PTECH เลื่อนแจงปมงบปี 67 ทรัพย์สินสูญหาย 89 ล้านบาท เดดไลน์ 10 เม.ย.นี้

PTECH ชี้แจงงบปี 67 หลังปมทรัพย์สินสูญหาย 89 ล้านบาท มีผลขาดทุนเครดิต 101 ล้านบาท ขอเลื่อนแจงข้อมูลเป็นภายในวันที่ 10 เม.ย.68


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (4 เม.ย.68) บริษัท พลัส เทค อินในเวชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PTECH แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าได้ประกาศชี้แจงข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567 ผ่านระบบ เผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 3 เมษายน 2568 ตามมติความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 10 เมษายน 2568 ในประเด็นมูลค่าการสำรองทรัพย์สินสูญหาย และมีข้อสังเกตเกี่ยวกับความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานต่อเนื่องของกลุ่มบริษัท

บริษัทฯ ขอเรียนแจ้งให้ทราบว่า เนื่องจากบริษัทฯ จะมีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทในวันที่ 9 เมษายน 2568 เพื่อให้การขี้แจงมีความสมบูรณ์และสอดคล้องกับมติและความเห็นจากคณะกรรมการทั้งสองชุด

ดังนั้น บริษัทฯ จึงขอเลื่อนการชี้แจงข้อมูลในงบการเงินประจำปี 2567 ตามที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ขี้แจงเพิ่มเติมจากกำหนดการเดิม คือ วันที่ 3 เมษายน 2568 เป็นวันที่ 10 เมษายน 2568 ซึ่งจะเป็นการรับรองข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนที่สุด เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลและการตัดสินใจที่บริษัทฯ จะนำเสนอเป็นไปตามข้อเท็จจริงและได้รับ

ก่อนหน้านี้ทางบริษัทฯ รับคำสั่งจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ชี้แจ้งเรื่อง งบการเงินประจำปี 2567 ประเด็นมูลค่าการสำรองทรัพย์สินสูญหายผ่านระบบข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 3 เมษายน 2568 สำหรับความเห็นของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบขอให้ชี้แจงภายในวันที่ 10 เมษายน 2568 นอกจากนี้ขอให้ผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลงบการเงินและติดตามคำชี้แจงบริษัท

ขณะที่ ข้อมูลสำคัญในงบการเงินประจำปี 2567 คือ

1.ตู้ขายสินค้าอัตโนมัติสูญหายและไม่ตรงกับทะเบียนทรัพย์สิน รวม 89 ล้านบาท (32% ของตู้ทั้งหมด)

1.1 บันทึกขาดทุนจากการตัดจำหน่าย 12 ล้านบาท เนื่องจากตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ 184 ตู้ สูญหาย

โดยบริษัทอยู่ระหว่างดำเนินการทางกฎหมาย

1.2 รับรู้สำรองค่าใช้จ่ายทรัพย์สินสูญหาย 77 ล้านบาท จากการพบตู้ขายสินค้าอัตโนมัติ 1,171 ตู้ ที่ไม่ตรงกับรายละเอียดทรัพย์สิน ซึ่งยังไม่สามารถอธิบายถึงสาเหตุได้

2.ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นรวม 101 ล้านบาท ขณะที่ปีก่อนอยู่ที่ 2 ล้านบาท  โดยตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนของลูกหนี้ค่าบริหารจัดการซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มของผู้ถือหุ้นใหญ่ (บมจ. สบาย เทคโนโลยี) จำนวน 60 ล้านบาท รวมถึงผลขาดทุนของลูกหนี้การค้าสูงกว่ายอดลูกหนี้การค้าที่เกินกำหนดชำระ

Back to top button