ช้อป 7 หุ้นพื้นฐานเด่นเกินห้ามใจ!ชูผันผวนต่ำ-P/E ต่ำ แถมปันผลสูง
ช้อป 7 หุ้นพื้นฐานเด่นเกินห้ามใจ! ชูผันผวนต่ำ-P/E ต่ำ แถมปันผลสูง
“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” รวบรวมข้อมูลหุ้นที่น่าลงทุนและกลยุทธ์การลงทุนจากบทวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส มานำเสนอโดยบทวิเคราะห์ครั้งนี้ได้คัดกลุ่มหุ้นที่น่าลงทุนไว้ 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ,P/E ต่ำ 2.กลุ่มที่สองหุ้นผันผวนต่ำ,P/E ต่ำ และปันผลสูงกว่า 4.75%
โดย บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า การฟื้นตัวของดัชนีที่แรงและเร็วเมื่อวันศุกร์ทำให้คาดว่าการฟื้นตัวต่อจากนี้เริ่มมีกรอบจำกัด โดยดัชนี 1,500 จุด ยังเป็นอุปสรรคระยะสั้น เพราะนอกจากตลาดยังขาดปัจจัยหนุน แล้วกลับมีปัจจัยกดดันในระยะ 1-2 เดือนนี้ คือ การรายงานผลประกอบการงวดไตรมาส 3/59 ของบริษัทจดทะเบียนฯ
โดยใน 2 สัปดาห์นี้จะมีการรายงานกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็นกลุ่มแรงซึ่งเท่าที่รายงานไม่น่าจะประทับใจ โดยเฉพาะ KBANK และ คาดว่าหุ้นขนาดใหญ่อื่นน่าจะรายงานไม่แตกต่างเนื่องจากยังมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศ และ ประเด็นถัดมาคือ ต่างชาติน่าจะยังคงขายหุ้นไทยในลักษณะเดียวกับเพื่อนบ้าน
ซึ่งนอกจากจะเป็นการปรับพอร์ตก่อนที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ยตามตลาดคาดแล้วปกติช่วง 3 เดือน สุดท้ายของทุกปี ต่างชาติมักจะซื้อน้อยลงหรือหนักไปทางขายสุทธิมากขึ้น หลังจากที่มีการซื้อสุทธิตลาดหุ้นไทยนับจากเดือนมี.ค.เป็นต้นมา
ดังนั้นจึงยังคงกลยุทธ์การลงทุนเดิมคือ ให้น้ำหนักการลงทุน 40% ของเงินลงทุน โดยรวมยังชอบหุ้นส่งออกและปันผลสูง และกลยุทธ์การลงทุนยังเน้น Selective Buy ชูหุ้นที่มีความผันผวนต่ำ และ P/E ต่ำ และปันผลสูงกว่า เกือบ 5%
สำหรับกลุ่มหุ้นความผันผวนต่ำ และ P/E ต่ำ คือ MCS ([email protected]) (Div. Yield สูงกว่า 6% ขณะที่ P/E ต่ำเพียง 9 เท่า ทั้งยังได้ประโยชน์จากเงินเยนแข็งค่า) HANA (FV@B42) ปัจจุบัน Div. Yield สูงกว่า 6.3% P/E ต่ำเพียง 11.2 เท่า
ขณะที่ผลประกอบการงวดไตรมาส 3/59 เป็นช่วง High Season ของฤดูกาลส่งออก คือ ASK ([email protected]) Div. Yield สูงกว่า 7.8% ขณะที่ P/E ต่ำเพียง 9.1 เท่า) และ TCAP (FV@50) (Div. Yield สูงกว่า 5.3% ขณะที่ P/E ต่ำเพียง 7.6 เท่า)
ส่วนกลุ่มหุ้นผันผวนต่ำ,P/E ต่ำ ปันผลสูงกว่า 4.75% คาดผลตอบแทนในงวดไตรมาส 4/59 จะสามารถ outperform ได้มากกว่าตลาดด้วยความน่าจะเป็นที่ค่อนข้างสูง 3 หุ้นเด่นคือ BJC([email protected]) ขณะที่คาดปี 2560 ผลกำไรจะเติบโตโดดเด่นสุดกว่า 1 เท่าตัว จากการจัดทำงบการเงินกับ BIGC ตามด้วย BDMS([email protected]) ยังเป็นหุ้นปลอดภัยและมั่นคงในระยะยาว แม้ช่วงสั้นจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น และ HANA ([email protected])
สำหรับสัปดาห์นี้คาดการรายงานงบไตรมาส 3/59 ของกลุ่มธนาคารน่าจะทยอยกันออกมา และน่าจะมีแรงขายรับงบ ล่าสุดมีรายงาน 3 แห่ง คือ KBANK TISCO LHBANK โดยธนาคารขนาดเล็กTISCO นั้น ฝ่ายวิจัยยังคงมุมมองบวกในปีหน้า แม้สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จะเติบโตไม่มากนัก แต่การขยายตลาดเข้าสู่สินเชื่อทะเบียนรถยนต์กลุ่ม high yield จะช่วยหนุน NIM ให้แข็งแกร่งขึ้น อีกทั้งภาระการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2559-60 ที่คาดว่าจะกลับมาเติบโตอย่างมีนัยฯ ถึง 18.9%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและ 10.5%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะ LHBANK แม้งบไตรมา 3/59 ดีกว่าคาด แต่เกิดจากกำไรจากการขายเงินลงทุนในพันธบัตร และการลดลงของค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ (NPL ที่ลดลง) ขณะสินเชื่อยังอ่อนตัว และ NIM หดตัว แต่อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ ASPS ได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2559 ขึ้นจากเดิม 25.3% แต่ EPS ปีนี้ จะเติบโตเพียง 5.9%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนนั้น เนื่องจากมีโอกาสเพิ่มทุน PP ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในช่วงที่เหลือของปี 2559 และคาดกำไรสุทธิปี 2560 คาดว่าจะลดลง 1.5%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
ส่วนธนาคารขนาดใหญ่ อย่าง KBANK กำไรไตรมาส 3/59 ตามคาด แต่ธนาคาร ได้ส่งสัญญาณแนวโน้มธุรกิจในปีหน้าที่ระมัดระวังมากขึ้น นักวิเคราะห์ ASPS จึงได้ปรับลดประมาณการกำไรปี 2560 ลงจากเดิม 4% หลักๆ มาจากการปรับเพิ่มเป้าหมาย Credit Cost ขึ้นจาก 1.7% เป็น 2.1% ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ เพิ่มขึ้นจาก 3.07 เป็น 3.80 หมื่นล้านบาท ภายหลังลดประมาณการ กำไรสุทธิปี 2560 จะเติบโตเหลือ 6.8%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนจากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตถึง 11.2%เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน
โดยรวมเชื่อว่าธนาคารขนาดใหญ่แห่งอื่นๆ น่าจะมีมุมมองที่ระมัดระวังในปีหน้าด้วยเช่นกัน ส่งผลให้แรงขับเคลื่อนจากกลุ่มธนาคารที่คาดหมายถึงผลประกอบการปีหน้าที่น่าจะออกมาเติบโตมากกว่า 10% อ่อนแรงลงไป และทำให้ SET Index ในช่วงสัปดาห์นี้ มีโอกาสปรับขึ้นในกรอบจำกัด ประเมินแนวต้านที่ 1500 จุด แนวรับ 1450 จุด
ในวันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติยังคงขายสุทธิในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าราว 187 ล้านเหรียญ และยังเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเกาหลีใต้เท่านั้นที่ยังซื้อสุทธิราว 34 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆ ยังคงขายสุทธิ คือ ตลาดหุ้นไต้หวันขายสุทธิราว 91 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 47 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), ฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) และไทยที่ยังขายสุทธิราว 73 ล้านเหรียญ หรือ 2.6 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการ short SET50 futures สูงถึง 2.4 หมื่นสัญญา
ตรงกันข้ามกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิสูงถึง 1.35 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ตั้งแต่ตลาดฯก่อตั้ง (หลังจากซื้อสุทธิในวันก่อนหน้ากว่า 9.7 พันล้านบาท )
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันในประเทศสลับมาขายสุทธิราว 6.6 พันล้านบาท เช่นเดียวกับ นักลงทุนต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิราว 1.7 พันล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 โดยมียอดขายรวมอยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท)