เจาะหุ้นส่งออก-อาหาร ตัวไหนไปต่อจังหวะเงินบาทไทยต่ำสุดในรอบ 6 ปี
โบรกฯวิเคราะห์หุ้นในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และอาหาร ในภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอกระทบค่าเงินบาทของไทยตกต่ำมากสุดในรอบ 6 ปี
บล.เอเซีย พลัส ระบุในบทวิเคราะห์ (24 ก.ค.) ว่า นอกจากปัญหาเศรษฐกิจในประเทศที่ชะลอตัว ทั้งจากภาวะภัยแล้งและการส่งออกที่ชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลกแล้ว ความเชื่อว่าเศรษฐกิจและตลาดทุนของนักลงทุน ยังกดดันให้เงินบาทของไทยตกต่ำมากสุดในรอบ 6 ปี โดยล่าสุดอยู่ที่ 34.79 บาทต่อดอลลาร์ เป็นระดับที่ใกล้เคียงในช่วง พ.ค. 2552 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤติซับไพร์ม และนับว่าเงินบาทได้อ่อนค่าต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 นับจากกลางเดือน พ.ค. เป็นต้นมา
และดูแล้วเงินบาทมีโอกาสจะอ่อนค่าต่อไปแตะระดับต่ำสูงสุดที่ 35 บาทต่อดอลลาร์ได้ไม่ยากจากปัญหาที่กล่าวข้างต้น ซึ่งแน่นอนว่าเงินบาทที่อ่อนค่า น่าจะเอื้อประโยชน์ต่อผู้ส่งออก และอาจจะช่วยชดเชยกำลังซื้อในต่างประเทศที่ชะลอตัวลงได้บ้าง ได้แก่ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งพบว่าราคาหุ้นได้ตกต่ำมากถึง 13% ในช่วงเวลาเพียง 1 เดือนเศษ (ตกต่ำกว่ากว่าดัชนีตลาดที่ลดลงราว 4.7%)
หากพิจารณาเป็นรายตัวพบว่า HANA (FV@B48) ลดลงมากที่สุดถึง 18.75% โดยคาดว่าน่าจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก เนื่องจากสินค้าที่ผลิตหลักจะใช้ในกลุ่ม sensor ของ smart phone, touch pad (ที่ใช้ในnote book) และ hearing aids ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ ส่วนใหญ่ตลาดส่งออกจะอยู่สหรัฐ และจีน
รองลงมาคือ DELTA (FV@B75) ราคาหุ้นตกลงราว 17% ในช่วงเดียวกัน เนื่องจากเป็นผู้ผลิตและส่งออกชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Power supply ที่ใช้ในอุปกรณ์ Data center ฐานลูกค้าส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐ แนวโน้มผลกำไรยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่เนื่องจากได้ทำประมาณการสูงเกินไป
สำหรับหุ้น DELTA ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการกำไรปี 2558 และ 2558 ลงจากเดิม 12% และ 11.6% และปรับลด Fair Value ลง 3.8% อยู่ที่ 75 บาท แต่ราคาตลาดยังสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานใหม่ในปี 2558 จึงแนะนำให้ Switch ไปเข้า HANA แทน
ตรงข้ามกับหุ้น KCE (FV@B60) ที่พบว่าราคาหุ้นแทบไม่เปลี่ยนในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าชนะตลาด โดย KCE เป็นผู้ผลิตแผ่น PCB ให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์ และกลุ่มลูกค้าในยุโรปเป็นหลัก แต่เนื่องจากราคาตลาดยังมี upside จากมูลค่าพื้นฐาน 13.74% จึงแนะนำให้ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
ส่วนหุ้นในกลุ่มเกษตรและอาหาร เช่น CPF (FV@B26), GFPT (FV@B13) ยังอยู่ระหว่างการปรับลดประมาณกำไรในปี 2558 เบื้องต้นคาดว่าจะปรับลดลงจากเดิมราว 40% และ 20% ซึ่งจะมีผลทำให้ต้องปรับลดมูลค่าพื้นฐานตามลำดับ ระยะสั้นจึงแนะนำให้ชะลอตัวไปก่อน แม้จะได้รับผลบวกจากเงินบาทที่อ่อนอย่างมากก็ตาม แต่ไม่อาจจะชดเชยได้ด้วยต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามราคาพืชผลทางการเกษตรที่กระทบจากปัญหาภัยแล้ง
เช่นเดียวกับ TUF ([email protected]) ซึ่งเผชิญปัญหากับการตรวจสอบการดำเนินธุรกิจปลาทูน่าในสหรัฐ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ 1 ใน 3 ราย ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันเกินกว่า 50% ของมูลค่าตลาดรวม ได้ส่งกระทบทำให้แผนการเข้าไปซื้อกิจการ Bumble Bee ในสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้ผลิตปลาทูนารายใหญัอันดับ 2 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 28% ต้องเลื่อนออกไป ทำให้ฝ่ายวิจัยต้องปรับไปใช้มูลค่าพื้นฐานก่อนการซื้อกิจการ Bumble Bee และก่อนการเพิ่มทุน