เปิด 6 หุ้นราคาร่วงยับเยิน! ชี้ 3 เดือนแมงเม่าเจ๊งเกิน 20%
แม้ดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาจะปรับตัวขึ้นอย่างชัดเจน โดยเห็นได้จากดัชนีปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 1575.11 จุด (31 มี.ค.60) บวก 32.17 จุด หรือ 2.08% จากระดับ 1542.94 จุด (30 ธ.ค.59) เนื่องจากภาวะตลาดมีกระแส Fund flow ไหลเข้ามาลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีพื้นฐานดีและมีการจ่ายปันผลอย่างคึกคัก
แม้ดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาจะปรับตัวขึ้นอย่างชัดเจน โดยเห็นได้จากดัชนีปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 1575.11 จุด (31 มี.ค.60) บวก 32.17 จุด หรือ 2.08% จากระดับ 1542.94 จุด (30 ธ.ค.59) เนื่องจากภาวะตลาดมีกระแส Fund flow ไหลเข้ามาลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ที่มีพื้นฐานดีและมีการจ่ายปันผลอย่างคึกคัก
แต่เมื่อมองอีกด้านหนึ่งพบว่าหุ้นขนาดเล็กและหุ้นไม่มีพื้นฐานถูกเทขายออกมาอย่างหนักในช่วงดังกล่าว ดังนั้น“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” จึงได้ทำการรวบรวมหุ้นที่ปรับตัวลงแรงและคัดเฉพาะหุ้นที่ถูกเทขายเกิน 20%
โดยครั้งนี้มีหุ้นที่เข้ามาติดเกณฑ์ดังกล่าวทั้งหมด 6 ตัว คือ GL, EIC,TRITN, NPP, AS และ PTG อย่างไรก็ตามหากสังเกตหุ้นที่ปรับตัวแรงส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่ราคาต่ำบาท อีกทั้งหุ้นหลายตัวประสบผลขาททุนเรื้อรัง และที่สำคัญช่วงดังกล่าวหุ้นไม่มีปัจจัยบวกสนับสนุนจึงเป็นเหตุให้นักลงทุนเทขายหุ้นออกมาอย่างหนัก
อันดับ 1 บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน) หรือ GL ปรับตัวลงแรง 61.92% มาอยู่ที่ระดับ 21.80 บาท (31 มี.ค.60) ลบ 35.45 บาท จากระดับ 57.25 บาท (30 ธ.ค. 59) ราคาหุ้นปรับตัวแรงเนื่องจากความกังวลของนักลงทุนต่อการที่บริษัทได้ให้เงินกู้ยืมแก่บริษัทย่อยในสิงคโปร์ ซึ่งบริษัทย่อยนี้ได้ให้บริษัทอื่นสองกลุ่มในเกาะไซปรัส และสิงคโปร์กู้ยืมเงินต่อ หรือ “แครี่เทรดข้ามชาติ” และได้นำหลักทรัพย์ส่วนหนึ่งที่เป็นหุ้นของบริษัทมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ยืมจากบริษัทย่อย
แน่นอนประเด็นดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ราคาหุ้น GL ร่วงหนักตลอด 3 เดือน ที่ผ่าน เนื่องจากบริษัทไม่สามารถชี้แจงข้อมูลการปล่อยกู้ต่อตลาดหลัักทรัพย์ได้ชัดเจน อีกทั้งช่วงที่ผ่านมามีประเด็นลบเข้ามากระทบต่อเนื่อง อาทิ ก.ล.ต.ญี่ปุ่นเคยสั่งปรับฐานปั่นหุ้น และโบรกฯเกอร์ที่ออกมาเตือนเรื่องการเข้าลงทุนจึงทำให้ราคาหุ้นร่วงหนักและเป็นขาลงจนถึงขณะนี้
อันดับ 2 บริษัท อุตสาหกรรม อีเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ EIC ปรับตัวลงแรง 41.03% มาอยู่ที่ระดับ 0.46 บาท (31 มี.ค.60) ลบ 0.32 บาท จากระดับ 0.78 บาท (30 ธ.ค. 59) คาดนักลงทุนขายทำกำไรหลังหุ้นปรับตัวขึ้นแรงก่อนหน้านี้ ประกอบกับหุ้นไม่มีพื้นฐานเนื่องจากขาดทุนต่อเนื่องมาหลายปีทำให้นักลงทุนที่เข้ามาเก็งกำไรเทขายหุ้นอย่างหนักอีกทาง
บริษัทดำเนินธุรกิจออกแบบ ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ประเภท Wafer (Open Junction Wafer และGlass Passivated Processed Wafer, ประเภท Diodes (Rectifier Diode, Zener Diode, Transient Voltage Suppressor Diode, Switching Diode) ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในประเทศที่เป็นผู้ผลิตตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำคือผลิตทั้ง Wafer/Dice เพื่อใช้ประกอบเป็นไดโอดเอง (Diodes Manufacturer with Wafer Fab)
อันดับ 3 บริษัท ไทรทัน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TRITN ปรับตัวขึ้นแรง 29.17% มาอยู่ที่ระดับ 0.34 บาท (31 มี.ค.60) ลบ 0.14 บาท จากระดับ 0.48 บาท(30 ธ.ค. 59) คาดนักลงทุนขายทำกำไรหลังหุ้นปรับตัวขึ้นแรงก่อนหน้านี้ ประกอบกับหุ้นไม่มีพื้นฐานเนื่องจากขาดทุนหนักปีก่อน อีกทั้งไม่มีปัจจัยบวกเข้ามาสนับสนุนทำให้นักลงทุนที่เข้ามาเก็งกำไรเทขายหุ้นอย่างหนักเช่นกัน
สำหรับบริษัทดำเนินธุรกิจด้านการลงทุนด้วยการถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ โดยมีนโยบายในการกระจายการลงทุนในกลุ่มธุรกิจที่หลากหลาย ซึ่งเน้นการลงทุนในธุรกิจที่สร้างกระแสเงินสด และสร้างผลตอบแทนในระยะยาว โดยธุรกิจหลักของบริษัท คือ ธุรกิจสื่อ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และ ธุรกิจพลังงานและเหมืองแร่
อันดับ 4 บริษัท นิปปอน แพ็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ NPP ปรับตัวลงแรง 28.93% มาอยู่ที่ระดับ 0.86 บาท (31 มี.ค.60) ลบ 0.35 บาท จากระดับ 1.21 บาท (30 ธ.ค. 59) สำหรับหุ้นราคานี้ถือเป็นหุ้นเก็งกำไร เนื่องจากหุ้นไม่มีพื้นฐานรองรับ เห็นได้จากบริษัทขาดทุนต่อเนื่องมานานหลายปี จึงไม่แปลกใจที่จะมีแรงขายอย่างหนัก หากหุ้นปรับตัวขึ้นแรงก่อนหน้านี้
อันดับ 5 บริษัท เอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AS ปรับตัวลงแรง 28.47% มาอยู่ที่ระดับ 2.06 บาท (31 มี.ค.60) ลบ 0.82 บาท จากระดับ 2.88 บาท (30 ธ.ค. 59) คาดนักลงทุนขายทำกำไรหลังหุ้นปรับตัวขึ้นแรงก่อนหน้านี้ ประกอบกับหุ้นไม่มีพื้นฐาน เนื่องจากขาดทุนต่อเนื่องมาหลายปีทำให้นักลงทุนที่เข้ามาเก็งกำไรเทขายหุ้นอย่างหนัก
นอกจากนี้หุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประกาศให้ AS เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขาย ระดับ 1 : Cash Balance มีผลตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย.-2 พ.ค. 60 น่าจะเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลงแรงในช่วงที่ผ่านมา
อันดับ 6 บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) หรือ PTG ปรับตัวลงแรง 27.94% มาอยู่ที่ระดับ 23.60 บาท (31 มี.ค.60) ลบ 9.15 บาท จากระดับ 32.75 บาท (30 ธ.ค. 59) ราคาหุ้นปรับตัวลงแรงส่วนหนึ่งมาจากแรงขายทำกำไรหลังหุ้นเป็นขาขึ้นมานาน
ขณะเดียวกันผลกระทบจากการอ่อนตัวลงของค่าการตลาดในช่วงปลายปี 59 เป็นปัจจัยลบให้นักลงทุนทยอยขายหุ้นในช่วง 3 เดือน อย่างไรก็ตามปัจจุบันราคาน้ำมันดิบเริ่มทรงตัวในระดับ $52 – $55 ต่อบาร์เรล ทำให้คาดว่าค่าการตลาดจะสามารถฟื้นตัวและยืนอยู่ในระดับสูงได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปีนี้
*ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ การตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน