BJC อนาคตสดใส Q4 เข้าช่วงไฮซีซั่นหนุนกำไรสูงสุดของปี

ได้สำรวจบทวิเคราะห์ของบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC ที่นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างให้ความสนใจ หลังเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มีผลงานที่หน้าปลื้มมาก หลังประกาศงบการเงินไตรมาส 3/59 มีกำไรสุทธิ 1.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 118% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 825.17 ล้านบาท นอกจากนั้นมีการคาดการณ์ว่ากำไรของบริษัทจะเข้าสู่จุดสูงสุดของปีในไตรมาส 4/59 อีกด้วย เนื่องจากเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นของ BJC และ BIGC


ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์  ได้สำรวจบทวิเคราะห์ของบริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BJC ที่นักวิเคราะห์หลายสำนักต่างให้ความสนใจ และเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่มีผลงานดี หลังประกาศงบการเงินไตรมาส 3/59 มีกำไรสุทธิ 1.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 118% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 825.17 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่ากำไรของบริษัทจะเข้าสู่จุดสูงสุดของปีในไตรมาส 4/59 อีกด้วย เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซั่นของ BJC และ BIGC

 

ตารางแสดงคำแนะนำการลงทุน

BJC_2

 

โดย บล.เออีซี ระบุในบทวิเคราะห์ แนะนำ “ซื้อเมื่ออ่อนตัว” ราคาเป้าหมาย 55.00 บาท เปิดเผยว่า  จากการประกาศงบการเงินของ BJC ในช่วงไตรมาส 3/59 มีกำไรสุทธิ 1,800 ล้านบาท โต 118.2% จากปีก่อนแต่ หากไม่รวมรายการพิเศษช่วงไตรมาส 3/58  ราว 438 ล้านบาท และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนช่วงในช่วงไตรมาส 3/59 ราว 1,354 ล้านบาท พบว่า BJC มีกำไรปกติก่อนหักภาษี 1,226 ล้านบาท โต 52.7%จากปีก่อนโดยมีแรงหนุนจากยอดขายรวมโต 222.3%จากปีก่อนจาก 1) การรับรู้ยอดขายเต็มไตรมาสเป็นครั้งแรกของ BIGC หลังเข้าซื้อกิจการ (97.94% ของทุนชำระแล้ว) เสร็จตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค. 59 และ 2) ยอดขายของธุรกิจเดิมโต 6.2%จากปีก่อนซึ่งมาจากการโตของยอดขายทุกกลุ่ม นำโดยสินค้าเวชภัณฑ์, สินค้าบรรจุภัณฑ์ และสินค้าอุปโภคบริโภคที่โต 11.8%จากปีก่อน, 8.6%จากปีก่อนและ 1.2%จากปีก่อนตามลำดับ แต่การเติบโตของยอดขายรวมถูกหักล้างบางส่วนด้วย 1) อัตรากำไรขั้นต้นรวมที่ลดจาก 22.9% ในช่วง ในช่วงไตรมาส 3/58   เป็น 19.8% เพราะอัตรากำไรขั้นต้นของ BIGC ต่ำเพียงแค่ 19.6% 2) SG&A/Sales ที่สูงขึ้นจาก 18.0% ในช่วง ในช่วงไตรมาส 3/58    เป็น 20.8% หลักๆ มาจาก BIGC มีค่าใช้จ่ายบริหารเพิ่มขึ้นแต่มียอดขายทีลดลง และ 3) ต้นทุนการเงินที่สูงขึ้นจาก 111 ล้านบาทในช่วง ในช่วงไตรมาส 3/58 เป็น 1,750 ล้านบาท จากกู้เงินระยะสั้นราว 1.3 แสนล้านบาทมาซื้อ BIGC

ดยช่วงไตรมาส 4/59 คาดกำไรปกติโตทั้งจากปีก่อนหลังเข้าสู่ High Season และมาร์จิ้นบิ๊กซีมีแนวโน้มดีขึ้นหลังปรับกลยุทธ์เน้นคุณภาพยอดขายมากกว่าปริมาณยอดขาย โดยเราคาดปี 59 กำไรปกติโต 79%จากปีก่อนและโตต่อ 104.4%ในปี 60 

อย่างไรก็ตาม คงประมาณการกำไรปกติปี 59 แต่ปรับเพิ่มปี 60 สะท้อนมาร์จิ้นดีขึ้น แม้ประมาณการกำไรปกติปี 59 แต่มีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรปกติปี 60 ราว 7.6% เพื่อสะท้อนศักยภาพทำกำไรที่จะมีแนวโน้มดีขึ้นหลัง BIGC ปรับใช้กลยุทธ์ใหม่ โดยจะมุ่งเน้นคุณภาพของยอดขายมากกว่าปริมาณยอดขาย โดยภายใต้ประมาณการใหม่คาดปี 59 คาด BJC มีกำไรปกติ 3,509 ล้านบาท โต 79.2% จากปีก่อน แต่ในแง่ Norm EPS จะลดลง 28.5% จากปีก่อน ตามจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นหลังเพิ่มทุน ก่อนกลับมาโต 104.4% ในปี 60 หลังรับรู้ผลดำเนินงานเต็มปีของ BIGC ส่วนธุรกิจเดิมคาดยังโตสดใสหลังมีประสิทธิภาพการผลิตและการควบคุมค่าใช้จ่ายที่ดีขึ้น อีกทั้งยังมีแผนขยายกำลังผลิตธุรกิจบรรจุภัณฑ์เพื่อรองรับดีมานด์ทั้งในและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น 

 

ด้าน บล.เคทีบี ระบุในบทวิเคราะห์แนะนำ “ถือ” ราคาเป้าหมาย 53 บาท โดยมองว่า BJC รายงานกำไรสุทธิในไตรมาส 3/59 ออกมาค่อนข้างดี โดยรายการหลักมาจากการบันทึกกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนกว่า 1,354 ล้านบาท (ก่อนภาษี) หลังบริษัทคืนเงินกู้สกุลยูโรกว่า 3.2 พันล้านยูโรหลังเพิ่มทุน ขณะที่ในแง่การดำเนินงานหลักยังแสดงการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจแพ็คเกจจิ้งมีการเติบโตทั้งในด้านยอดขายและความสามารถในการทำกำไรตาม order ขวดแก้วเขียวที่เพิ่มมาตั้งแต่ช่วงต้นปี

ขณะที่ส่วนของ BIGC เองแม้ยอดขายจะต่ำกว่าที่คาดแต่ก็เป็นผลจากการปรับนโยบายการขาย  ซึ่งช่วยเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นได้กว่า 5% (สูงกว่าที่คาดที่ 2.5 – 3%) นอกจากนี้การคืนหนี้เงินกู้บางส่วนหลังเพิ่มทุนและการเพิ่มสัดส่วนการถือ BIGC ใน 3Q16 ยังช่วยให้ฐานกำไรโดยรวมเติบโตขึ้นได้ (จ่ายดอกเบี้ยลดลงและสามารถรับรู้สัดส่วนรายได้จาก BIGC ได้เพิ่มขึ้น) ผลักดันให้กำไรสุทธิของ BJC ในไตรมาส 3/59 โดยรวมเติบโตได้อย่างโดดเด่นที่ระดับ 1,800 ล้านบาท 

แม้เราจะมองแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกของ BIGC จะดีขึ้นในช่วงปลายปีตามผลของฤดูกาล แต่ด้วยสถานการณ์การจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคและการจัดงานรื่นเริงที่ลดลงในปัจจุบัน จึงมีความกังวลต่อการดำเนินงานของธุรกิจแพคเกจจิ้งในช่วงปลายปี โดยเฉพาะธุรกิจขวดแก้วซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบโดยตรงมากกว่ากลุ่มอื่น ขณะเดียวกันกำไรครึ่งปีแรกที่ออกมาที่ระดับ 2,773 ล้านบาท คิดเป็นเพียงแค่ 60% ของประมาณการเดิม จึงปรับประมาณการของ BJC ในปีนี้ลงเพื่อให้สะท้อนกับภาพปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยประมาณการกำไรทั้งปีของปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 3,787 ล้านบาท  เติบโตได้อย่างโดดเด่นจากการฟื้นตัวของธุรกิจหลักและการเข้าซื้อกิจการ BIGC  

นอกจากนี้ มองได้ผลบวกจาก การเข้าซื้อกิจการ BIGC จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยผลหลักจะเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มและเครือ THBEV ในการต่อรองซื้อสินค้าแล้วและกลยุทธ์การลดต้นทุนต่างๆ (ลดค่าใช้จ่ายให้ตัวกลางในการซื้อสินค้า การใช้ทรัพยากรขององค์กรร่วมกันและการให้บริการทำสินค้า Private Label ให้ BIGC) โดย BJC เองตั้งเป้าที่จะสร้าง EBITDA จากผลของ synergy กว่า 1.7 พันล้านบาทในอีกระยะเวลา 3 ปี ส่งผลให้กำไรทั้งปีในปีหน้าเราคาดกำไรจะสามารถเติบโตได้กว่า 96.6% จากปีก่อน อยู่ที่ระดับ 5,958 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลการรับรู้กำไรของ BIGC เต็มปี ฐานอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงและการเติบโตของธุรกิจเดิมของ BJC และ Synergy ที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

 

ด้านราคาหุ้น ฺBJC ปิดตลาดวันนี้ (31 ต.ค.) ราคาอยู่ที่ 52.75 บาท บวก 1.50 บาท หรือ 2.93% มูลค่าซื้อขาย 683.67 ล้านบาท

Back to top button