เปิด 40 รายชื่อหุ้น SET ผลงานปี 61 พลิกขาดทุนยับเยิน!
เปิด 40 รายชื่อหุ้น SET ผลงานปี 61 พลิกขาดทุนยับเยิน!
ผ่านไปแล้วสำหรับการประกาศผลการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ทั้งใน SET-mai ประจำปี 2561 โดยภาพรวมตัวเลขผลการดำเนินงานบจ. ไตรมาส 4/61 ของไทยส่วนใหญ่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาด (SET: -15.82%) โดยกลุ่มที่กำไรต่ำคาดมากที่สุดเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ พลังงาน (-42.65%), นิคมฯ (-31.07%), ยานยนต์/อาหาร (-30.26%) ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์กำไรปี 62 ที่ถูกปรับลดประมาณการลงอย่างต่อเนื่อง
โดยในครั้งนี้ “ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ทำการรวบรวมข้อมูลบริษัทจดทะเบียน(บจ.) กลุ่ม SET ที่มีผลการดำเนินงานพลิกขาดทุนปี 2561 โดยเรียงลำดับขาดทุนมากสุดไปหาน้อยสุดซึ่งมีหุ้นทั้งหมด 40 ตัว อย่างไรก็ตามจะเลือกนำเสนอข้อมูลบริษัทประกอบเพียง 5 อันดับแรกของตารางดังนี้
อันดับ 1 บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PACE รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2561 (รวมบริษัทย่อย) สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2561 พลิกขาดทุนสุทธิ 5,155.52 ล้านบาท จากปีก่อนมีกำไร 171.12 ล้านบาท
โดยปัจจัยที่ส่งผลให้บริษัทพลิกขาดทุน เนื่องจากปี 2561 รับผลกระทบจากการสูญเสียอำนาจควบคุมในบริษัทย่อย ซึ่งเทียบในปี 2560 มีกำไรอยู่ที่ 7,112.64 ล้านบาท จากการเข้าลงทุนของผู้ร่วมลงทุน 2 รายได้แก่ อพอลโล เอเชีย สปรินท์ โฮลดิ้ง คอมปานี ลิมิเต็ด และโกลด์แมน แซคส์ อินเวสท์เม้นท์ส โฮลดิ้งส์ (เอเชีย) ลิมิเต็ด ในบริษัทย่อย บริษัท เพซ โปรเจ็ค วัน จำกัด และบริษัท เพซ โปรเจ็ค ทรี จำกัด
นอจากนี้ในปี 2561 บริษัทฯมีขาดทุนจากรายการจำหน่ายสินทรัพย์(บริษัท เพซ โปรเจ็ค วัน จำกัด (“PP1”) และบริษัท เพซ โปรเจ็ค ทรี จำกัด (“PP3”))จำนวน 3,533 ล้านบาท
อันดับ 2 บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2561 (รวมบริษัทย่อย) สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2561 พลิกขาดทุนสุทธิ 4,368.69 ล้านบาท จากปีก่อนมีกำไร 2,114.97 ล้านบาท
บริษัทมีผลขาดทุนสุทธิ 4,369 ล้านบาทในปี 2561 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการบันทึกค่าใช้จ่ายเพื่อการระงับข้อพิพาทกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จากัด (มหาชน) หรือ กสท.
โดยเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2562 บริษัทเข้าทาสัญญาระงับข้อพิพาทกับ กสท. เพื่อระงับข้อพิพาทส่วนใหญ่ที่บริษัทและกลุ่มบริษัทมีกับ กสท. ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาของการดาเนินการภายใต้สัญญาสัมปทาน โดยภายใต้สัญญาระงับข้อพิพาทดังกล่าว บริษัทตกลงชาระค่าตอบ แทนเพื่อการระงับข้อพิพาทเป็นเงินจานวนทั้งสิ้น 9,510 ล้านบาท
ทั้งนี้บริษัทได้บันทึกค่าตอบแทนเพื่อการระงับข้อพิพาทดังกล่าวแล้วทั้ง จำนวนในงบกาไรขาดทุนสาหรับปี 2561 ทั้งนี้ สัญญาระงับข้อพิพาทดังกล่าวจะมีผลก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นประจาปี 2562 ของบริษัท
ด้านรายได้จากการให้บริการของบริษัทยังคงได้รับผลกระทบจากการแข่งขันในตลาดที่อยู่ในระดับสูง ในขณะที่ความไม่แน่นอนในประเด็นเรื่องการหมดอายุสัญญาสัมปทานได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้รายได้จากการให้บริการไม่รวมค่าเชื่อมต่อโครงข่ายในปี 2561 ลดลง 2.8% จากปีก่อน สอดคล้องกับประมาณการที่คาดไว้
ในขณะที่ EBITDA (ก่อนรายการอื่น) ของบริษัทอยู่ที่ 28,391 ล้านบาทลดลง 6.7% จากปีก่อนโดยส่วนใหญ่เป็นผลกระทบจากรายได้จากการให้บริการที่ลดลง รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในการโรมมิ่ง 4G บนโครงข่ายคลื่นความถี่ 2300MHz ที่จ่ายให้กับทีโอที และค่าใช้บริการโครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์โทรคมนาคมที่จ่ายให้ กสท. โดย EBITDA margin ของปี 2561 อยู่ที่ระดับ 37.9% สอดคล้องกับประมาณการที่คาดไว้
ด้าน บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า กลุ่ม ICT : ทางการกำลังเตรียมเยียวยากลุ่มบวกต่อ DTAC, ADVANC, INTUCH นอกจากนี้ การเปลี่ยนกฎเกณฑ์ของ MSCI หากมีการอนุมัติ จะหนุนหุ้น INTUCH, DTAC, RATCH, CENTEL เข้าคำนวณรอบใหม่ เดือน พ.ค. 2019 ส่วน MTC เสี่ยงหลุด
อันดับ 3 บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRC รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2561 (รวมบริษัทย่อย) สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2561พลิกขาดทุนสุทธิ 2,040.57 ล้านบาท จากปีก่อนมีกำไร 92.79 ล้านบาท
โดยผลการดำเนินงานประจำปี 2561 พลิกขาดทุน เนื่องจากบริษัทมีค่าใช้จ่ายที่บริษัทฯ ดำเนินการเกี่ยวกับโครงการเหมืองแร่โปแตซ การตั้งหนี้สูญและสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ขาดทุนจากการด้อยค่าของเงินลงทุนและส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม รวมเป็นมูลค่าที่กระทบต่องบการเงินรวมจำนวน 2,093.76 ล้านบาท ซึ่งหากไม่พิจารณารวมรายการดังกล่าว ผลประกอบการของบริษัทฯ และบริษัทร่วมจะมีกำไรสุทธิ 53.19 ลานบาท คิดเป็นอัตรากำไรสุทธิร้อยละ 2.31
อีกทั้งขาดทุนจากการด้อยค่าเงินลงทุน 1,212.73 ล้านบาท ตามที่ในปี 2555 – 2559 บริษัทฯ ให้เงินกู้ยืมแก่ทีอาร์ซี อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ทและ ทีอาร์ซี อินเวสเม้นท์ ลิมิเต็ท (บริษัทย่อย) เพื่อลงทุนหุ้นสามัญของบริษัท อาเซียนโปแตชชัยภูมิ จำกัด (มหาชน) (APOT) รวมจำนวน 7.05 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 25.13 ของทุนที่ชำระแล้วของ APOT ผลประกอบการของ APOT ที่ผ่านมามีผลขาดทุนต่อเนื่องประกอบกับความล่าช้าของแผนการพัฒนาโครงการเหมืองแร่โปแตซที่ยังมีความไม่แน่นอนจากการได้รับเงินทุนสนับสนุน จึงเป็นเหตุให้เกิดข้อบ่งชี้ของการด้อยค่าที่มีนัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าที่จะได้รับคืนของเงินลงทุนในบริษัทร่วม บริษัทฯ จึงพิจารณาตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าของเงินลงทุนในบริษัทร่วมทั้งจำนวน
ด้านหนี้สูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 365.69 ล้านบาท เป็นการบันทึกหนี้สูญ และค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญของยอดคงเหลือที่เกี่ยวข้องกับโครงการ APOT ได้แก่ ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ลูกหนี้เงินประกันผลงานตามสัญญาก่อสร้าง และรายได้ที่ยังไม่เรียกชำระ เนื่องจากสถานการณ์ความไม่แน่นอนในการพัฒนาโครงการของ APOT ประกอบกับ APOT ค้างชำระค่างวดงานเป็นเวลานาน
บล.กสิกรไทย ระบุว่า TRC (ถือพื้นฐาน 0.40 บาท +11.11%) ภาพรวมธุรกิจการก่อสร้างของ TRC ในปี 2562-63 จะปรับดีขึ้นจาก backlog ในปัจจุบัน มูลค่า backlog ปัจจุบันของ TRC อยู่ที่ 7.8 พันลบ.(เพิ่ม 56% YTD) และรอผลการประมูลโครงการใหม่ๆ 2 โครงการมูลค่ารวม 930 ล้านบาท ที่จะประกาศในไตรมาส 1/2562 ดังนั้น เรายังคงคำแนะนำ “ถือ” ที่ราคาพื้นฐาน 0.40 บาท
อันดับ 4 บริษัท ทีทีซีแอล จำกัด (มหาชน) หรือ TTCL รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2561 (รวมบริษัทย่อย) สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2561พลิกขาดทุนสุทธิ 1,979.73 ล้านบาท จากปีก่อนมีกำไร 52.56 ล้านบาท
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลให้บริษัทพลิกขาดทุน เนื่องจากรายได้ธุรกิจ EPC ปรับตัวลดลง 24% เทียบกับปีก่อน เนื่องจากโครงการก่อสร้างหลักที่ได้รับในปี 2561 จะสามารถรับรู้รายได้ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป
ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายในการบริหารปี 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 2,261.74 ล้านบาท จากปีก่อนอยู่ที่ 953.70 ล้านบาท นอกจากนี้บริษัทฯ บันทึกการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจำนวน 66 ล้านบาท เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลบาทในระหว่างงวด
บล.ทิสโก้ ระบุว่า ผลประกอบการฟื้นตัวในอนาคต แนะนำ “ถือ” มองว่าผลประกอบการผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 4/61 ไปแล้ว ทำให้ผลประกอบการในอนาคตจะไม่มีค่าใช้จ่ายพิเศษดังกล่าว โดยได้มีการปรับ PER ของหุ้นลงจาก 24 เท่า เป็น 18 เท่า โดยมีมูลค่าที่เหมาะสมลดลงจาก 9.60 บาท เป็น 7.40 บาท
อันดับ 5 บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2561 (รวมบริษัทย่อย) สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2561 พลิกขาดทุนสุทธิ 1,160.77 ล้านบาท จากปีก่อนมีกำไร 520.94 ล้านบาท
โดยผลการดำเนินงานประจำปี 2561 พลิกขาดทุนเนื่องจากบริษัทบันทึกค่าใช้จ่ายจากความเสียหายจากวัตถุดิบคงคลังจำนวน 2,004 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายลดลง
บล.ทิสโก้ ระบุว่า คาดผลประกอบการไตรมาส 1/62 จะเพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานของ ME โรงงานที่ 2 ) และอุปสงค์ของ ME ที่ดีขึ้นจากแผนกระตุ้นของภาครัฐเพื่อเพิ่มการใช้ไบโอดีเซลและ ME ด้าน FA จะยังแข็งแกร่งจากอุปทานที่จำกัด เนื่องจากราคา FA ธรรมชาติยังต่ำกว่า FA สังเคราะห์ อย่างไรก็ตาม ราคาขายและอัตรากำไรจะยังถูกกดดันจากอุปทานที่สูง ทำให้คาดว่าผลประกอบการที่ฟื้นตัวในปี 2562 จะเพิ่มขึ้นจากยอดขายของ ME โรงงาน 2 ที่เพิ่มขึ้น 200kta และไม่มีผลของสต็อคที่หายไปใน ไตรมาส2/61 และด้วยการปรับลดพาร์จาก 10 บาท เป็น 9.5 บาท ทำให้ GGC จะสามารถกลับมาจ่ายเงินปันผลได้ในครึ่งหลังปี 62
*ทั้งนี้ข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน