

ครั้งที่ 11 เวลา 16.06 น. ขนาด 4.2

ครั้งที่ 12 เวลา 16.11 น. ขนาด 3.8

ครั้งที่ 13 เวลา 16.26 น. ขนาด 4.3

ครั้งที่ 14 เวลา 16.30 น. ขนาด 4.5

ครั้งที่ 15 เวลา 16.55 น. ขนาด 4.9

ครั้งที่ 16 เวลา 17.28 น. ขนาด 3.1

ครั้งที่ 17 เวลา 17.30 น. ขนาด 4.1

ครั้งที่ 18 เวลา 17.50 น. ขนาด 3.0

ครั้งที่ 19 เวลา 17.59 น. ขนาด 4.0

ครั้งที่ 20 เวลา 18.10 น. ขนาด 3.3

ครั้งที่ 21 เวลา 18.16 น. ขนาด 3.7

ครั้งที่ 22 เวลา 18.30 น. ขนาด 4.2

ครั้งที่ 23 เวลา 18.57 น. ขนาด 2.9

ครั้งที่ 24 เวลา 19.02 น. ขนาด 4.1

ครั้งที่ 25 เวลา 19.09 น. ขนาด 2.4

ครั้งที่ 26 เวลา 19.13 น. ขนาด 2.9

ครั้งที่ 27 เวลา 19.22 น. ขนาด 5.5

ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ยังชี้แจ้งว่า ภัยแผ่นดินไหวยังคงเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ การป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหวที่มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องได้รับข้อมูลความสั่นสะเทือนของพื้นดินที่ถูกต้องจากระบบตรวจวัดที่มีมาตรฐานสากล ได้แก่ สถานีตรวจวัดอัตราเร่งของพื้นดิน สถานีวัดการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก และสถานีวัดระดับน้ำทะเล ที่ติดตั้งอยู่ทั่วประเทศไทย เพื่อตรวจวัด เฝ้าระวัง และให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องภัยแผ่นดินไหวในประเทศอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง ตลอดจนแจ้งเตือนภัยให้กับพื้นที่เสียงภัยกรณีเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ในทะเล เมื่อตรวจพบความผิดปกติก็จะสามารถส่งข้อมูลแจ้งเตือนหน่วยงานหลักได้ทันที

สำหรับประเทศไทยพบว่ามีโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวได้น้อย แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น สิ่งที่ประชาชนสามารถทำได้เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยแผ่นดินไหว คือการติดตามข่าวสารด้านภัยธรรมชาติอยู่เสมอๆ เพื่อรับข้อมูลได้รวดเร็ว หากเกิดเหตุขึ้นก็จะสามารถเตรียมตัวอพยพได้ทันท่วงที

Back to top button