คัด “ข่าวเด็ด-ข่าวเด่น” โดนใจเม่าปี 59จัดหุ้นพลิกขาดทุนยับ-ราคาร่วงดิ่งเหว

คัด “ข่าวเด็ด-ข่าวเด่น” โดนใจเม่าปี 59 จัดหุ้นพลิกขาดทุนยับ-ราคาร่วงดิ่งเหว


ในปี 2559 ที่ผ่านมา “ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” จะนำเสนอข้อมูลกลุ่มหุ้นที่มีผลประกอบการที่พลิกขาดทุนจากปีก่อนมีกำไรในไตรมาสแต่ละไตรมาส และหุ้นที่มีรคาคาปรับตัวลดลงค่อนข้างมาก แน่นอนทุกครั้งที่นำเสนอข่าวในรูปแบบดังกล่าวนักลงทุนส่วนใหญ่จะให้ความสนใจและเข้ามาอ่านเป็นจำนวนมาก

โดยพาดหัวข่าวเด็ดโดนใจนักลงทุนมี 3 ข่าวคือ ส่องด่วน! 25 หุ้นอาการโคม่า Q2 พลิกขาดทุนยับเยิน และ เช็คด่วน! 20 หุ้นดิ่งในรอบ 7 เดือนมองเป็นโอกาสเก็บของดี-ราคาถูก รวมทั้ง เปิด 10 หุ้นอาการโคม่า 9 เดือนราคาดิ่งก้นเหว! ซึ่งมีเนื้อหาและรายละเอียดดังนี้

 

ส่องด่วน! 25 หุ้นอาการโคม่า Q2 พลิกขาดทุนยับเยิน

โดยการสำรวจพบว่ามี 25 หุ้นที่มีผลประกอบการไตรมาส 2/59 พลิกขาดทุน หลังธุรกิจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้รายได้ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงซึ่งประกอบด้วย TRUE, NMG, RCL, ROJNA, BA, RS, SIM,TRUBB, MCOT, EFORL,VPO, UWC, PF, AKR, QTC, T, HOTPOT, DAII, RCI, PCA, TFI, DEMCO, HFT, SCI และ GTB

1483006426015

ตารางเปรียบเทียบผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/58 และ ไตรมาส 2/59

 

อันดับ 1 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2/59 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.59 (รวมบริษัทย่อย) มีผลขาดทุนสุทธิ 370.74 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิ 0.01 บาทต่อหุ้น เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1.39 พันล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 0.06 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานไตรมาสดังกล่าวพลิกขาดทุน เนื่องจากกลุ่มทรูมีผลขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทจำนวน 370.7 ล้านบาท เป็นผลจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเร่งขยายโครงข่าย 4G และ 2G ให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ เพิ่มเติมจากโครงข่าย 3G ที่ครอบคลุมแล้วกว่าร้อยละ 98 ของประชากรไทย รวมถึงค่าตัดจำหน่ายใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ของกลุ่มทรู

 อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานช่วง 6 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 1.60 พันล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 0.06 บาทต่อหุ้น ลดลง 46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2.96 พันล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 0.12 บาทต่อหุ้น

 

อันดับ 2 บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ NMG รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2/59 สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค.59 (รวมบริษัทย่อย) มีผลขาดทุนสุทธิ 39.55 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิ 0.01 บาทต่อหุ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2.88 ล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 0.001 บาทต่อหุ้น

โดยผลการดำเนินงานในไตรมาสดังกล่าวพลิกขาดทุนเนื่องจากรายได้จากการขายและบริการสำหรับไตรมาสแรกของปี 2559 ลดลง โดยมีสาเหตุหลักมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจและส่งผลกระทบทำให้รายได้จากการขายโฆษณาลดลง และรายได้จากการจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์ พ๊อคเก็ตบุ๊คส์ การ์ตูนและหนังสือเด็กลดลง

 

อันดับ 3 บริษัท อาร์ ซี แอล จำกัด (มหาชน) หรือ RCL รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2/59 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.59 (รวมบริษัทย่อย) มีผลขาดทุนสุทธิ 182.61 ล้านบาท หรือมีขาดทุนสุทธิ 0.22 บาทต่อหุ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 55.31 ล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 0.07 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานในไตรมาสดังกล่าวมีพลิกขาดทุนเนื่องจากจากภาวะล้นเกินของเรือขนส่งตู้สินค้า ซึ่งถูกนํามาใช้เพิ่มมากขึ้นสำหรับเส้นทางภายในภูมิภาคเอเชีย และความต้องการการขนส่งที่ไม่เพียงพอจนทำให้การเจริญเติบโตของการค้าการขนส่งตู้สินค้ามีค่าติดลบนี้ ในไตรมาสสองของปี อัตราค่าระวางได้ลดต่ำลงร้อยละ 16.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานช่วง 6 เดือนแรกมีขาดทุนสุทธิ 425.97 ล้านบาท หรือ 0.51 บาทต่อหุ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 228.17 ล้านบาท หรือ 0.28 บาทต่อหุ้น

 

อันดับ 4 บริษัท สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) หรือ ROJNA รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2/59 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.59 (รวมบริษัทย่อย) มีผลขาดทุนสุทธิ 140.67 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิ 0.07 บาทต่อหุ้น เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 338.33 ล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 0.17 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานในไตรมาสดังกล่าวมีพลิกขาดทุนเนื่องจากบริษัทมีรายได้จากการขายที่ดิน-ขายไฟฟ้าลดลง

อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานช่วง 6 เดือนแรกขาดทุน 29.04 ล้านบาท หรือ 0.01 บาทต่อหุ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 697.84 ล้านบาท หรือ 0.37 บาทต่อหุ้น

 

อันดับ 5 บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA รายงานผลการดำเนินงานไตรมาส 2/59 สิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.59 (รวมบริษัทย่อย) มีผลขาดทุนสุทธิ 127.62 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิ 0.061 บาทต่อหุ้น เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 91.48 ล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิ 0.044 บาทต่อหุ้น

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานในไตรมาสดังกล่าวพลิกขาดทุนเนื่องจากบริษัทมีค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จากการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับลงวันที่ 16 มิถุนายน 2559

อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานช่วง 6 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 1.43 พันล้านบาท หรือ 0.679 บาทต่อหุ้น เพิ่มขึ้น 23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1.16 พันล้านบาท หรือ 0.553 บาทต่อหุ้น

 

 

เช็คด่วน! 20 หุ้นดิ่งในรอบ 7 เดือน

มองเป็นโอกาสเก็บของดี-ราคาถูก

โดยเป็นการสำรวจราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ SET ในช่วง 7 เดือนแรกปี 59 เทียบราคาปิด ณ วันที่ 30 ธ.ค.58-29 ก.ค. 59 ที่ราคาปรับตัวลดลงเกิน 20% ซึ่งพบว่ามีหุ้นที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวมีทั้งหมด 20 ตัว ประกอบด้วย SOLAR, TASCO, KC, TCC, JWD,PRINC, BLA, CSS, ORI, ACC, ABC, THCOM, SORKON, TRC, MAX, PRANDA,TNPF,PLANB, NUSA และ SPORT

 

7เดือน

อันดับ 1 บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) หรือ SOLAR ราคาช่วง 7 เดือนแรก ปรับตัวลดลง 50.10 % จากราคา ณ วันที่ 30 ธ.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 9.90 บาท  ลบ 4.96 บาท มาอยู่ที่ 4.94 บาท ณ วันที่ 29 ก.ค. 59 ราคาหุ้นอ่อนตัวมีปัจจัยกระทบหลายด้าน ทั้งในเรื่องผลการดำเนินที่ไม่สดใส เห็นได้จากบริษัทขาดทุนไตรมาส 1/59 และมีการแก้ไขงบจากขาดทุนหลักล้านเป็นขาดทุนหลักแสน ขณะเดียวกันผู้ถือหุ้นใหญ่เทขายหุ้นออกมา ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่องในช่วงดังกล่าว

 

อันดับ 2 บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TASCO ราคาช่วง 7 เดือนแรก ปรับตัวลดลง 34.57% จากราคา ณ วันที่ 30 ธ.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 40.50 บาท  ลบ 14.00 บาท มาอยู่ที่ 26.50 บาท ณ วันที่ 29 ก.ค. 59  ราคาหุ้นปรับตัวลงแรงเนื่องจากหุ้นปรับตัวขึ้นสูง ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตยางมะตอย ทำให้นักลงทุนทยอยขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง  

บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า TASCO ได้ประโยชน์จากต้นทุนน้ำมันต่ำในปัจจุบัน แม้คาดว่าจะแกว่งตัวในกรอบ 40-45 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลต่อช่วงที่เหลือของปีนี้ก็ตาม(แนะซื้อราคาเป้าหมาย 33.5 บาท) 

บล.บัวหลวง ระบุในบทวิเคราะห์ว่า MSCI รอบนี้ จับตาหุ้นมีโอกาสถูกเพิ่มเข้าคำนวณ เช่น BJC TASCO พิจารณาจากปริมาณการซื้อขาย และมูลค่าตลาดที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตรงนี้ก็น่าจะหนุนให้หุ้นฟื้นตัวอีกครั้ง   

   

อันดับ 3 บริษัท เค.ซี. พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ KC ราคาช่วง 7 เดือนแรก ปรับตัวลดลง 28.77% จากราคา ณ วันที่ 30 ธ.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 2.12บาท  ลบ  0.61บาท มาอยู่ที่ 1.51 บาท ณ วันที่ 29 ก.ค.59 สำหรับหุ้นรายนี้ถือเป็นหุ้นเก็งกำไรที่นักลงทุนชอบเข้ามาไล่ราคา เนื่องจากหุ้นมีราคาถูก อย่างไรก็ตามในยามที่หุ้นขึ้นแรงก็มีโอกาสที่หุ้นจะลงแรงด้วยเช่นกัน เนื่องจากหุ้นไม่พื้นฐานรองรับที่แข็งแกร่ง จึงไม่น่าแปลกใจที่หุ้นรายนี้ปรับตัวลงแรงในช่วง 7 เดือน ที่ผ่านมา

 

อันดับ 4 บริษัท ไทย แคปปิตอล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TCC ราคาช่วง 7 เดือนแรก ปรับตัวลดลง 27.15% จากราคา ณ วันที่ 30 ธ.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 1.51บาท  ลบ  0.41บาท มาอยู่ที่ 1.10 บาท ณ วันที่ 29 ก.ค.59 สำหรับหุ้นรายนี้ถือเป็นหุ้นเก็งกำไรที่นักลงทุนชอบเข้ามาไล่ราคาในยามที่หุ้นส่วนใหญ่ปรับตัวขึ้น แต่ในยามที่ภาวะตลาดไม่สดใสหุ้นกลุ่มนี้ก็จะถูกขายหนัก เนื่องจากไม่มีปัจจัยบวกหนุน การเทขายหุ้นเพื่อลดความเสี่ยงจะเกิดกับหุ้นเก็งกำไรเป็นอันดับแรก จึงไม่น่าแปลกใจที่หุ้นรายนี้จะปรับตัวลงแรง

 

อันดับ 5  บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JWD ราคาช่วง 7 เดือนแรก ปรับตัวลดลง 26.87% จากราคา ณ วันที่ 30 ธ.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 13.47บาท  ลบ  3.62บาท มาอยู่ที่ 9.85บาท ณ วันที่ 30 มิ.ย. 59  เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไรหลังหุ้นขึ้นไปมาก อีกทั้งผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 รายขาย Biglot ให้กองทุนรวม 40,081,000 หุ้น หรือ 6.68% ประกอบกับช่วงดังกล่าวขึ้นเครื่องหมาย XD (4 พ.ค.) เพื่อจ่ายปันผลเป็นหุ้นและเงินสด  โดยจ่ายเป็นเงินสด 0.0388888889 บาท/หุ้น และเป็นหุ้น 10 : 7 ทำให้ราคาหุ้นรูดหนัก และมีแรงขายออกมาตลอดช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามปีนี้บริษัทตั้งเป้าผลงานปี 59-61 เติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 7% จากที่ประเมินผลการดำเนินงานครึ่งปีหลังเริ่มฟื้นตัวได้ดี หลังชูแผนลดต้นทุนและปรับกลยุทธ์ขยายฐานลูกค้าใหม่ ๆ พร้อมเดินหน้าเปิดให้บริการศูนย์กระจายสินค้าเคมีภัณฑ์ภายในท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมขยายการลงทุนคลังสินค้าในกลุ่มประเทศ CLMV ทั้งกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามอย่างต่อเนื่อง 

 

ทั้งนี้แม้ราคาหุ้นในกลุ่มดังกล่าวจะอ่อนตัวลงหนัก หากมองอีกด้านหนึ่งหุ้นกลุ่มนี้ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนสูงได้เช่นกัน เพราะเมื่อดูแผนการดำเนินงานหุ้นกลุ่มนี้ก็ยังมีลุ้นฟื้นตัว อีกทั้งพื้นฐานบางตัวก็ยังแข็งแกร่ง การหาจังหวะเข้าสะสมหุ้นถูกช่วงนี้ก็น่าจะเป็นโอกาสที่ดีก็เป็นได้

 

 

เปิด 10 หุ้นอาการโคม่า 9 เดือนราคาดิ่งก้นเหว!

โดยเป็นการสำรวจราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ SET ในช่วง 9 เดือนแรกปี 59 เทียบราคาปิด ณ วันที่ 30 ธ.ค.58-31 ส.ค. 59 ที่ราคาปรับตัวลดลงเกิน 30% เท่านั้น ซึ่งพบว่ามีหุ้นที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวมีทั้งหมด 10 ตัว ประกอบด้วย SOLAR, TASCO, RICH, CSS, KC, EMC, JWD, TRC, ITD และ TSI

9เดือน

อันดับ 1 บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) หรือ SOLAR ราคาช่วง 9 เดือนแรก ปรับตัวลดลง 50.91% จากราคา ณ วันที่ 30 ธ.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 9.90 บาท ลบ 5.90 บาท มาอยู่ที่ 4.00 บาท ณ วันที่ 30 ก.ย.59 ราคาหุ้นอ่อนตัวมีปัจจัยกระทบหลายด้าน ทั้งในเรื่องผลการดำเนินที่ไม่สดใส เห็นได้จากบริษัทขาดทุนไตรมาส 1/59 และมีการแก้ไขงบจากขาดทุนหลักล้านเป็นขาดทุนหลักแสน ขณะเดียวกันผู้ถือหุ้นใหญ่เทขายหุ้นออกมา  

อย่างไรก็ตามแม้ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/2559 ของบริษัทพลิกมีกำไรสุทธิ 13.56 ล้านบาท แต่ดูเหมือนว่าราคาหุ้นจะยังไม่กระเตื้องขึ้นมาแม้แต่น้อย ประกอบกับภาวะตลาดที่ผ่านมาไม่สดใสทำให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามบริษัทคาดปีนี้จะพลิกมีกำไรสุทธิจากที่ขาดทุนสุทธิราว 60 ล้านบาทในปีที่แล้ว หลังตั้งเป้าหมายปีนี้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 1,600-2,000 ล้านบาท ขณะที่ปัจจุบันมีปริมาณงานในมือ (Backlog) ที่เซ็นสัญญาไปแล้วมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1,787 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตจะมีงานใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นรวมถึงมียอดขายแผงโซลาร์เซลล์ ที่มีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลดีต่อผลประกอบการของบริษัท

 

อันดับ 2 บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ TASCO ราคาช่วง 9 เดือนแรก ปรับตัวลดลง 52.84 % จากราคา ณ วันที่ 30 ธ.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 40.50 บาท ลบ 21.40 บาท มาอยู่ที่ 19.10 บาท ณ วันที่ 30 ก.ย. ราคาหุ้นปรับตัวลงแรง หลังนักลงทุนเทขายทำกำไร เนื่องจากหุ้นยืนอยู่ในระดับสูงก่อนหน้านี้ ประกอบกับราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นรอบใหม่ ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตยางมะตอย ส่งผลให้นักลงทุนทยอยขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง

ประกอบกับผลการดำเนินงานช่วง 6 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 1.89 พันล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2.44 พันล้านบาท เนื่องจากบริษัทมีรายได้จากการขายและบริการลดลง อีกทั้งยังไม่มีแผนงานและปัจจัยบวกเข้ามาสนับสนุนช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาหุ้นมีแรงเทขายออกมาอย่างต่อเนื่อง

 

อันดับ 3  ราคาช่วง 9 เดือนแรก ปรับตัวลดลง 44.07 % จากราคา ณ วันที่ 30 ธ.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 0.59 บาท  ลบ 0.26 บาท มาอยู่ที่ 0.33 บาท ณ วันที่ 30 ก.ย.59 หุ้นรายนี้ถือเป็นหุ้นเก็งกำไรเวลาปรับตัวขึ้นแรงก็จะมีแรงเทขายออกมาอย่างหนัก เนื่องจากหุ้นไม่มีพื้นฐานแข็งแกร่งรองรับ ขณะเดียวกันยังไม่แผนงานธุรกิจออกมาน่าสนใจ ส่งผลให้ราคาหุ้นมีตลอด 9 เดือนที่ผ่านมาเป็นขาลงมาอย่างต่อเนื่อง

 

บริษัท คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ ซิสเต็มส์ โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CSS ราคาช่วง 9 เดือนแรก ปรับตัวลดลง 41% จากราคา ณ วันที่ 30 ธ.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 4.78 บาท ลบ 1.96 บาท มาอยู่ที่ 2.82 บาท ณ วันที่ 30 ก.ย.59 สำหรับหุ้นรายนี้ถือเป็นหุ้นเก็งกำไรอีกรายที่นักลงทุนชอบเข้ามาไล่ราคา

เนื่องจากนักลงทุนคาดหวังบริษัทมีโอกาสได้งานเพิ่มจากการประมูล 4G เนื่องจากผู้ประกอบการเครือข่ายน่าจะมีแผนขยายโครงข่าย และเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ แต่เมื่อผลงานที่ครึ่งปีแรกมีกำไรสุทธิ 66.51 ล้านบาท หรือ 0.058 บาทต่อหุ้น ลดลง 46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 122.44 ล้านบาท หรือ 0.127 บาทต่อหุ้น เนื่องจากบริษัทมีรายได้จากการขายและบริการติดตั้งลดลง อีกทั้งไม่มีปัจจัยบวกมาสนับสนุน ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจกับทิศทางธุรกิจจึงทยอยขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามผลการดำเนินงานครึ่งปีหลังบริษัท คาดยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากได้รับอานิสงส์จากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ภายในประเทศและการขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ ประกอบกับบริษัทฯ ยังคงเข้าประมูลงานต่างๆ ภายใต้งบประมาณของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจและเอกชนอย่างต่อเนื่อง อาทิ โครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน,การลงทุนของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) และโครงการรถไฟฟ้า รถไฟรางคู่  ก็น่าจะเป็นแรงหนุนให้หุ้นฟื้นตัวอีกครั้ง

 

อันดับ 5 บริษัท เค.ซี. พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ KC ราคาช่วง 9 เดือนแรก ปรับตัวลดลง 40.57% จากราคา ณ วันที่ 30 ธ.ค. 58 อยู่ที่ระดับ 2.12 บาท  ลบ 0.86 บาท มาอยู่ที่ 1.26 บาท ณ วันที่ 30 ก.ย.59  สำหรับหุ้นรายนี้ถือเป็นหุ้นเก็งกำไรที่นักลงทุนชอบเข้ามาไล่ราคา เนื่องจากหุ้นมีราคาถูก อย่างไรก็ตามในยามที่หุ้นขึ้นแรงก็มีโอกาสที่หุ้นจะลงแรงด้วยเช่นกัน เนื่องจากหุ้นไม่พื้นฐานรองรับที่แข็งแกร่ง ทำให้ที่ผ่านมา หุ้นรายนี้เข้าไปติดในกลุ่มหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายตามเกณฑ์ Trading Alert และ Turnover List ในยามที่ขึ้นแรง จึงไม่ต้องแปลกใจที่หุ้นรายนี้จะปรับตัวลงแรงในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา

Back to top button