3 โบรกดังฟันธง 17 หุ้นเด่นเดือน ก.ย. ชูราคา Laggard-ครึ่งปีหลังโตเด่น

“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ทำการรวบรวมข้อมูลการลงทุนเดือนกันยายนมานำเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเข้าลงทุนให้เข้ากับบรรยากาศการลงทุนมากที่สุด โดยหุ้นที่น่าสนใจเดือนนี้


“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ทำการรวบรวมข้อมูลการลงทุนเดือนกันยายนมานำเสนอเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเข้าลงทุนให้เข้ากับบรรยากาศการลงทุนมากที่สุด โดยหุ้นที่น่าสนใจเดือนนี้ได้แก่ AOT, BCH, COM7, ERW, MINT, SEAFCO, STEC, ANAN, BANPU, CK, RJH, ROJNA, TCAP, TPIPP, UNIQ, GUNKUL และ SCB โดยหุ้นดังกล่าวเป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากบทวิเคราะห์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย), บล.ทิสโก้ และ บล.เอเซีย พลัส ซึ่งระบุไว้ดังนี้

บล.เคจีไอ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า  SET Index ในเดือนกันยายน i) จะพักตัวหลังจากที่วิ่งขึ้นมายืนเหนือระดับ 1,600 จุด ในปลายเดือนสิงหาคม ซึ่งจากโมเดล PE band พบว่าช่วงการซื้อขาย SET Index ในเดือนนี้จะอยู่ระหว่าง 1,600-1,640 ii) หุ้นไทยอาจจะกลับมาปรับตัวดีกว่าตลาดหุ้นอื่นในเอเชียได้ เนื่องจากตลาดอื่นๆ อาจจะถูกกระทบจากกระแสข่าวการเมืองสหรัฐ และประเด็นข่าวนโยบายการเงินโลก แต่สำหรับตลาดหุ้นไทย โมเมนตัมการเติบโตของเศรษฐกิจกำลังก่อตัวขึ้น

โดยแนวโน้มขาขึ้นของ GDP ของไทยซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี 2558 น่าจะดำเนินต่อไปในช่วง 2 ปีข้างหน้า นักเศรษฐศาสตร์ของเราคาดว่า GDP ปีนี้จะโต 3.8% และเร่งขึ้นเป็น 4.2% ในปี 2561 นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการปรับประมาณการกำไรได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2/2560 และภายในสิ้นปีนี้ น่าจะเห็นการปรับประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนได้

หุ้นแนะนำเดือน ก.ย. : กลุ่มที่เด่นตามฤดูกาลในครึ่งปีหลัง และหุ้นที่ได้อานิสงส์จากภาวะเศรษฐกิจเนื่องจากอัพไซด์ของตลาดหุ้นไทยอาจจะยังถูกจำกัดโดยประเด็นความไม่แน่นอนของข่าวสารทางด้านนโยบายการเงินโลก โดยคิดว่าธีมการเลือกหุ้นยังคงเป็นแบบ bottom-up โดยเน้นที่

i) หุ้นกลุ่มที่จะได้อานิสงส์มากจากปัจจัยบวกทางด้านฤดูกาลในช่วงครึ่งหลังของปี 2560

ii) หุ้นที่ได้ประโยชน์จากภาวะเศรษฐกิจตามแนวโน้ม GDP ที่แข็งแกร่งมากขึ้น

 iii) หุ้นที่มีประเด็นเฉพาะตัว เลือกหุ้นเด่น 7 ตัวสำหรับลงทุนในเดือนนี้ได้แก่ AOT*, BCH*, COM7*, ERW, MINT*, SEAFCO และ STEC*

คาดว่า SET Index จะปรับตัวอยู่ในช่วงแคบ ๆ ในเดือนกันยายน เนื่องจากปัจจัยความไม่แน่นอนของนโยบายการเงิน และปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐจะจำกัดอัพไซด์ระยะสั้น แต่อย่างไรก็ตามเดือนนี้หุ้นไทยน่าจะเด่นกว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคได้ เนื่องจากการเมืองในประเทศมีเสถียรภาพ และแนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่ง

 

บล.ทิสโก้ ระบุในบทวิเคราะห์ว่า การประชุมธนาคารกลางสหภาพยุโรป (ECB) ในวันที่ 7 ก.ย. และธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ในวันที่ 19-20 ก.ย. มองเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของนโยบายการเงิน โดยคาดว่า ECB จะส่งสัญญาณการลดมาตรการผ่อนคลายการเงินเชิงปริมาณ (QE) ด้วยการนำประโยคที่ว่า “ECB อาจทำการเข้าซื้อสินทรัพย์เพิ่มเติม หากมีความจำเป็น” ออกจากแถลงการณ์หลังการประชุม เพื่อปูทางไปสู่การประกาศลด QE ลงจากปัจจุบันเดือนละ 6 หมื่นล้านยูโร เป็นเดือนละ 4 หมื่นล้านยูโรในการประชุมครั้งถัดไปในเดือน ต.ค.

สำหรับ FED แม้คาดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% แต่คาดว่าจะประกาศแผนลดงบดุล โดยจะเริ่มกำหนดเพดานการลดงบดุลขั้นสูงสุดที่ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ/เดือนในไตรมาส4/60 และจะค่อยๆ ทยอยเพิ่มเพดานขึ้นไตรมาสละ 1 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ  เพราะฉะนั้นการเริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินไปในทางที่เข้มงวดขึ้นในการประชุมเดือนนี้น่าจะกดดันตลาดหุ้นโลกผันผวนได้ง่าย หลังจากต้นปีนี้ปรับตัวขึ้นมาแล้วโดยเฉลี่ยเกือบ 13% YTD ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ดีมากปีหนึ่ง และการประเมินมูลค่าหุ้นอยู่ในระดับสูงทั่วโลก

ด้านสภาคองเกรสจะกลับมาเปิดอีกครั้งในวันที่ 5 ก.ย. ทำให้การพิจารณากฎหมายสำคัญ ๆ ของสหรัฐฯ อาทิ (1) ร่างกฎหมายเพื่ออนุมัติการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อหลีกเลี่ยงการปิดหน่วยงานภาครัฐ (Government Shutdown) (2) ร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ (Debt Ceiling) เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ (Default) และ (3) ร่างกฎหมายงบประมาณปี FY2018 เพื่อเปิดทางให้สามารถยื่นร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีผ่านกระบวนการพิเศษที่เรียกกันว่า “Budget Reconciliation”เป็นต้น จะกลับมาเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอีกครั้งว่าจะเสร็จทันภายในกำหนดเวลาเดือน ก.ย. หรือไม่

ดังนั้นจึงมองประเด็นนี้จึงอาจเป็นได้ทั้งปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยหนุนของตลาดหุ้นโลก อย่างไรก็ดีให้น้ำหนักว่าการพิจารณาร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับข้างต้นจะเป็นปัจจัยเสี่ยงกดดันตลาดก่อนจากแนวโน้มความวุ่นวายที่น่าจะเกิดขึ้นในสภาคองเกรส แต่ในที่สุดจะผ่านไปได้แบบหืดขึ้นคอ (Last-minute Deal) และจะกลายเป็นปัจจัยหนุนเมื่อเริ่มมีกระแสข่าวการพิจารณาร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีตามมา

ถึงแม้มีความไม่แน่นอนด้านต่างๆ ของนโยบายทรัมป์ และสถานการณ์ตึงเครียดบนคาบสมุทรเกาหลีเป็นระยะ แต่ตลอดช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หุ้นไทยได้พิสูจน์ถึงความแข็งแกร่งในการต้านแรงเสียดทานจากปัจจัยภายนอกได้เป็นอย่างดี แถม SET Index เดือน ส.ค. ยังปรับตัวขึ้นทะลุระดับ 1600 จุดสำเร็จ หลุดออกจากกรอบแกว่ง 3 เหลี่ยมที่ถูกขังมาตลอดนับตั้งแต่ต้นปีนี้ ทำให้มีมุมมองหุ้นไทยเป็นบวกขึ้น  ด้วยความไม่แน่นอนของปัจจัยต่างประเทศยังคงมีอยู่สูงต่อไปในเดือน ก.ย. – ต.ค.

ขณะที่หุ้นไทยเป็นตลาด “Defensive” ที่ยังปรับตัวขึ้นน้อยในปีนี้ (Laggard) และปัจจัยในประเทศในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาเริ่มฉายภาพเป็นบวกมากขึ้นเรื่อย ๆ อาทิ GDP ไตรมาส 2 โต +3.7% ดีกว่าบริษัทและตลาดคาดที่ +3.2%, โครงการลงทุนภาครัฐมีความคืบหน้าต่อเนื่อง และการเมืองที่คลี่คลาย น่าจะจุดประกายให้เงินทุนต่างชาติหันมาสนใจตลาดหุ้นไทยเพิ่มได้

สอดคล้องกับข้อมูลทางสถิติย้อนหลัง 10 ปีที่บ่งชี้ว่า ต่างชาติมักเป็นผู้ซื้อสุทธิในเดือนก.ย.เฉลี่ยราว +4.8 พันล้านบาท (Max = +3.6 หมื่นล้านบาท, Min = -2.7 หมื่นล้านบาท) โดยมีระดับความเชื่อมั่นที่ 70% ยังใช้กลยุทธ์เลือกซื้อเป็นรายตัว (Selective Buy) ในหุ้นที่มีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ข้อดังนี้

(1) มีแนวโน้มงบไตรมาส 3/60 ดีเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน

(2) การประเมินมูลค่าหุ้นถูก

(3) ราคายังขึ้นน้อย หุ้นเด่นที่แนะนำในเดือน ก.ย. คือ ANAN, BANPU, CK, RJH, ROJNA, TCAP และ TPIPP 

ทั้งนี้ BANPU, CK, TCAP, TPIPP ยังมีข่าวดีเรื่องการประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลรออยู่ในเร็ว ๆ นี้ ด้านแนวรับและแนวต้านสำคัญของ SET Index เดือนนี้อยู่ที่ 1600, 1590 และ 1650, 1670 จุด ตามลำดับ ปัจจัยเสี่ยง คือ (1) การวกกลับของค่าเงินดอลลาร์ฯ จากอ่อนเป็นแข็ง (2) สถานการณ์เกาหลีเหนือที่เลวร้ายลง-ใช้ความรุนแรง (3) ราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวลง (4) ความวุ่นวายทางการเมืองระลอกใหม่

 

บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า ปี 2560 ผ่านพ้นไปแล้ว 8 เดือน ในส่วนของตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนเพียง 4.75% เท่านั้น เป็นผลตอบแทนที่ต่ำสุดเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งก็เป็นไปตามที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนที่สูงเกือบ 20% ในปี 2559 ชนะตลาดหุ้นอื่นๆ ทั้งหมดที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า ในปีนี้ตลาดหุ้นไทยจึง underperform กว่าอย่างเห็นได้ชัด

อย่างไรก็ตาม เห็นการสลับการลงทุนในประเทศที่ Outperform มายังประเทศที่ Underperform โดยเฉพาะเดือน ส.ค. เห็นการปรับลดลงของตลาดหุ้นอินเดีย, สิงคโปร์, เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ ขณะที่ตลาดหุ้นที่ปรับขึ้น คือ ตลาดหุ้นจีน และ SET Index บวกกับ Valuation หลายตลาดค่อนข้างแพงแล้ว ยกเว้นตลาดหุ้นจีน และตลาดหุ้นไทยที่ยังมีระดับ Expected P/E ต่ำสุดในภูมิภาค คือ 15.9 เท่า ในปี 2560 และจะลดลงเหลือ 14.7 เท่าในปี 2561 น่าจะดึงดูดให้ Fund Flow มีโอกาสไหลกลับเข้ามาในระยะถัดไป

สอดคล้องกับกลยุทธ์การลงทุนที่ยังเน้นหุ้นขนาดใหญ่พื้นฐานแกร่งที่ราคายัง Laggard กว่าตลาดฯ และมีแนวโน้มเติบโตในช่วงครึ่งปีหลัง รวมถึงเป็นหุ้นที่มีโอกาสฟื้นตัวแรงกว่าตลาดฯ (มีค่า Beta >1) โดยเลือกหุ้น Top picks คือ  UNIQ(FV@B25), GUNKUL([email protected]), COM7([email protected]), SCB(FV@B178)

Back to top button