เปิดกลยุทธ์รับมือตลาดขาลง! ฟาก “สภาฯตลาดทุน” มองพื้นฐานยังแกร่ง-ลุ้นระยะยาวฟื้นตัว

เปิดกลยุทธ์รับมือตลาดขาลง! ฟาก “สภาฯตลาดทุน” มองพื้นฐานยังแกร่ง-ลุ้นระยะยาวฟื้นตัว


“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ภายหลังจากดัชนีปรับตัวลดลงอย่างหนักหลายวันติดต่อกัน จนล่าสุดดัชนีลงมาปิดที่ระดับ 1,491.24 จุด ปรับตัวลดลง 14.13 จุด หรือ 0.95% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 7.55 หมื่นล้านบาท

อย่างไรก็ตาม นายไพบูลย์ นรินทรางกูร ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยว่า การปรับตัวลดลงค่อนข้างมากของดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) ในช่วงเช้านี้ ทำให้ดัชนีหลุดระดับ 1,500 จุดนั้น มาจากความกังวลของปัจจัยระยะสั้นที่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในระสั้นตามไปด้วย โดยเฉพาะปัจจัยการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการส่งออก การท่องเที่ยว การจับจ่ายใช้สอย และการใช้ชีวิตของประชาชนในประเทศ ซึ่งทำให้เกิดความกังวลของนักลงทุนที่ยังไม่มั่นใจในสถานการณ์

ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดในการช่วยขับเคลื่อนตลาดทุนไทยจากภาครัฐ คือ การสร้างความเชื่อมั่นจากการออกมาสื่อสารความชัดเจนของแผนงานที่จะทำทั้งหมดในครั้งเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้นักลงทุนเห็นภาพในระยะยาวของประเทศไทยที่ชัดเจนมากขึ้น และมีความมั่นใจในปัจจัยพื้นฐานระยะยาวของไทยที่ดีกว่าประเทศอื่น ๆ รวมถึงการให้ความชัดเจนของการเบิกจ่ายเม็ดเงินงบประมาณ ทำให้นักลงทุนทราบถึงจำนวนเม็ดเงินที่จะเข้าสู่ระบบมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ภาครัฐจะต้องมีแผนสำรองไว้รองรับหากความไม่แน่นอนต่าง ๆ มีความยืดเยื้อ เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง โดยมองว่าการสื่อสารจากภาครัฐเป็นสิ่งที่สำคัญมากในช่วงที่สถานการณ์มีความไม่แน่นอนและมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เกิดขึ้น ทำให้ประชาชนและนักลงทุนมีความสับสนและเกิดความไม่มั่นใจ

ด้านมุมมองของการที่รัฐบาลจะใช้งบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้น มองว่าเป็นสิ่งที่ดีในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว การใช้งบประมาณขาดดุลจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นและพยุงเศรษฐกิจไทยได้ อีกทั้งในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นโอกาสที่รัฐบาลสามารถกู้เงินได้ในต้นทุนที่ถูก ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว 10 ปี อยู่ราว 1% ต่อปี ทำให้การลงทุนของภาครัฐมีต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งมองว่ารัฐบาลควรใช้งบประมาณขาดดุลต่อเนื่องในปี 63-64 เพื่อเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

ขณะที่พบว่านักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ยังคงแนะนำเน้นลงทุนในกลุ่มปลอดภัย ได้แก่กลุ่มที่มีการจ่ายเงินปันผลสูง กลุ่มโรงพยาบาลที่มักเป็นกลุ่มที่ Outperform ตลาดในช่วงที่เกิดโรคระบาด

อีกทั้งกลุ่มสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร โดยเฉพาะบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ที่มีโอกาสซื้อสินทรัพย์ในราคาถูก ในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงกลุ่มอาหารที่ได้ประโยชน์จากราคาสัตว์บกที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงเงินบาทที่ปรับตัวอ่อนค่า รวมถึงกลุ่มส่งออก (ยกเว้นการส่งออกไปยังประเทศจีน) ซึ่งจะได้ปัจจัยบวกหลังจากกนง.ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1% ซึ่งส่งผลต่อค่าเงิน ทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

 

โดย บล.ทรีนีตี้ ระบุในบทวิเคราะห์ (20 ก.พ.63) มองว่าหาก SET Index ปรับขึ้นไปถึงบริเวณ 1,530 จุด แนะนำใช้เป็นจังหวะขายทำกำไรที่สำคัญ หรือเป็นจังหวะในการ Short against port ลงมา ส่วนการลงทุนในช่วงนี้ ยังคงเน้น Selective ไปยัง 4 กลุ่มปลอดภัยเดิม ซึ่งได้แก่

1) กลุ่ม REIT&IFF ซึ่งมีระดับ Dividend yield gap ทรงตัวในระดับสูง จาก Bond yield ที่ปรับลงต่อเนื่อง

2) กลุ่มโรงพยาบาลที่มักเป็นกลุ่มที่ Outperform ตลาดในช่วงที่เกิดโรคระบาด เลือก BDMS และ BCH

3) กลุ่มสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร โดยเฉพาะบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) ที่มีโอกาสซื้อสินทรัพย์ในราคาถูก ในช่วงภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เลือก BAM (รายละเอียดด้านล่าง)

4) กลุ่มอาหารที่ได้ประโยชน์จากราคาสัตว์บกที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงเงินบาทที่ปรับตัวอ่อนค่า เลือก CPF

ด้าน บล.เอเอสแอล ระบุในบทวิเคราะห์ (20 ก.พ.63) แนะนำ SWITCH กลุ่ม “โรงไฟฟ้า” เช่น GULF RATCH GPSC  เนื่องจากราคาปรับตัวขึ้นมา Outperform ตลาดในช่วงที่ตลาดชะลอตัว มองว่าเป็นจังหวะขายทำกำไร รวมถึงมีรายงานว่าจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาในจีนเริ่มชะลอตัวลง ทำให้เงินไหลออกจากกลุ่ม “Defensive” ไปยังกลุ่มหุ้นที่ปรับตัวลงแรง มีราคาถูกและ Upside ที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่ แนะนำการลงทุนมาเป็นกลุ่ม “ส่งออก” (ยกเว้นจีน) ในระยะสั้น เช่น TU HANA DELTA เนื่องจาก ทาง กนง. ได้มีการประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 1 % ซึ่งส่งผลต่อค่าเงิน ทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง รวมทั้งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า (EXIM BANK) แถลงนโยบายขยายบริการสนับสนุนผู้ประกอบการส่งออกของไทย เป็นปัจจัยบวกต่อหุ่นกลุ่มส่งออก

ขณะที่ บล.ทิสโก้ ระบุในบทวิเคราะห์ (20 ก.พ.63) แนะชะลอลงทุน รอประเมินสถานการณ์ใหม่ / หากตลาดรีบาวด์ น่าขายกระชับพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยง, SET จะกลับมาดูดีขึ้นต้องกลับขึ้นมายืนเหนือระดับ 1,525 ให้ได้ก่อน จึงค่อยกลับมาพิจารณาเปิดเทรดดิ้งสั้นอีกครั้ง

ประเด็นหุ้นน่าสนใจ Fundamental Pick – ปรับคำแนะนำขึ้นจาก “ถือ” เป็น “ซื้อ” SYNEX หลังราคาหุ้นปีที่แล้วร่วงกว่า 40% สะท้อนสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่ส่งผลให้ยอดขายหัวเหว่ยตกลงไปมากแล้ว มองผลประกอบการแตะจุดต่ำไปแล้วในไตรมาส 3/62 และเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวในไตรมาส 4/62

ขณะที่แนวโน้มกำไรปีนี้คาดจะกลับมาโต 9% จากปีที่แล้ว -27% จากการปรับยอดขายจากผลิตภัณฑ์อื่นมาทดแทน ขณะที่เทคโนโลยี 5G จะช่วยหนุนความต้องการสินค้า IT เพิ่มขึ้นในอนาคต, ประกาศจ่ายปันผล ครึ่งปีหลังของปี 62 ที่ 0.32 บ./หุ้น (Div. Yield 5%, ขึ้น XD 6 มี.ค.), เป้าพื้นฐาน 8 บาท

ด้าน  CRC เข้าเทรด SET หมวด COMM วันนี้ – ดำเนินธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลากหลายประเภทผ่านรูปแบบและช่องทาง, IPO 1.69 พันล้านหุ้น @ 42 บ. vs ตลาดประเมินมูลค่าพื้นฐานที่ประมาณ 48 บาท

หุ้นรับอานิสงส์งบประมาณผ่าน – เน้นรับเหมาและก่อสร้าง CK, STEC, SEAFCO, PYLON, TASCO และกลุ่มนิคมฯ เพราะราคายังฟื้นตัวช้า AMATA, ROJNA, WHA

โอกาส OPEC+ ลดกำลังการผลิต และไวรัสโคโรนาเริ่มมีสัญญาณคลี่คลาย หนุนราคาน้ำมันฟื้นตัว – PTTEP, SPRC, TOP, SCC

รัฐบาลเตรียมออกมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวเพิ่มเติม – เด่น AOT, MINT, ERW, AAV

หุ้นได้ประโยชน์หรือน่าสนใจขึ้นจากดบ.ลดต่ำลงและราคายังมี Upside – AEONTS, KKP, S11, THANI, AP, LH, QH, SPALI, ROJNA, EASTW, SUSCO, TTW, WHAUP, MC, MAJOR, TVO, BTSGIF, DIF, TFFIF

หุ้นคาดงบดี – BGC, CBG, CHG, EA, NETBAY, PLANB, PRM, PTG, PYLON, SABINA, SUSCO, TPCH, TTW

หุ้นเก็งกำไรในภาวะภัยแล้ง – TSR, TTW, EASTW

หุ้นปันผลที่ควรมีติดพอร์ตรอบนี้ (Yield > 3%) – BBL, KKP, NYT, PYLON, ROJNA, SPALI, SUSCO

หุ้นเด่น ก.พ. (Smart Tactics) AP, EASTW, ERW, KKP, RBF, TASCO

 

Back to top button