โบรกฯ เปิด 4 กลุ่มเสี่ยงเจอผลกระทบนโยบายค่าแรงขั้นต่ำหลังตั้งครม.ชุดใหม่!
โบรกฯ เปิด 4 กลุ่มเสี่ยงเจอผลกระทบนโยบายค่าแรงขั้นต่ำหลังตั้งครม.ชุดใหม่!
“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจรวบรวมบทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์เอเซียพลัส จำกัด ที่ได้ทำการรวบรวมบริษัทจดทะเบียนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากมีการโปรดเกล้าแต่งตั้งครม.เป็นที่เรียบร้อยในวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เนื่องจากหุ้นในกลุ่มดังกล่าวมักอาจจะได้รับผลกระทบในเรื่องของค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้กำไรขั้นต้นต่ำลง
โดย บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ โดยมองว่าปลายสัปดาห์ที่แล้วตลาดหุ้นไทยปรับฐานแรง ประกอบกับค่าเงินบาท/ดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าแรง เชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาตรการสกัดเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น เพื่อป้องกันค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากไป (หากนับตั้งแต่ต้นปีแข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาค หรือแข็งค่าราว 5.4% นับตั้งแต่ต้นปีเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ราว 31.6 บาท/ดอลลาร์ ต่ำกว่าสมมติฐานที่คาดปี 2562 ที่ 32 บาท) กล่าวคือ ออกมาตรการจากเบาๆ ได้แก่
– ลดยอดคงค้างบัญชีเงินฝากสกุลบาทของต่างชาติ (Non-Resident) เหลือ 200 ล้านบาทต่อราย จากปัจจุบันกำหนดที่ 300 ล้านบาท มีผลตั้งแต่ 22 ก.ค. 2562 เป็นต้นไป
– เพิ่มความเข้มงวดรายงานการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติ (ให้รายงานชื่อผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง) ให้เริ่มรายงานตั้งแต่งวดเดือน ก.ค. 2562 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ เชื่อว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งให้เงินบาทอ่อนค่าในช่วงสั้น เนื่องจากไม่ได้กระทบต่อผลตอบแทน (Return) ของนักลงทุนโดยตรง โดยเชื่อว่าในระยะยาวเงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่าต่อ จากปัจจัยแวดล้อมคือ วัฎจักรดอกเบี้ยโลกที่เป็นขาลง โดยเฉพาะในสหรัฐและยุโรป หลังธนาคารกลาง 2 ประเทศยังส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หนุน Fund Flow ไหลเข้าไทย
อย่างไรก็ตาม ยังให้น้ำหนักนับจากนี้ว่า ธปท.จะออกมาตรการที่แรงกว่านี้หรือไม่ กรณีมาตรการรุนแรงสุดคือ การใช้ Capital control ดังเช่นเหตุการณ์ในอดีต เมื่อ 18 ธ.ค. 2549 ธปท. ออกมาตรการกันเงินสำรองแก่เงินทุน (ทั้งในตลาดตราสารหนี้ และตลาดหุ้น) กล่าวคือ ธนาคารพาณิชย์ต้องหักเงินสำรอง 30% ของเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น ที่มีมูลค่าเกิน 2 หมื่นเหรียญฯ/รายการ และมีอายุต่ำกว่า 1 ปี และหากผู้นำเงินเข้ามาต้องการนำเงินออกเต็มจำนวน 100% จะทำได้หลังจากที่ลงทุนในไทยเกิน 1 ปี หากต่ำกว่า 1 ปี จะได้รับเงินคืนเพียง 2 ใน 3 เท่านั้น ทั้งนี้ มาตรการนี้ให้ยกเว้นกับกลุ่มผู้ส่งออก และเงินลงทุนโดยตรง (FDI) ที่ไม่ต้องกันสำรอง
ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน กระทบกลุ่มรับเหมาฯ, ค้าปลีก, ชิ้นส่วนฯ, เกษตรอาหาร
ทั้งนี้ รัฐบาลชุดใหม่เดินหน้าสานต่อนโยบายต่างๆที่เคยหาเสียงไว้ก่อนหน้า และเชื่อว่านโยบายที่ภาครัฐจะเร่งดำเนินการก่อน คือ นโยบายระยะสั้น โดยเฉพาะนโยบายกระตุ้นการบริโภค ส่งผลให้มีกระแสนโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกลับมาอีกครั้ง หลังจากปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาพรรคร่วมรัฐบาลเห็นตรงกันให้รัฐบาลปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 400 บาท/วัน หรือปรับเพิ่มราว 23% จากปัจจุบันอยู่ที่ 325 บาท/วันกลับมาอีกครั้ง หากปรับขึ้นจริงเชื่อว่าจะช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน แต่ในทางตรงกันข้ามจะกระทบต่อต้นทุนผู้ประกอบการ คือ
กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง โดยเฉลี่ยค่าแรงคิดเป็นสัดส่วนรวม 10-15% ของต้นทุนก่อสร้าง โดยคาดว่าหากมีการปรับขึ้นค่าแรง 22% ดังกล่าวจะทำให้บริษัทรับเหมามีอัตรากำไรขั้นต้นลดลงประมาณ 2% โดยปัจจุบันบริษัทรับเหมาฯมี Gross margin เฉลี่ย 8-12% และมี Net Profit margin 2-6% โดยบริษัทที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ บริษัทมีอัตรากำไรต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม และใช้แรงงานสูง อย่าง ITD, NWR
อย่างไรก็ตามปัจจุบัน บริษัทรับเหมามีการปรับวิธีการทำงานด้วยการนำเครื่องจักรมาใช้ ลดการใช้แรงงานคน และใช้วิธี Sub contract งานเป็นส่วนๆออกไปให้กับผู้รับเหมาช่วง โดยเชื่อว่างานประมูลภาครัฐจำนวนมากที่กำลังจะออกมา น่าจะทำให้การแข่งขันในอุตสาหกรรมก่อสร้างลดลง ส่งผลต่ออัตรากำไรของงานก่อสร้างใหม่ๆในอนาคตที่จะดีขึ้น เมื่อถัวเฉลี่ยกับงานใน Backlog เดิมที่จะถูกกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรง
อีกทั้ง กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายแรงงานในประเทศ สัดส่วนราว 5-8% ของต้นทุนรวม (บางบริษัทมีแรงงานอยู่ต่างประเทศ อาทิ DELTA, HANA ราว 2%ของต้นทุนรวม) เบื้องต้นฝ่ายวิจัยคาดการปรับขึ้นค่าแรงจะส่งผลกระทบต่อประมาณการกำไรกลุ่มชิ้นส่วนฯ ราว 11.7% จากปัจจุบัน นำโดย SVI ,HANA , KCE , และ DELTA ตามลำดับ
กลุ่มเกษตร-อาหาร มีค่าใช้จ่ายแรงงานในประเทศ ราว 1.5-8% ของต้นทุนรวม หากรัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ย 23% เป็น 400 บาท/วัน จะส่งผลกระทบต่อประมาณการกำไรกลุ่มเกษตร-อาหารราว 25% จากปัจจุบัน
กลุ่มยานยนต์ มีค่าใช้จ่ายแรงงานทางตรงราว 5%-10% ของยอดขาย(ยกเว้น PCSGH งวด 3Q61 นับเฉพาะโรงงานในไทยมีต้นทุนแรงงาน 17.4% ของยอดขาย) และ SAT มีพนักงาน อยู่ในแผนกผลิตจำนวน 1,396 คน กรณีที่มีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ23% จะส่งผลให้ค่าจ้างพนักงานในแผนกผลิตเป็น 134 – 142 ล้านบาท / ปี หรือกระทบต่อกำไรประมาณ 20 – 30 ล้านบาท/ปี เป็นต้น
อย่างไรก็ตามประเด็นการปรับขึ้นค่าแรง ต้องมีระยะเวลาในการพิจารณาประมาณ 3 เดือน เนื่องจากต้องมีการหารือจากตัวแทนทั้ง 3 ฝ่าย ทั้งภาครัฐ, เอกชน และลูกจ้าง แม้ประเด็นดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อกำไรของบริษัทจดทะเบียน จากค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มขึ้น แต่ในอีกมุมช่วยเพิ่มกำลังซื้อ หรือความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนดีขึ้น หนุนการบริโภคสินค้าและบริการ เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ (ดีต่อกลุ่มค้าปลีก, โรงพยาบาล, ท่องเที่ยว) และการเติบโตของสินเชื่อ (ดีต่อกลุ่มการเงิน) ขณะเดียวกันทางฝั่งผู้ประกอบการเองน่าจะเร่งกระตุ้นยอดขาย ด้วยการทำโฆษณามากขึ้น (ดีต่อกลุ่มบันเทิง)
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนวันนี้ Top Picks เลือก BJC(FV@B 61.00) แนวโน้มการเติบโตครึ่งปีหลังสดใส จากมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อดังกล่าวข้างต้น หนุนยอดขายสาขาเดิม(SSSG) เติบโตสูงขึ้นจาก 1H62 ที่ 0.5% yoy (สมมติฐาน SSSG ทั้งปีที่ 1.8%) และขยายสาขาใหม่ (ปีนี้รวม 8 แห่ง) รวมถึงธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่จะมีคำสั่งซื้อกระป๋อง จาก SABECO และรายอื่นๆ ราว 400 ล้านกระป๋องในปีนี้ อีกทั้งราคาหุ้นนัง Laggard กลุ่มอยู่มาก ส่วนหุ้นอีกบริษัทเลือก AMATA(FV@B 35.70) ได้ Sentiment จากภาครัฐเร่งส่งเสริมการลงทุนใน EEC