คัดมาเน้นๆ! 12 หุ้นเว่อร์วังอลังการชูพื้นฐานแกร่งพลิกกำไรถล่มทลาย

คัดมาเน้นๆ! 12 หุ้นเว่อร์วังอลังการ ชูพื้นฐานแกร่งพลิกกำไรถล่มทลาย


ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์ ได้ทำการสำรวจผลการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บจ.) ที่ประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/59 (สิ้นสุด 30 ก.ย.59) โดยใช้เกณฑ์คัดเลือกจาก บจ. ที่พลิกมีกำไรอย่างโดดเด่นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีผลขาดทุน และเป็นบริษัทมีสภาพคล่อง ซึ่งได้ทำการคัดเลือกมาทั้งหมด 12 บจ.ดังนี้

ตารางแสดงผลการดำเนินงาน

 

อันดับที่ 1 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/59 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.59 (รวมบริษัทย่อย) มีกำไรสุทธิ 2.69 หมื่นล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 9.41 บาทต่อหุ้น เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุนสุทธิ 2.65 หมื่นล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิ 9.14 บาทต่อหุ้น

ขณะที่ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 7.55 หมื่นล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 26.15 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 282.43% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1.97 หมื่นล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 6.94 บาทต่อหุ้น

โดยผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/59 พลิกมีกำไรเนื่องจาก บริษัทในกลุ่ม PTTEP มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้น จากกำไรจากการประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน รวมถึงกำไรและผลประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ (PTTEP ไตรมาส 3/59 พลิกมีกำไร 5.45 พันล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุน 4.62 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ช่วงเดียวกันจากปีก่อน PTTEP ต้องตั้งสำรองกว่า 5 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ PTT ซึ่งเป็นบริษัทแม่ต้องรับรู้รายการดังกล่าวไปด้วย)

 

อับดับที่ 2 บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/59 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.59 (รวมบริษัทย่อย) มีกำไรสุทธิ 5.45 พันล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 1.33 บาทต่อหุ้น เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุนสุทธิ 4.62 หมื่นล้านบาท หรือมีผลขาดทุนสุทธิ 11.46 บาทต่อหุ้น

โดยผลการดำเนินงานในไตรมาสดังกล่าวพลิกเป็นกำไรเนื่องจากบริษัทมีค่าใช้จ่ายลดลง โดยค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้นและค่าตัดจำหน่ายลดลง รวมทั้งมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ขณะที่ ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 1.37 หมื่นล้านบาท หรือ 3.13 บาทต่อหุ้น เทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุนสุทธิ 3.63 หมื่นล้านบาท หรือ 9.11 บาทต่อหุ้น

 

อันดับที่ 3 บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/59 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.59 มีกำไรสุทธิ 2.84 พันล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 5.40 บาทต่อหุ้น เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุนสุทธิ 151.32 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิ 0.29 บาทต่อหุ้น

โดยผลการดำเนินงานในไตรมาสนี้พลิกมีกำไรเนื่องจากรายได้จากการขายและบริการไฟฟ้าเพิ่มมาอยู่ที่ 7,426.66 ล้านบาท จากปีก่อนอยู่ที่ระดับ 4,205.42 ล้านบาท นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลงมาอยู่ที่555.61 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 700.74  ล้านบาท ขณะเดียวกันต้นทุนทางการเงินลดลงมาอยู่ที่381.52 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 3,931.65 ล้านบาท

ขณะที่ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ  7.48 พันล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 14.21 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 169.26% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกำไร 2.78 พันล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 5.28 บาทต่อหุ้น

 

อันดับที่ 4 บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/59 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.59 (รวมบริษัทย่อย) พลิกมีกำไรอยู่ที่ 1.18 พันล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 0.86 บาทต่อหุ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมีผลขาดทุนสุทธิ 431.90 ล้านบาท หรือมีขาดทุนสุทธิ 0.31 บาทต่อหุ้น

โดยผลการดำเนินงานที่พลิกมีกำไรเนื่องจาก บริษัทมีรายได้สินค้าและบริษัทการเพิ่มขึ้น รวมทั้งกำไรขั้นต้น 2,912 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40% จากปีก่อน แต่ลดลง 32% จากไตรมาสก่อน โดยหลักมำจำกผลของ Inventory Gain/Loss

ขณะที่ ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 3.64 พันล้านบาทหรือมีกำไรสุทธิ 2.64 บาทต่อหุ้น ลดลง 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 4.26 พันล้านบาทหรือมีกำไรสุทธิ 3.10 บาทต่อหุ้น

 

อันดับที่ 5 บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ SPRC รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 3/59 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.59 (รวมบริษัทย่อย) พลิกมีกำไรสุทธิ 1.17 พันล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 0.27 บาทต่อหุ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีผลขาดทุนสุทธิ 609.05 ล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 0.15บาทต่อหุ้น

โดยผลการดำเนินงานที่พลิกมีกำไรเนื่องจาก บริษัทมีประมาณการขายน้ำมันเพิ่มขึ้นและต้นทุนลดลง

ขณะที่ผลการดำเนินงานช่วง 9 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ  5.88 พันล้านบาท  หรือ 1.36 บาทต่อหุ้น ลดลง 8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 6.38 พันล้านบาท หรือ 1.55 บาทต่อหุ้น

 

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 12 บจ.ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น บางบริษัทอาจจะมีกำไรจากการขายสินทรัพย์ หรือจากกำไรพิเศษที่ไม่มีในช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน ไม่ได้มาจากรายได้หรือยอดขายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการบันทึกกำไรพิเศษนั้นจะส่งผลให้ผลการดำเนินงานพลิกเป็นกำไรได้ 

*ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ การตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน

Back to top button