เปิดผลกระทบ 7 แบงก์เสี่ยงกำไรวูบเซ่นมาตรการคุมสินเชื่ออสังหาฯ

เปิดผลกระทบ 7 แบงก์เสี่ยงกำไรวูบเซ่นมาตรการคุมสินเชื่ออสังหาฯ


สืบเนื่องจากกรณีที่ สถานการณ์หนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ในกลุ่มสินเชื่อเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งทยอยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งเกิดจากการแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมออกมาตรการเพื่อมากำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อเหล่านี้

โดยประเด็นดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าอสังหาริมทรัพย์ ในแง่ของรายได้ที่อาจจะลดลง เมื่อมีมาตรการดังกล่าวเนื่องจากจะส่งผลให้ลูกค้าได้รับสินเชื่อที่ยากขึ้นตามเกณฑ์ที่ธปท.กำหนดเอาไว้

ทั้งนี้ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ระบุในบทวิเคราะห์ (4 ต.ค.) โดยมองว่า มีความเป็นไปได้ที่ธปท.จะออกมาตรการคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยแหล่งข่าวจากวงการเงินระบุว่า มีความเป็นไปได้ว่าธปท.จะออกมาตรการสกัดปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งมีความเป็นไปได้ 3 แนวทาง คือ

1) การคุมอัตราการปล่อยสินเชื่อต่อหลักประกัน (LTV) ให้กับบ้านหลังที่ 2, 3,… ให้ลดลง เพื่อลดการเก็งกำไรที่พักอาศัย

2) กำหนดอัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ผู้กู้ให้ลดลง จากปัจจุบันที่มีบางแบงค์ปล่อยกู้คนมีภาระหนี้อยู่แล้วสูงเกินไป

3) การคุมวงเงินรีไฟแนนซ์สินเชื่อ เพื่อให้สะท้อนความเป็นจริงโดยไม่เกินราคาที่พักอาศัย และไม่เกินสินเชื่อที่ผ่อนชำระไปแล้ว

ทั้งนี้โดยสถิติที่ผ่านมา ปัญหาหนี้เสียที่พักอาศัยส่วนใหญ่เกิดจากบ้านหลังที่ 2,3,… ส่วนบ้านหลังแรกไม่ได้มี NPL สูงมาก

โดยมองว่าเป็นเรื่องดีที่จะมีการกำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อเพื่อการเก็งกำไรที่พักอาศัยมากขึ้น เพื่อไม่ให้อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจไทยอยู่ในความเสี่ยงที่มากเกินไป ทั้งนี้ภาคที่อยู่อาศัยมีความเชื่อมโยงกับหลายอุตสาหกรรม เช่น รับเหมาก่อสร้าง, วัสดุก่อสร้าง, เฟอร์นิเจอร์และตกแต่ง, ธนาคารพาณิชย์, ขนส่ง ฯลฯ ซึ่งหากมีปัญหาก็จะลามไปยังอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องด้วย

สำหรับธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีการปล่อยสินเชื่อที่พักอาศัยเป็นสัดส่วนสูงที่สุด คือ SCB (30% ของสินเชื่อรวม) รองลงมาเป็น TMB (23%), KTB (19%), TCAP (15%), KBANK (14%) ธนาคารที่มีสัดส่วนน้อยที่สุดคือ TISCO (8%) สำหรับ BBL และ KKP อยู่ที่ 10-11%

ในเชิงกลยุทธ์ ให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคารพาณิชย์เป็น Neutral โดยหุ้นที่น่าสนใจเป็น

1) BBL (ราคาพื้นฐาน 260 บาท) เพราะธนาคารมีสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อ Corporate สูงที่ 41% จึงได้อานิสงค์ทางบวกจากการลงทุนภาคเอกชนที่ฟื้นตัว นอกจากนั้นยังมีสินเชื่อต่างประเทศสูงที่ 17% ของสินเชื่อรวมด้วย

2) TISCO (ราคาพื้นฐาน 102 บาท) คุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น ทำให้การตั้งสำรองฯลดลง จ่ายปันผลสูง คาดการณ์ปีนี้ไว้ที่ 5 บาท/หุ้น (จ่ายปีละ 1 ครั้ง) คิดเป็น Yield 5.9%

3) KKP (ราคาพื้นฐาน 97 บาท) เนื่องจากมีปัจจัยกระตุ้นจากการเติบโตของสินเชื่อแข็งแกร่ง (อาจจะโตถึง 15% ในปีนี้) และธุรกิจตลาดทุนไปได้ดี โดยบล.ภัทรเป็นที่ปรึกษาการเงินดีลใหญ่ๆ เช่น IPO โอสถสภา, IPO บริษัทย่อย PTT คือ PTTOR เป็นต้น และจ่ายปันผลดี คาดปีนี้จ่าย 5 บาท/หุ้น โดยระหว่างกาลจ่ายไปแล้ว 2 บาท/หุ้น เหลือสำหรับครึ่งหลังปีนี้อีก 3 บาท/หุ้น คิดเป็น Remaining Dividend Yield

Back to top button