เปิดโผหุ้นไตรมาส 3 โต-แนวโน้มไตรมาส 4 ไปต่อ โบรกฯอัพราคาเป้ากระฉูด!
เปิดโผหุ้นไตรมาส 3 โต-แนวโน้มไตรมาส 4 ไปต่อ โบรกฯอัพราคาเป้ากระฉูด!
“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจและรวบรวมบทวิเคราะห์ที่รวบรวมผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไตรมาส 3/62 ออกมา โดย บริษัทหลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ (14 พ.ย.62) โดยได้รวบรวมบริษัทจดทะเบียนที่ประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/62 ออกมา รวมถึงวิเคราะห์แนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 4 ประกอบด้วยหุ้น SAWAD , CPF, BA, GULF, EPG, JMART, PSTC ,PYLON ,OSP, SIRI, LH ,PLANB
EARNINGS RESULT
SAWAD (BUYU, TP69) กำไรไตรมาส 3/62 ทำ new high ตามคาด
กำไรสุทธิไตรมาส 3/62 ที่ 947 ลบ. ใกล้เคียงเราและตาดคาด โดยทำ new high ต่อเนื่อง และเติบโตดี +24% จากปีก่อน, +8% จากไตรมาสก่อน เพราะ i) รายได้ดอกเบี้ยโตตามสินเชื่อที่เพิ่ม +23% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, +4% จากไตรมาสก่อน และ NIM ที่ดีขึ้น ii) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่โตดี ตามรายได้ค่าธรรมเนียมในการทำสัญญาสินเชื่อของลูกค้า รวมถึงค่าธรรมเนียมทวงถามการจ่ายคืนหนี้ล่าช้า และหนี้สูญรับคืนดีขึ้น
ขณะที่ในกำไรไตรมาส 4/62 คาดกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, จากไตรมาสก่อน จากคาดสินเชื่อที่เติบโตดีต่อเนื่อง ประกอบกับคาด yield จะค่อยๆปรับขึ้นได้ ตามสินเชื่อที่ดินที่เติบโตดี รวมถึง SAWAD ได้ปรับ rating เป็น “BBB+” จาก “BBB” ซึ่งจะค่อย ๆ ส่งผลดีต่อต้นทุนเงินทุน เรายังชอบ SAWAD และคงเป็น Top pick ที่ราคาเป้าหมายปี 63 ที่ 69 บาท จาก i) กำไรสุทธิที่คาดโตดีจากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน ทุกไตรมาส และจะโต +36% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน ในปี 62 ii) การปล่อยสินเชื่อผ่าน BFIT มีจุดเด่นเหนือคู่แข่ง คือ มี room ในการเก็บดอกเบี้ยสูงสุดได้มากกว่าคู่แข่ง iii) มีฐานเงินทุนแข็งแกร่งรองรับการเติบโต
EARNINGS RESULT
CPF (BUY, TP34.5) ถึงแม้กำไรปกติไตรมาส 3/62 ลดจากไตรมาสก่อน ต่ำกว่าคาด แต่ไตรมาส 4/62 จะดีขึ้น
เราคงแนะนำ BUY CPF ด้วยราคาเป้าหมาย 34.50 บาท ถึงแม้งบไตรมาส 3/62 จะมีกำไรปกติต่ำกว่าคาดเพราะยอดขายอาหารสัตว์ในจีนต่ำกว่าคาด ทั้งนี้ CPF รายงานกำไรสุทธิ 6062 ล้านบาท +23%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน+46%จากไตรมาสก่อน แต่มีกำไรจากเงินลงทุน 3542 ล้านบาท ส่วนกำไรปกติ 2000 ล้านบาท ลด -43%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน-44%จากไตรมาสก่อน เกิดจากการลดของราคาสุกรเวียดนามจากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนราคาสุกรไทยลด จากไตรมาสก่อน และยอดขายอาหารสัตว์ในจีนลดลง 30%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนจากการเลี้ยงสุกรในจีนลดลงเนื่องจากโรคระบาด ASF อย่างไรก็ตามสถานการณ์ราคาสุกรเวียดนามฟื้นตัวจาก 36000 ดองในไตรมาส 3/62 มาที่ 50-60000 ดองในปัจจุบัน นับเป็นภาพดีสำหรับไตรมาส 4/62 สำหรับแนวโน้มปี 2563 CPF จะมีกำไรปกติฟื้นตัวจากราคาไก่-สุกรไทยฟื้นตัว ราคาสุกรเวียดนามฟื้นตัว ราคาไก่จีนเพิ่มขึ้น การส่งออกที่เพิ่มขึ้นทั้งไก่และกุ้ง ธุรกิจต่างประเทศที่ยังมีโอกาสดีคือเวียดนาม จีน รัสเซีย อินเดีย CPF จัดประชุมนักวิเคราะห์วันที่ 14 พ.ย. คาดมีข้อมูลเพิ่มเติม
EARNINGS RESULT
BA (BUY, TP12.25) ฟื้นเป็นกำไรเพราะรายการพิเศษ
เรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อไตรมาส 3/62 ของ BA กำไรดีกว่าคาดแต่เป็นเพราะรายการพิเศษ โดยมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 58 ลบ. เติบโต +60% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน และฟื้นจากไตรมาสก่อนขาดทุน เนื่องจากมีกำไรพิเศษมาช่วย แต่ถ้าไม่รวม จะมีผลขาดทุน -106 ลบ. แย่กว่าปีก่อนมีกำไร 96 ลบ. เนื่องจากรายได้ลดลง -5%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน จากราคาตั๋วโดยสารเฉลี่ยและอัตราบรรทุกผู้โดยสารลดลง -7% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน และ -1% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนขณะที่ผลประกอบการฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนขาดทุน -491 ลบ. เป็นไปตามฤดูกาล แนวโน้มไตรมาส 4/62 พลิกขาดทุนกลับมาขาดทุนอีกครั้ง -633 ลบ. เราคาดราคาหุ้น BA ยังคงถูกกดดันจาก Sentiment ลบทางด้านผลประกอบการ แต่อย่างไรก็ดี เรามองว่าหุ้น BA มีความน่าสนใจในแง่ Valuation และยังมี Upside risk จากโอกาสได้งานโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา จึงยังคงคำแนะนำ BUY ราคาเป้าหมาย 12.25 บาท
EARNINGS RESULT
GULF (REDUCE, TP110) กำไรสุทธิไตรมาส 3/62 ดีกว่าเราและตลาดคาด
เรามีมุมมอง Positive ต่อกำไรปกติไตรมาส 3/62 ของ GULF ที่ 997 ล้านบาท (+32% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, +1% จากไตรมาสก่อน) สูงกว่าเราและตลาดคาด อย่างไรก็ตามการสูงกว่าคาดดังกล่าวไม่ได้ทำให้ TP20F ของเรามี upside อย่างมีนัยสำคัญ โดยกำไรโตจากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนตามรายได้ขายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าใหม่ที่ COD เพิ่มเป็นหลัก แต่ทรงตัว จากไตรมาสก่อน จากการปิดซ่อมใหญ่โรงไฟฟ้าใน port ของ GJP ซึ่งเราคาดไตรมาส 4/62 กำไรปกติจะลดลงจากไตรมาสก่อน ต่อจากการปิดซ่อมใหญ่ต่อเนื่อง และเป็น low season ของโรง IPP ทั้งนี้เราคงคำแนะนำ REDUCE จากมองราคาซื้อขายปัจจุบันได้สะท้อนการเติบโตของกำไรในอนาคตจากโครงการในมือ รวมถึงโครงการ upside ที่เรายังไม่รวมในประมาณการไปมากแล้ว ในขณะที่โครงการ upside ยังอยู่ในช่วงต้นของการเจราและยังมีความเสี่ยง นอกจากนี้หากพิจารณาระดับค่าเฉลี่ย PER ที่ราคาซื้อขายปัจจุบันของ GULF อยู่ในระดับสูงกว่ากลุ่ม
EARNINGS RESULT
EPG (BUY, TP9) กำไรสุทธิ 2Q19/20 อยู่ที่ 327 ล้านบาท
เรามีมุมมอง positive ต่อกำไรสุทธิไตรมาส 2/62/63 ที่ 327 ล้านบาท หากตัดรายการ FX loss กำไรปกติอยู่ที่ 346 ล้านบาท ดีกว่าเราและตลาดคาด เพราะ SG&A to sales ที่ต่ำกว่าคาด จากค่าใช้จ่ายในการบริหาร TJM ลดลง นอกจากนั้น GPM ที่สูงกว่าคาด จาก GPM ปรับตัวดีขึ้นทั้ง 3 ธุรกิจหลัก โดยกำไร เพิ่มขึ้น + 22% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนจาก GPM เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 30.5% จากไตรมาส 2/62 /63 ส่วนการฟื้นตัว +40% จากไตรมาสก่อน มาจาก GPM ปรับเพิ่มขึ้นจาก ไตรมาส 1/62/63 ที่ 28.3% และ SG&A to sales ที่ลดลงอยู่ที่ 19% จาก 20% ในไตรมาส 1/62/63 โดยเราได้ปรับประมาณการปี 62/63-64-65 ขึ้น 7-9% จาก GPM และ SG&A to sales ดีกว่าที่เราคาดไว้ สำหรับกำไรในช่วงที่เหลือของปีครึ่งปีหลังของปี 62/63 คาดเติบโตเด่น จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนประกอบกับราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงในช่วงก่อนหน้า ทำให้ราคาตลาดเทียบกับราคาเป้าหมายมี upside ดังนั้นเราจึงปรับคำแนะนำเป็น BUY เดิม NEUTRAL และปรับ ราคาเป้าหมายปี 63-64 ขึ้นเป็น 9.0 จากเดิมที่ 8.7 บาท
EARNINGS RESULT
JMART (BUY, TP12.4) กำไรไ่ตรมาส 3/62 สะดุด + รอดูความชัดเจนแผนธุรกิจ P2P
รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/62 ที่ระดับ 130.3 ลบ. เติบโต +4,655% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน และ ชะลอตัวลง -9% จากไตรมาสก่อน ต่ำกว่าที่เราคาด -17% (คาด 150.3 ลบ.) โดยแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย i) ส่วนแบ่งขาดทุนจาก J Asset ตามสัดส่วนการถือหุ้นเท่ากับ ขาดทุนสุทธิ -11.1 ลบ. ii) ส่วนแบ่งกำไรจาก SINGER ทำได้เพียง 9.6 ลบ. (คาด 17 ลบ.) iii) ยอดขายมือถือ J mobile ลดลง -21% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนประเมินเกิดจากยอดขายแบรนด์ Huawei ลดลง กระทบกำไรเล็กน้อย ในขณะที่ JMT ส่งกำไรให้ตามสัดส่วนที่ 106 ลบ. ดีกว่าคาด (คาด 98 ลบ.) จากบันทึกพอร์ตที่ตัดต้นทุนแล้วเสร็จ ส่งผลให้ รายได้รวมยืนที่ 2.82 พันลบ. ลดลง -9% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน,ฟื้นตัว +2% จากไตรมาสก่อน และยังรักษาอัตรากำไรขั้นต้น/อัตรากำไรสุทธิ ได้ในระดับเดิม 20.8%/4.4% (ไตรมาส 2/62 : 20.8%/4.4%) ตามลำดับ
EARNINGS RESULT
PSTC (BUY, TP1.22) ย่างก้าวที่มั่นคง เดินหน้ากำลังผลิตไฟฟ้า 200 MW
รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/62 ที่ 3.03 พันลบ. ขยายตัวโดดเด่น +47,012% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, และ +12,652% จากไตรมาสก่อน จากบันทึกกำไรขายหุ้น TPN ให้กับ EGCO ซึ่งคำนวณ หลังหักต้นทุน, ค่าใช้จ่าย, ภาษีและบวกยอดกลับรายการสินทรัพย์ (Revalue) แล้ว เท่ากับกำไร +3.01 พันลบ. ในขณะที่ กำไรจากการดำเนินงานปกติยืนที่ 18.9 ลบ. ขยายตัว +194% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, -21% จากไตรมาสก่อน จากเป็นช่วง Low season ของโซล่าร์ และยอดขายก๊าซของ BIGGAS ทำได้เพียงทรงตัว จากไตรมาสก่อน ส่งผลให้ รายได้รวมที่ 771.6 ลบ. เพิ่มขึ้น +6% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนแต่ลดลง -5% จากไตรมาสก่อน ซึ่งรายได้จากโรงไฟฟ้าปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องที่ 116.3 ลบ. เพิ่มขึ้น +61% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, -4% จากไตรมาสก่อน กลับมาเดินเครื่องเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้ GPM/NPM ยังอยู่ในระดับที่ 12.2% (ไตรมาส 2/62: 15.2%) นอกจากนี้ บริษัทสะสม Backlog งานรับเหมาก่อสร้างธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับพลังงานรวมมูลค่ากว่า 4 พันลบ. ทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ ทยอยบันทึกรายได้ในช่วง 12-24 เดือนข้างหน้า
EARNINGS RESULT
PYLON (BUY, TP7.6) เสาเข็มเด่นไปพร้อมกับเอกชนรายใหญ่
รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/62 ที่ 60.44 ลบ. เพิ่มขึ้น +10% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, และ +35% จากไตรมาสก่อน จากบันทึกรายได้เงินประกันจากค่าชดเชยความเสียหายของโครงการในอดีต มูลค่า 13 ลบ. แต่ในส่วนของกำไรปกติยืนที่ระดับ 47.4 ลบ. ชะลอตัว -14% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนแต่เพิ่มขึ้น +6% จากไตรมาสก่อน ถือว่าน้อยกว่ากรอบปกติเล็กน้อย ซึ่งโดนผลกระทบ จากโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง-ชมพู ส่งมอบงานล่าช้าและติดขัดในการปิดโครงการช้ากว่าที่เราเคยประเมินไว้ ในขณะที่ สถานการณ์โครงการอสังหาฯเอกชน 2 แห่ง เลื่อนปักเสาเข็มในไตรมาสนี้ (คาด 1 แห่งเลื่อนไม่มีกำหนดและอีก 1 แห่งเลื่อนไปรับรู้รายได้ในไตรมาส 4/62) ส่งผลให้ จำนวนเสาเข็มเจาะใช้งานเฉลี่ยเพียง 19 ชุด (ไตรมาส 3/62 : 19.5 ชุด) ลดลงเล็กน้อย จากไตรมาสก่อน สอดคล้องกับ รายได้รวมเหลือเพียง 272.5 ลบ. ลดลง -35% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, และ -1% จากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ดี อัตรากำไรขั้นต้นยังทรงตัวได้ดีที่ 30.5% (ไตรมาส 2/62: 27.7%) ในส่วนของBacklog เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเน้นโครงการของเอกชนขนาดใหญ่เป็นหลัก ประเมินที่ระดับ 1.3 พันลบ. ทำจุดสูงสุดใหม่เป็นประวัติการณ์ ทยอยรับรู้รายได้จนถึงปลายไตรมาส 2/63
EARNINGS RESULT
OSP (NEUTRAL, TP39) แม้กำไรยังโตต่อเนื่องแต่มี concern เรื่องเทรนด์ค่าใช้จ่ายขาขึ้น
กำไรสุทธิไตรมาส 3/62 ที่ 828 ลบ. (+9%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, +18% จากไตรมาส) in line กับเราคาด โดยโต จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนหลักๆ ตามรายได้ที่ฟื้นตัวราว +7%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนตามการเพิ่มกำลังการผลิต C-vitt อีก 20-30%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนส่วน จากไตรมาสก่อน กำไรที่โตเพราะไม่มีบันทึก employee benefit สำหรับ outlook ไตรมาส 4/62 คาดกำไรจะโตต่อเนื่อง จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, จากไตรมาสก่อน แม้บริษัทฯ จะได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นภาษีน้ำตาล แต่คาดถูกชดเชยด้วยกำลังการผลิตและราคาขายที่เพิ่มขึ้นของ C-vitt และการเข้าสู่ high season อย่างไรก็ตาม ด้วยราคาปัจจุบันที่เต็มมูลค่า เราจึงแนะนำเพียง Neutral ที่ TP20F 39.0 บาท/หุ้น โดยแนะนำให้ let profit run ตาม outlook ไตรมาส 4/62 ยังโตต่อ อย่างไรก็ตาม สำหรับปี 63 แม้มองว่าผลประกอบการของ OSP ยังโตต่อเนื่อง แต่อาจไม่โดดเด่นเท่าที่ตลาดคาดหวังเพราะมีแรงกดดันจากค่าใช้จ่ายที่คาดยังอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นตามการขยายตัวของธุรกิจ บวกกับคาดบริษัทฯ จะมีการ share loss ที่มากขึ้นจากธุรกิจร่วมทุนที่มีแนวโน้มยังขาดทุนในช่วงแรก
EARNINGS RESULT
SIRI (REDUCE, TP1) – กำไรสุทธิไตรมาส 3/62 ที่ 451 ลบ. ดีกว่าคาดจาก extra gain 384 ลบ.
กำไรสุทธิไตรมาส 3/62 ที่ 451 ลบ. ดีกว่าคาดจาก extra gain 384 ลบ. (+ ขายที่ดิน 479 ลบ และ – ตั้งสำรองด้อยค่าโครงการ 95 ลบ) ถ้าไม่รวมรายการพิเศษ จะมี Norm profit ไตรมาส 3/62 ที่ 144 ลบ. (-56% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, -50% จากไตรมาสก่อน) ต่ำกว่าคาด
Core operation ยังไม่ดีทั้งการโอนลดลงทั้ง low-rise (ผลจาก LTV) และ condo (backlog รอโอนน้อย), % GPM ต่ำที่เพียง 24.2% จากการระบาย stock และสัดส่วน management fees เพิ่มขึ้น (ส่วนนี้ GPM ต่ำ) รวมถึง SG&A expenses ยังสูง ทั้งนี้ได้ส่วนแบ่งกำไรจาก condo JV ที่ +145 ลบ มาช่วย
ไตรมาส 4/62 outlook: คาดกำไรสุทธิไตรมาส 4/62 ยังลดลง จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนจากการโอนที่ยังกระทบจาก LTV, % GPM ลดลง
ปี 2562 net profit เราคงที่ 1.97 (-4% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน) แต่เพราะ extra gain ที่มากปีนี้
แต่ Norm. profit 2019-20F เราปรับลง 12% และ 15% ตามลำดับ โดยอยู่ที่ 1.66 พันลบ (-21% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน) และ 1.74 พันลบ (+ 5% y-y) ตามการโอน, % GPM และ % EBIT margin ต่ำกว่าประมาณการเดิม
ปรับ TP20F เหลือ 1.0 บาท คง Reduce rating เราห่วงสถานะทางการเงินของ SIRI ที่ interest – bearing debt to equity เพิ่มมาที่ 2.0x และแนวโน้มยังลงยาก ทำให้ฐานะการเงินตึงตัวมาก ในภาวะอุตสาหกรรมชะลอตัว ในขณะเดียวกัน core business ที่พึ่งพึงตลาด condo ค่อนข้างมาก อาจถูกกดดันจากมาตรการ LTV ที่ลดลง รวมถึงผลกระทบจากต่างชาติ (ทั้งการขาย / การโอน) ที่มากกว่ากลุ่มอื่น
EARNINGS RESULT
LH (NEUTRAL, TP11) กำไรสุทธิไตรมาส 3/62 ที่ 2.2 พันลบ ดีกว่าตลาดคาดจากรายการพิเศษ
คาดราคาหุ้นตอบรับเชิงบวกในระยะสั้นต่อกำไรสุทธิไตรมาส 3/62 ที่ 2.2 พันลบ. เพราะดีกว่าตลาดคาด 13%(จากกำไรพิเศษกลับรายการหนี้สินคดีความ 352 ลบ) และความชัดเจนของกำไรพิเศษของการขายโรงแรม Grand center point Thonglor เข้า REITs ที่คาดสูงถึง 2.1 พันลบ (หลังภาษี) โดยคาดบันทึกในไตรมาส 4/62 ซึ่งเป็นตัวเลขที่มากกว่าคาด สำหรับในแง่ core operation ของ LH ในไตรมาส 3/62 ภาพรวมกำไรสุทธิยังลดลง จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนตามการโอน low-rise ลดลงเล็กน้อย (ผลกระทบ LTV) และ condo ลดลง (backlog รอโอนน้อย) และคาดผลกระทบจาก LTV น่าจะส่งผลต่อเนื่องในไตรมาส 4/62/63 ทำให้การโอนอาจไม่สูงเหมือนก่อน เราปรับ Norm. profit ปี 62-63 ลง 2% และ 5% ตามลำดับ เท่ากับ 8.4 พันลบ (-11% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน) และ 9.0 พันลบ (+6% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน) และปรับ TP20F ลงเหลือ 11.0 บาท แต่คง Neutral rating โดยมองกำไรจาก residential business ในปี 62-63 ไม่เด่น เพราะการโอน condo เป็น trend ขาลง โดยจุดเด่นจาก recurring income โตสูง และส่วนแบ่งกำไรเงินลงทุนฯ ยังโต จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน(= 40% ของกำไรสุทธิ) เรามองสะท้อนในราคาหุ้นและเป็นที่คาดหวังของตลาดแล้ว เรายังรอปัจจัยบวกอื่นค่อยพิจารณา LH อีกครั้ง
EARNINGS RESULT
PLANB (NEUTRAL, TP10.1) กำไรไตรมาส 3/62 ใกล้เคียงคาด และเติบโตต่อในไตรมาส 4/62
รายงานกำไรสุทธิไตรมาส 3/62 ใกล้เคียงคาดที่ 185.7 ล้านบาท เติบโต +6.2%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนและ +3% จากไตรมาสก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้
รายได้รวมอยู่ที่ 1,175.8 ล้านบาท (-1.5% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, +3.6%จากไตรมาสก่อน) แบ่งเป็น รายได้จากสื่อ Digital (+6.2%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, +11.3% จากไตรมาสก่อน), Static outdoor (+0.8%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, -0.8% จากไตรมาสก่อน), Mall media (+8.3%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, -0.5%จากไตรมาสก่อน), Airport (+0.7%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, -0.4% จากไตรมาสก่อน) และ Transit media (-1.8%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน, -13.1%จากไตรมาสก่อน) ทางด้านรายได้จากธุรกิจ Engagement marketing (สัดส่วน 14.9% ของรายได้รวม) ลดลง -25.7%จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อนแต่เติบโต +15.5%จากไตรมาสก่อน ภาพรวม Utilization rate อยู่ที่ 74.8% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/61-2/2562 ที่ 74.4%/74.6% ตามลำดับ
อัตรากำไรขั้นต้น (GPM) ปรับตัวดีขึ้นที่ 34.8% จากไตรมาส 3/61/ไตรมาส 2/62 ที่ 34.3%/32.4% จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดี SG&A/Sales เร่งตัวขึ้นมาที่ 15.5% จากไตรมาส 3/61/ไตรมาส 2/62 ที่ 11.2%/12.5% จากค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจใหม่ อาทิ การบริหารสิทธิ โตเกียว โอลิมปิค 2020 เกมส์ออนไลน์ และ Music marketing โดยรวมอัตรากำไรสุทธิ (NPM) อยู่ที่ 15.8% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3/61 ที่ 14.6% แต่ลดลงจาก ไตรมาส 2/62 ที่ 15.9%