คัด 8 หุ้นส่งออกตัวเต็ง พร้อมรับประโยชน์ 2 เด้ง บาทอ่อนหนุน-ส่งออกโต!
คัด 8 หุ้นส่งออกตัวเต็ง! พร้อมรับประโยชน์ 2 เด้ง บาทอ่อนหนุน-ส่งออกโต!
ช่วงนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 1,670-1,675 จุด และมีปัจจัยเข้ามาน่าติดตามต่อเนื่อง โดยเฉพาะการส่งออกของไทยในเดือนมิถุนายน 2561 ที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเห็นได้จากการส่งออกเติบโต 8.19% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน ขยายตัวต่อเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่หดตัวไปเมื่อเดือน มี.ค.
ขณะเดียวกันค่าเงินบาทช่วงนี้อ่อนค่าค่อนข้างมาก ทั้งนี้เงินบาทล่าสุด ขึ้นไปแตะระดับ 33.41 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลดีต่อรายได้ของกลุ่มส่งออก ทั้งนี้ จากปัจจัยดังกล่าว “ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” จึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลหุ้นที่ได้รับผลดีดังกล่าวมานำเสนอโดยเฉพาะ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์, เม็ดพลาสติก ซึ่งมียอดการส่งออกสูงสุด และน่าจะได้รับผลดีมากสุด อาทิ ADB , IVL, HANA , SVI , KCE , DELTA , AH และ SAT
โดย บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ ว่า การส่งออกไทยใน มิ.ย. เพิ่ม 8.19% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน ตลาดส่งออกที่ยังขยายตัวตั้งแต่ปีนี้ คือ ญี่ปุ่น, สหรัฐ, เวียดนาม, มาเลเซีย ส่วนจีน ขยายตัวต่อเป็นเดือนที่ 3 หลังจากที่หดตัวไปเมื่อเดือน มี.ค. ขณะที่ออสเตรเลียหดตัวเป็นเดือนแรก และสิงคโปร์พลิกกลับมาขยายตัว
ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปีคือ รถยนต์และส่วนประกอบ, คอมพิวเตอร์, เม็ดพลาสติก, เคมีภัณฑ์, เหล็ก, ข้าว และไก่ เป็นต้น ส่วนที่ขยายตัวต่อเป็นเดือนที่ 3 คือ อัญมณี, ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องจักรกล โดยรวมงวดครึ่งปีแรกของปี 2561 ขยายตัว 10.95% สอดคล้องกับปี 2561 ที่คาด 8% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน
ด้านนำเข้าเดือน มิ.ย. เริ่มชะลอเหลือ 10.83% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน แต่งวดครึ่งปีแรกของปี 61 ขยายตัวสูง 15.61% ส่วนใหญ่ นำเข้าวัตถุดิบเพื่อส่งออก เช่น เคมีภัณฑ์, เหล็ก, ส่วนประกอบยานยนต์, และ คอมพิวเตอร์ ขณะที่การนำเข้าเครื่องจักรกลและเครื่องจักรไฟฟ้ายังขยายเป็นเดือนที่ 3 สะท้อนถึงการลงทุนเอกชนที่ดีต่อเนื่อง โดยรวมทำให้ดุลการค้าเดือน มิ.ย. เกินดุล 1.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
โดยสรุปแม้การส่งออกจะยังขยายตัวได้ แต่จากสงครามการค้าโลกที่ยังขยายตัว จึงน่าจะกระทบต่อการค้าโลกราวช่วง ครึ่งปีหลังของปี 2561 ถึง 2562 ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในลำดับถัดมา
ด้าน บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี แนะนำ “ซื้อ” IVL ราคาเป้าหมาย 80 บาท/หุ้น โดย IVL ประกาศซื้อกิจการด้วยการลงทุน 74% ในธุรกิจการแปรรูปเม็ดพลาสติก PET convertor ขนาด70ktpa หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ประกาศซื้อโรงงาน PET ขนาด 0.54mtpa ในประเทศอียิปต์
ทั้งนี้มีมุมมองเป็นบวกต่อการลงทุนนี้ เนื่องจากเราคาดว่าธุรกิจการแปรรูปซึ่งเป็นธุรกิจปลายน้ำนี้จะช่วยเติมเต็มธุรกิจ PET- PET convertor มากขึ้น
โดย คิดว่าตลาดยังประเมินค่าการเติบโตของกำไรของ IVL ในปี 18 ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากประมาณการกำไรใน ครึ่งปีแรกของปี 2561 อยู่ที่ 13.8 พันล้านบาทและคิดเป็น 60% ของประมาณการกำไรทั้งปีของตลาด
ทั้งนี้ คาดว่าการปรับขึ้นประมาณการกำไรต่อหุ้นหลังงบไตรมาส 2/2561 จะเป็นปัจจัยผลักดันราคาหุ้น คงคำแนะนำ ซื้อ ที่ราคาเป้าหมาย 80 บาท (อิง 12x CY19F EV/EBITDA เฉลี่ย 7 ปี) โดยความเสี่ยงขาลงคือความล่าช้าของการเริ่มต้นธุรกิจ ethane cracker หลัง ก.ค. 2561
ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้น 10.83% จากปีก่อน แต่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว 11.72% ส่งผลให้เดือนมิ.ย.ไทยยังมียอดเกินดุลการค้า 1.5 พันล้านเหรียญฯ เกินดุลต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เป็นบวกต่อภาพรวม GDP ในไตรมาส 2/18 ที่น่าจะยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากไตรมาส 1/18
ขณะเดียวกัน บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี แนะนำ “ซื้อ” HANA ราคาเป้าหมาย 43 บาท/หุ้น โดยคาดว่ากำไรปกติในไตรมาส 2/2561 จะอยู่ที่ 462 ล้าบาท เติบโต 27%qoq แต่ลดลง 19% จากปีก่อน หนุนโดยการฟื้นตัวของเซ็นเซอร์สมาร์ทโฟนและบริการ PBCA
ทั้งนี้ คาดการฟื้นตัวของ GPM ในไตรมาสนี้ที่ 13% จาก 10.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1/2561 ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่ากำไรของ Hana เป็นไปได้ที่จะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและกำลังจะฟื้นตัว ขณะที่โรงงานในไทยและกัมพูชาได้รับผลกระทบที่จำกัดจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ทั้งนี้คงคำแนะนำ “ซื้อ” ด้วยราคาเป้าหมายเท่าเดิมที่ 43.00 บาท (อิง 13x FY19F P/E)
อีกทั้ง บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี แนะนำ “ถือ” DELTA ราคาเป้าหมาย 72 บาท/หุ้น คาดว่ากำไรปกติในไตรมาส 2/2561 จะอยู่ที่ 1.24 พันล้าบาท เติบโต 12% จากไตรมาสก่อน แต่ลดลง 9% จากปีก่อน
ทั้งนี้ การฟื้นตัวของอุปสงค์ของ data centre จะเป็นปัจจัยผลักดันการเติบโตของรายได้ ขณะที่รายได้จากตัวจ่ายพลังงานไฟฟ้ารถยนต์ทรงตัว
โดย ยอดสั่งตัวจ่ายพลังงานไฟฟ้ารถยนต์จากจีนจะช่วยบรรเทาผลกระทบของยอดขายไปยุโรปและอเมริกาที่ลดลง ซึ่งคาดว่าปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนจะดีขึ้นในครึ่งปีหลังของปี 2561 คงคำแนะนำ “ถือ” ด้วย EPS ที่ลดลง และราคาเป้าหมายต่ำลงที่ 72.00 บาท (อิง 15x FY19F P/E)
นอกจากนี้ บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี แนะนำ “ซื้อ” AH ราคาเป้าหมาย 46.50 บาท/หุ้น โดยคาดกำไรสุทธิในไตรมาส 2/2561 ที่ 130 ล้านบาท (+30% จากปีก่อน) นำโดยการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์และรายได้ดอกเบี้ยจากการปล่อยกู้ให้ Sakthi Automobile Group
ทั้งนี้ ประมาณ Dividend Yield สำหรับครึ่งปีแรกของปี 2561 ที่ 2% เนื่องมาจากผลการดำเนินงานที่ดี โดยปรับ EPS ของ ปี 2561-2563 ขึ้น 3-11% จากการเติบโตของ GDP ทีดีและอุปสงค์ของรถยนต์ที่แข็งแกร่ง คงคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมายที่สูงขึ้น 46.50 บาท อ้างอิงจาก 11 เท่า CY19F P/E
ด้าน บล.เคทีบี (ประเทศไทย) แนะนำ “ซื้อ” SAT ราคาเป้าหมาย 26.50 บาท/หุ้น โดยประเมินกำไรสุทธิไตรมาส 2/25618 ยังทำได้ดีที่ 180 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34% จากปีก่อน แต่ลดลง 23% จากไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเดียวกันกับภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มียอดผลิตเพิ่มขึ้น 11% จากปีก่อน
โดยมีปัจจัยบวกจากยอดขายรถยนต์ในประเทศที่เติบโตสูง แต่ลดลง 4.2% จากไตรมาสก่อนตามปัจจัยฤดูกาลที่ในไตรมาส 2 จะมีวันหยุดมาก รวมกำไรสุทธิครึ่งปีแรกของปี 2561 จะอยู่ที่ 415 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% จากปีก่อน คิดเป็นสัดส่วน 48% ของกำไรสุทธิปีนี้ที่ 868 ล้านบาท เติบโต 7% แต่หากเทียบกำไรปกติจะเติบโตโดดเด่นถึง 23% จากปีก่อน
ทั้งนี้ กำไรปกติครึ่งปีหลังของปี 2561 ยังคงเติบโตจากปีก่อนโดดเด่น จากทั้งธุรกิจผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่เติบโต ทั้งนี้ยังคงคำแนะนำ ซื้อ เป้าหมาย 26.50 บาท