หุ้นไทยถูกหรือแพงบนพี/อี 16 เท่า?

ดัชนีตลาดหุ้นไทยถูกไปหรือแพงไป? ด้วยพี/อี 16.40 เท่า


ภาวะตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ปิดตลาดวานนี้อยู่ที่ระดับ 1,599.54 จุด ปรับตัวลดลง 19.22 จุด หรือ 1.18% ขณะที่มีการคาดการณ์กันว่าสาเหตุที่ดัชนีปรับตัวลดลงมานั้น มีสาเหตุมาจากการถูกแรงเทขายจากเม็ดเงินต่างชาติ อีกทั้งตลาดหุ้นไทยก่อนหน้านี้ปรับตัวขึ้นมาสูงกว่ามูลค่า

“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” จึงได้ทำการสำรวจข้อมูล P/E (ราคาหุ้น/กำไรต่อหุ้น) ของตลาดหุ้นต่างประเทศนำมาเทียบกับค่า P/E ของตลาดหุ้นไทย เพื่อให้นักลงทุนได้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า ณ ปัจจุบัน ดัชนีตลาดหุ้นไทยซื้อขายบนค่า P/E ที่ถูกหรือแพงเกินไปหรือยัง?

ทั้งนี้ จากการสำรวจจะเห็นได้ว่า ค่า P/E ของตลาดหุ้นไทยซึ่งปิดที่ระดับ 1,599.54 เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.2561 อยู่ในระดับ 16.28 เท่า ถือว่าเป็นระดับที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับตลาดต่างประเทศ โดยจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย อาทิ ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ ค่า P/E อยู่ที่ระดับ 11.07 เท่า

ขณะเดียวกัน ดัชนี SSE Composite (ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิต) ตลาดหุ้นจีน มีค่า P/E อยู่ที่ 13.60 เท่า จึงมีความเป็นไปได้ว่าเม็ดเงินลงทุนจะไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นที่ยังมีค่า P/E ต่ำ เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ว่าดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้อีกมาก ขณะที่ดัชนีที่มีค่า P/E สูง จะเสี่ยงถูกดึงเม็ดเงินกลับไปยังประเทศที่ตลาดหุ้นยังคงปรับตัวขึ้นต่ำกว่ากลุ่ม

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า P/E ของตลาดหุ้นไทยซึ่งอยู่ที่ระดับ 16.48 เท่า อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับดัชนีหลักๆ ทั่วโลก จึงเท่ากับว่า หุ้นไทยมีโอกาสที่จะถูกเทขายทำกำไรออกมาได้อีกจากการที่ดัชนีปรับตัวขึ้นสูงเกินมูลค่า

ดังนั้น ดัชนีตลาดหุ้นไทย อาจไม่ใช่ทางเลือกหลักของนักลงทุนจากทั่วโลกอีกต่อไป เนื่องจากมีตลาดหุ้นอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ขณะเดียวกันดัชนีเกินกว่าครึ่งมีมูลค่าที่สูงเกินไป ส่งผลให้ดัชนีในกลุ่มเหล่านั้นถูกเทขายออกมา

ทั้งนี้ หากค่า P/E ของดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงมาอยู่ในระดับที่เหมาะสม จะเท่ากับว่าตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวลดลงมาจากเดิม ดังตารางเปรียบเทียบค่า P/E ดังต่อไปนี้

ตารางแสดงระดับดัชนีเมื่อเทียบกับค่า P/E

*ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน

Back to top button