เจาะกลยุทธ์ลงทุนรับน้ำมันดิ่งหนัก! ชู 5 หุ้นรับผลดีเน้นสายการบิน-วัสดุก่อสร้างน่าเก็บ
เจาะกลยุทธ์ลงทุนรับน้ำมันดิ่งหนัก! ชู 5 หุ้นรับผลดีเน้นสายการบิน-วัสดุก่อสร้างน่าเก็บ
ช่วงนี้สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลงต่อเนื่องโดยสัปดาห์นี้คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสจะเคลื่อนไหวที่กรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 55-60 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
โดยราคาน้ำมันดิบคาดาจะผันผวนจากข่าวความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกที่จะปรับลดกำลังการผลิต ประกอบกับการปรับลดการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่าน จากผลของการคว่ำบาตรโดยสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังต้องติดตามปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากความต้องการใช้น้ำมันดิบของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามตลาดยังคงกังวลกับภาวะอุปทานล้นตลาด หลังอุปทานน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่อุปสงค์ยังได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่อยู่ระดับสูง และเศรษฐกิจโลกที่เติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้
ดังนั้นเพื่อให้นักลงทุนได้เห็นว่าทิศทางได้อย่างชัดเจนและปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เข้ากับบรรยากาศดังกล่าวทางทีมงาน ”ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์”จึงทำการสำรวจบริษัทจดทะเบียนที่ได้รับผลดีจากราคาน้ำมันปรับตัวลงมานำเสนอ โดยครั้งอาศัยบทวิเคราะห์จากบล.เอเซีย พลัส ซึ่งมองว่ากลุ่มหุ้นสายการบินและวัสดุก่อสร้างจะได้รับผลดีมากสุด อาทิ THAI BA AAV TASCO และ DCC ซึ่งระบุไว้ดังนี้
บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ว่า แนวโน้มดัชนีน่าจะยังแกว่งตัวลงในกรอบ 1595-1630 จุด โดยยังให้น้ำหนักการขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนของสหรัฐ อีกครั้งมูลค่าวงเงิน 2.67 แสนเหรียญฯ ในการประชุม G-20 วันที่ 30 พ.ย. – 1 ธ.ค. นี้ และการประชุม OPEC 6 ธ.ค. น่าจะคุมการผลิตต่อไปอีก 1 ปี แต่การลดลงของ Demand ยังแรงกว่าการตัด Supply จึงมองว่าราคาน้ำมันมีโอกาสปรับลงได้ต่อ
ปัจจัยต่างประเทศสัปดาห์นี้ ให้น้ำหนักการประชุม G-20 ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.-1ธ.ค. ที่ประเทศอาร์เจนตินา โดยมุ่งไปที่การเจรจานอกรอบระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ และสี จิ้นผิง กับข้อสรุปการกีดกันทางการค้า ที่สหรัฐเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนรอบที่ 4 วงเงินอีก 2.67 แสนล้านเหรียญฯ (ยังไม่ได้กำหนดอัตราภาษี) หลังจากก่อนหน้าที่สหรัฐได้ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้ากับจีนไปแล้วรวม 3 รอบ มูลค่าราว 2.5 แสนล้านเหรียญ
โดยเชื่อว่าสหรัฐจะเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้ากับจีน สอดคล้องกับความเห็นของ คณะทำงานของรัฐบาลทรัมป์ตลอดสัปดาห์ที่แล้ว คือ รองประธานาธิบดี (ไมค์ เพนซ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (วิลเบอร์ รอสส์) สนับสนุนการกีดกันการค้ากับจีน ซึ่งจะกดดัน กดดันการค้าและเศรษฐกิจโลกในปี 2562
ขณะที่ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงปรับลงแรงต่อเนื่อง ทั้งนี้น่าจะเป็นผลจากปัญหา Supply ล่าสุด รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานซาอุดีอาระเบีย เผยกำลังการผลิตน้ำมันในเดือน พ.ย. ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 10.7 ล้านบาร์เรล (สูงสุดตั้งแต่ต้นปี 2560) และ Dollar index ที่แข็งค่าขึ้น หรือแข็งค่าราว 5.7%นับตั้งแต่ต้นปี แม้ตลาดจะติดตามวันที่ 6 ธ.ค การประชุม OPEC ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ประเทศในกลุ่ม OPEC อาจจะจะขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันที่จะสิ้นสุดปลายปีไปถึงปี 2562 พร้อมจะลดกำลังการผลิตในปีหน้าลงอีกราว 1.4 ล้านบาร์เรล/วัน
อย่างไรก็ตามการตัดลง supply อาจจะมีน้ำหนักน้อยกว่าความต้องการใช้น้ำมันโลกที่มีแนวโน้มชะลอลงแรงจากผลกระทบของสงครามการค้าโลก โดยเฉพาะผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่สุดของโลก คือ สหรัฐ รองลงมาคือ จีน, ญี่ปุ่น, อินเดีย, รัสเซียด้วยเหตุนี้ทำให้ตลาดน้ำมันน่าจะกลับมา oversupply อีกครั้งในปี 2562 และกดดันราคาน้ำมันดิบโลกยังแกว่งตัวลงแม้ได้ปรับลดลงต่อเนื่องราว 31% นับตั้งแต่ 3 ต.ค.61 (จุดสูงสุดของปี) จนถึงปัจจุบัน ล่าสุด ราคาน้ำมันดูไบ อยู่ที่ 58.11 เหรียญฯ (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี หรือ ytd อยู่ที่ 70.79 เหรียญฯ)
ซึ่งต่ำกว่าสมมติฐานของ ASPS ปี 2562 ที่กำหนดไว้ 65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป และเป็นไปได้ที่ราคาน้ำมันดูไบจะต่ำกว่า 60 เหรียญฯ ในช่วงสั้น ทำให้ความเสี่ยงที่ราคาหุ้นน้ำมันจะลดลงต่อยังมีความเสี่ยงสูง จึงยังแนะนำ “switch” PTTEP (FV@B148) และ PTT (FV@B56) รวมถึงหุ้นที่อิงเศรษฐกิจจากภายนอก เช่น IVL, TOP น่าจะเผชิญแรงขายต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลงดังกล่าวข้างต้น น่าจะดีต่ออุตสาหกรรมที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง โดยเฉพาะสายการบิน และ โรงงานอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ตามผลบวกนี้อาจจะถูกหักล้างจากปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทั้งผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐ – จีน ยังมีอยู่ และน่าจะเห็นผลกระทบชัดเจนในปีไตรมาส4/61 ต่อเนื่องปี 2562 และปัญหาวิกฤติการเงินในยุโรปที่สะสมมานาน รวมถึงการออกของอังกฤษจากสหภาพยุโรป ที่สร้างแรงกดดันต่อธุรกิจการบินและการค้าโลก ซึ่งมีผลกระทบต่อบริษัท จดทะเบียน แยกตามอุตสาหกรรมดังนี้
กลุ่มสายการบิน : เป็น Sentiment บวก เพราะต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงการบินคิดเป็น 35-40% ของต้นทุนรวม (ขณะที่ต้นทุนรวมคิดเป็น 85% ของรายได้ ประเมินจาก BA, AAV ยกเว้น THAI เปิดเผยเฉพาะ operation profit) แต่ประโยชน์ที่ได้จากต้นทุนลดลง จะขึ้นกับการทำ hedging หรือการป้องกันความเสี่ยงจากต้นทุนน้ำมันไว้ล่วงหน้ามากน้อยเพียงใด ในภาวะน้ำมันขาลง ผู้ที่ทำการป้องกันความเสี่ยงไว้มากจะได้ประโยชน์น้อย เช่น กรณีของ THAI รองลงมาคือ BA ส่วน AAV น่าจะได้ประโยชน์สูงสุดจากการทำ hedging ต่ำสุดในภาวะน้ำมันขาลง อย่างไรก็ตามผลประโยชน์สุทธิจะมากน้อยเพียงใดยังขึ้นกับภาวะการแข่งขันในธุรกิจ รวมถึงฐานลูกค้าเป็นสำคัญ กล่าวคือ
THAI([email protected]) งวดไตรมาส4/611 ในทำ Hedging ไว้สูง 60% ที่ราคาสูง 70 เหรียญฯ ส่วนปี 2562 ลดลงเหลือ 30% พร้อมราคาน้ำมันเชื้อเพลงที่ 65 เหรียญฯ ใกล้เคียงสมมติฐานของ ASPS ขณะที่ความกังวลจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวน่าจะเป็นปัจจัยกดดัน ทั้งจากสงครามการค้า เพราะมีลูกค้าบางส่วนมาจากจีนราว 8% ของลูกค้าทั้งหมด และ การแข่งขันในเส้นทางบินญี่ปุ่นสูงขึ้น (เส้นทางทำกำไรหลัก) จากการขยายเส้นทางสายการบินต้นทุนต่ำในระยะหลัง
BA([email protected]) งวดไตรมาส4/61 ทำสัญญา hedging ไว้สูงถึง 77% แต่ลดลงเหลือ 73% ในปี 2562 ที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 65 เหรียญฯ ใกล้เคียงสมมติฐานของ ASPS น่าจะได้รับผลกระทบจากจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว ทั้งจากสงครามการค้าโลก เพราะมีลูกค้าบางส่วนมาจากจีนราว 9% ของลูกค้าทั้งหมด และยังเผชิญความเสี่ยงจาก Brexit ปัจจุบันมีฐานลูกค้าชาวอังกฤษ 4% ของลูกค้า รวมถึงการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในเส้นทาง CLMV จากการขยายของสายการบินต้นทุนต่ำ
AAV(FV@B4.4) น่าจะได้ได้ประโยชน์ในช่วงน้ำมันขาลง เพราะ ได้ทำ Hedging ไว้น้อย โดยในไตรมาส4/61 ทำไว้เพียง 13% และน้อยมากเพียง 2% ในปี 2562 แต่ประเด็นนี้จะถูกหักล้างจากผลกระทบสงครามการค้าสูงสุด เนื่องจากมีฐานลูกค้าจีนราว 30%
กลุ่มวัสดุก่อสร้าง : เนื่องจากผู้ประกอบการในกลุ่มวัสดุก่อสร้าง ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตที่แตกต่างกัน จึงน่าจะได้ประผลประโยชน์แตกต่างกัน กล่าวคือ ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก และ สัดส่วนราว 30% ของต้นทุนการผลิต) และ ธุรกิจกระเบื้องใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก (30% ของต้นทุนการผลิต) นับว่าน้อย เมื่อเทียบกับ ผู้ผลิตยางมะตอย (TASCO) ใช้น้ำมันดิบชนิดหนักสัดส่วนราว 90% ของต้นทุนรวม
ขณะที่การเปลี่ยนแปลงต้นทุนเชื้อเพลิงอื่นๆ อย่างถ่านหินและก๊าซจะล่าช้ากว่าน้ำมันราว 6 เดือน ในระยะสั้น TASCO น่าจะได้ประโยชน์มากสุด กล่าวคือ TASCO(FV@B18) นำเข้าน้ำมันดิบ (Crude) เป็นวัตถุดิบมากลั่นเป็นยางมะตอย พบว่าราคาน้ำมันดิบที่ลดลงทุก 10 เหรียญฯ/บาร์เรล นั่นหมายถึงจะทำให้ TASCO ต้นทุนในการผลิตยางมะตอยลดลง 63 เหรียญฯ/ตัน หากราคาขายไม่เปลี่ยนแปลงน่าจะเพิ่ม Gross margin ราว 10%
เนื่องจากราคาขายยางมะตอย จะมีความสัมพันธ์ระหว่าง Demand-Supply เป็นหลัก นับจากช่วงเดือน เม.ย. เป็นต้นมา Supply ยางมะตอยได้ลดลง 1 ล้านตัน/ปี เพราะโรงกลั่นน้ำมันรายใหญ่ในเกาหลีใต้คือ S-Oil ได้ Upgrade โรงกลั่นไปผลิตน้ำมันที่คุณภาพ คือ มีกำมะถันน้อย หนุนให้ราคายางมะตอยตลาดสิงคโปร์เดือน พ.ย. ปรับตัวขึ้น 5% จากสิ้นเดือน ก.ย. 61 ซึ่งสวนทางกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงมา 24% จากสิ้นเดือน ก.ย. 61 จึงคาดว่าจะหนุน margin ดีขึ้นในงวดไตรมาส4/61
นอกจากนี้บริษัทที่น่าจะได้ประโยชน์คือ DCC([email protected]) ที่มีต้นทุนค่าขนส่ง ( อิงกับราคาน้ำมันดีเซล) คิดเป็นสัดส่วนที่สูงถึง 9% ของยอดขาย โดยฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ TASCO (FV@B 18.0) และ DCC ( FV@B 2.90)
ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน