ส่องผลกระทบนโนบายพรรคการเมืองใหญ่ หุ้นไหนวินหุ้นไหนวูบเช็คด่วน!
ส่องผลกระทบนโนบายพรรคการเมืองใหญ่ หุ้นไหนวินหุ้นไหนวูบเช็คด่วน!
สืบเนื่องจากกรณีที่วันที่ (24 มีนาคม 2562) มีการปิดหีบการเลือกตั้ง และเริ่มนับคะแนนเสียงในแต่ละเขต โดยขณะนี้นับคะแนนเสียงได้ประมาณ 95% จากทั้งหมด โดยผลการเลือกตั้งยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าพรรคพลังประชารัฐ หรือพรรคเพื่อไทย ได้คะแนนเสียงสูงกว่า ขณะที่ยังไม่มีผลออกมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะต้องจับตาการแถลงข่าวของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ถึงผลไม่เป็นทางการอีกครั้งในช่วงวันที่ 29 มีนาคม 2562
โดย กกต. จะประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 9 พ.ค. เท่ากับว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะยังคงมีความคลุมเครืออยู่อีก 45 วัน
อย่างไรก็ตาม “ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจนโยบายทางการเกษตร และสวัสดิการของทั้งพรรคพลังประชารัฐ และพรรคเพื่อไทย มาเพื่อประเมินผลกระทบ และผลดีต่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นเพื่อหี้นักลงทุนเห็นภาพอย่างชัดเจน ดังนี้
พรรคเพื่อไทย
นโยบายด้านการเกษตร
การปฏิรูปโครงสร้างการผลิตจากเดิม ไปสู่เกษตรกรรมที่ส่งเสริมการปลูกพืชเพื่อการอุปโภคและบริโภคพืชเพื่อผลิตพลังงานทดแทน การปรับพื้นที่การเกษตรให้เหมาะสมกับประเภทของพืชเศรษฐกิจ ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เกษตรกรรมที่ใช้น้ำน้อยการสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยอุตสาหกรรมการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสม
นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
พรรคเพื่อไทย เสนอนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำขึ้นเป็น 400 บาท ต่อวัน พร้อมปรับเงินเดือนสำหรับผู้ที่เรียนจบปริญญาตรี ให้เป็น 18,000 บาท ต่อเดือน
นโยบายด้านสวัสดิการ
ระบบสวัสดิการสังคม ที่ครอบคลุมและยุติธรรมแก่ผู้ที่ส่งเงินประกันสังคมให้แก่ภาครัฐในทุกสาขาอาชีพเร่งรัดกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานสวัสดิการสังคม และแนวทางในการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการสังคมประเภทต่างๆ เสริมสร้างระบบประกันการว่างงาน ให้เกิดประสิทธิภาพ และแก้ไขกฎหมายด้านแรงงานให้เกิดความเป็นธรรม สวัสดิการเงินสงเคราะห์บุตร ขั้นต่ำ 1,200 บาท พร้อมให้ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งอายุ 8 ขวบ
สานต่อนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ยกระดับให้สูงขึ้น ‘กองทุนเถ้าแก่ใหม่’ กองทุนเพื่อสร้างโอกาสให้กบคนรุ่นใหม่ ที่ต้องการสร้างเนื้อสร้างตัว
พรรคพลังประชารัฐ
นโยบายด้านการเกษตร
นโยบาย 3 ลด 3 เพิ่ม คือ ลดต้นทุน ลดภาระหนี้ และลดความเสี่ยงจากราคาตกต่ำ เพิ่มแนวทางหารายได้ที่กระจายและยั่งยืนเพิ่มค่าชดเชยค่าเกี่ยวข้าวจากเดิม
นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
พรรคพลังประชารัฐ ได้มีนโยบายเสนอขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาท วุฒิอาชีวะเงินเดือน 18,000 บาท และวุฒิระดับปริญญาตรีเงินเดือน 20,000 บาท
นโยบายด้านสวัสดิการ
‘มารดาประชารัฐ’ ตั้งครรภ์รับเงินช่วยเหลือทันทีผ่านบัตรสวัสดิการคนท้อง รวม 2.7 หมื่นบาท ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือนรับเงินช่วยเหลือ 1 หมื่นบาทเมื่อถึงวันคลอด และให้เงินสนับสนุน 2,000 บาทต่อเดือนต่อเนื่อง 6 ปีต่อยอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐสู่ 4 กลุ่มเป้าหมาย ขยายจากกลุ่มผู้มีรายได้น้อย (ผู้สูงอายุ , คนพิการ , สตรีมีครรภ์ , แรงงาน)
พัฒนาทักษะเสริมอาชีพ ผู้มีรายได้น้อย รวม 44 สวัสดิการ จาก 14 หน่วยงานในบัตรเดียว ผู้มีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาทต่อปี บุตรเรียนฟรีถึงระดับปริญญาตรี ได้รับจัดสรรที่ดินทำกิน ส่งเสริมการทำงานของผู้สูงวัยปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็น 1,000 บาทต่อเดือนเท่ากันทุกช่วงอายุสร้างงาน 1 ล้านตำแหน่งให้ผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวมองว่า นโยบายด้านการเกษตรของ 2 พรรคการเมืองได้ออกนโนบายที่จะส่งเสริมให้ราคาปาล์มสูงขึ้น โดยพรรคพลังประชารัฐกำหนดราคายางอยู่ที่ 5 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนพรรคเพื่อไทยมีนโนบายปรับปรุงราคาปาล์มแต่ไม่ได้มีการกำหนดราคา
สำหรับผลของการใช้นโนบายดังกล่าว มองว่า จะส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มปาล์มน้ำมัน ซึ่งจะได้ประโยชน์ในแง่ของรายได้ที่เพิ่มขึ้น หากราคาปาล์มสูงขึ้น เทียบกับปัจจุบันราคาปาล์มอยู่ที่ประมาณ 2 บาท/กิโลกรัม โดยมองว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมขั้นต้นและขั้นกลางอย่าง UVAN , UPOIC , VPO , OCEAN จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุด เพราะเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ ขณะที่ผู้ประกอบการครบวงจรอย่าง CPI และ LST จะได้รับผลบวกรองลงมา
ขณะที่ นโนบายส่งเสริมราคายางโดยพรรคพลังประชารัฐกำหนดราคายางอยู่ที่ 65 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนพรรคเพื่อไทยมีนโนบายปรับปรุงราคายางแต่ไม่ได้มีการกำหนดราคา
สำหรับผลของการใช้นโนบายดังกล่าว มองว่า จะส่งผลดีต่อหุ้นในกลุ่มยางพารา ซึ่งจะได้ประโยชน์ในแง่ของรายได้ที่เพิ่มขึ้น หากราคายางสูงขึ้น เทียบกับปัจจุบันราคายางอยู่ที่ประมาณ 50 บาท โดยมองว่าผู้ประกอบการธุรกิจยาง อาทิ STA , NER และ TRUBB
อย่างไรก็ตาม นโยบายด้านการสวัสดิการสังคมเป็นปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง และกลุ่มค้าปลีก โดยพรรคเพื่อไทยกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน และป.ตรี ขั้นต่ำ 18,000 ส่วนพรรคพลังประชารัฐ กำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาทต่อวัน อาชีวะ 18,000 บาทต่อเดือน ส่วนปริญญาตรี 20,000 บาทต่อเดือน
ทั้งนี้ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นนั้น จะกระทบผู้ประกอบการในแง่ของต้นทุนการจ้างพนักงาน ซึ่งบริษัทที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการก่อสร้าง และค้าปลีก เนื่องจากมีการจ้างงานค่อนข้างสูง หุ้นที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบอาทิ STEC ,ITD, SEAFCO ,PYLON ,CK กลุ่มค้าปลีก อาทิ ROBIN ,MAKRO ,CPALL ,BJC, HMPRO ,GLOBAL
โดยก่อนหน้านี้ บริษัทหลักทรัพย์เครดิต สวิส จำกัด มองว่า นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำถึง 23-48% รวมถึงการขึ้นเงินเดือนให้กับนักศึกษาจบใหม่จะกระทบต่อบริษัทจดทะเบียนอย่างมาก ซึ่งแม้จะมีการส่งเสริมด้านการบริโภคซึ่งจะส่งผลดีให้กับผู้ค้าปลีก และช่วยหักล้างกับค่าแรงที่ต้องชำระเพิ่ม แต่เห็นว่าการกระตุ้นการบริโภคนั้นจะมีผลช่วยเสริมยอดขายอยู่แค่ในช่วงปีแรกเพียงเท่านั้น โดยระยะยาวปัญหาค่าแรงจะสงผลกระทบต่อบริษัทต่างๆเป็นอย่างมาก