ปรับพอร์ตรับมือ “Sell In May” เน้นหุ้นความสามารถแข่งขันสูง-การเงินแกร่ง

ปรับพอร์ตรับมือ “Sell In May” เน้นหุ้นความสามารถแข่งขันสูง-การเงินแกร่ง

ปรับพอร์ตรับมือ “Sell In May” เน้นหุ้นความสามารถแข่งขันสูง-ฐานะการเงินแกร่ง


“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจและรวบรวมบทวิเคราะห์ที่แนะนำเกี่ยวกับการลงทุนในเดือนพฤษภาคม ซึ่งยังมีแนวโน้มว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยจะยังคงผันผวน ขณะที่สถิติชี้ชัดว่าในเดือนพ.ค.มีโอกาสที่ดัชนีจะปรับตัวลดลง

โดยนักวิเคราะห์แนะนำปรับพอร์ตลงทุน และเน้นหุ้น Defensive : ADVANC, CPF, CPALL, CHG, EGCO

ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ระบุในบทวิเคราะห์ โดยให้กลยุทธ์การลงทุน: ใกล้เดือน พ.ค.2563  คาดว่าจิตวิทยาลบ Sell In May ซึ่งตลาดมักปรับฐาน -2% โอกาสสูง 80% ในช่วง 10 ปีหลัง จะเป็นแรงกดดันเชิง Sentiment ประกอบกับ SET แกว่ง Valuation ตึงตัว +1.5SD ของ PER จึงให้น้ำหนักตลาดเข้าสู่ช่วงปรับฐาน แนะนำนักเก็งกำไร ใช้ระดับ 1,230 จุด เป็นจุดหมุนออกลดการเก็งกำไรถ้าหลุดระดับดังกล่าว

หุ้นเด่นสัปดาห์นี้ : แนะนำ CHG, CPALL, CPF ส่วนสัปดาห์ก่อน CHG, CPALL, CPF ให้ผลตอบแทน 2.58% ดีกว่าดัชนีฯที่ให้ผลตอบแทน  1.58%

CHG(TP2.68) : คาดผลประกอบการไตรมาส 1 ยังเติบโต yy qq

CPF(TP25.3) : กำไรยังเติบโตดีในช่วงไตรมาส 1/63

สำหรับการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 นอกประเทศจีนที่รุนแรงกว่าคาด ทำให้เปลี่ยนสมมติฐานคาดการณ์ผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกใหม่ ดังนี้

New Base Case : ใช้มาตรการ Social Distancing ไปจนถึงสิ้นเดือนเม.ย. ภาคธุรกิจและการบริโภคใน US EU กลับมาฟื้นตัวในช่วงไตรมาส 3/63 มีการใช้มาตรการทางการเงินและคลังชุดใหญ่ แต่ภาวะทางการเงินตึงตัว และ Corporate Defaults และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง ขณะที่วัคซีนสำหรับ Covid-19 ยังไม่สำเร็จ ซึ่งอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 ในช่วงไตรมาส 4/63 ซึ่งเป็นช่วงหน้าหนาว

Good Scenario : ใช้มาตรการ Social Distancing ถึงกลางเดือนเม.ย. ยอดผู้ติดเชื้อในยุโรปและสหรัฐฯผ่านจุดแย่ที่สุดไปแล้ว เนื่องจากสามารถคิดค้นยาได้สำเร็จ ภาคธุรกิจและการบริโภคใน US EU กลับมาฟื้นตัวเร็วในช่วงปลายไตรมาส 2/63 มีการใช้มาตรการทางการเงินและคลังที่พิเศษกว่า Base Line ซึ่งจะเยียวภาคธุรกิจและแรงงานได้ รวมถึงคิดค้นวัคซีนได้สำเร็จภายในปีนี้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดรอบ 2

Bad Scenario : ประชาชนจะอดทนต่อมาตรการ Social Distancing ได้ถึงแค่สิ้นเดือนเม.ย. ท่ามกลางการแพร่ระบาดที่รุนแรงต่อเนื่อง มาตรการการเงินและคลังไม่สามารถเยียวยาเศรษฐกิจได้ ก่อให้เกิด Credit Crunch นำไปสู่วิกฤตกลุ่มธนาคาร และตลาดโลกปรับฐานต่อในครึ่งปีหลังของปี 63 ส่วนการแพร่ระบาดรอบใหม่จะเกิดขึ้นจาก DM

ดังนั้น จึงทำการปรับลดคาดการณ์ GDP โลก อิงตาม Base Case/Good/Bad ที่ -4.0%/-2.2%/-6.9% หลักๆมาจากการปรับลด GDP สหรัฐฯ ยุโรป อังกฤษ และหลายประเทศในเอเชีย ลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยสำหรับไทยประเมิน Base Case GDP ไทยจะหดตัว -6.3%(เดิม +1.4%) ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง และต่ำกว่าคาดการณ์ของกนงที่ -5.3% ซึ่งการปรับลด GDP ทำให้ปรับสมมติฐาน EPS ตลาดจากเดิม  80 บาทต่อหุ้น เหลือ 60.8 บาทต่อหุ้น (Good 65บาทต่อหุ้น, Bad 51.3บาทต่อหุ้น) โดย SET จะมีดัชนีเป้าหมายใหม่สิ้นปี 63 ลดเหลือ 1,033 จุด

สำหรับการ Lockdown ทั้งในกรุงเทพและจังหวัดอื่นๆ คาดทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือนมี.ค.ชะลอแรง ขณะที่รัฐบาลอาจจะมีการออกพรก.กู้เงินเพื่อใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2  แสนล้านบาท จะทำให้ขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย 2.6% ของGDP เป็น ราว 3.8% ของ GDP

ประเมิน GDP ไทย ปี 63 หดตัว -6.3% สร้างความเสี่ยงต่อกำไรตลาด กดดัน Fund Outflow

ภาพรวมการลงทุนภายในยังไม่สดใสนัก โดยปัจจัยที่ยังคงเป็นแรงกดดันยังคงเป็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ว่าจะสามารถควบคุมได้เมื่อใด ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดการขยายเวลา Lockdown ในหลายจังหวัดเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงภาวะภัยแล้ง อาจส่งผลกระทบเศรษฐกิจภายในยาวนานกว่าที่ประเมินไว้ และ GDP ไตรมาส 2 จะหดตัวอย่างมีนัยสำคัญ Nomura จึงปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 63 เป็น -6.3%(จากรายงานฉบับเดือน มี.ค: 1.4%) แต่ปรับเพิ่มปี 64 เป็น 3.8% (เดิม 3.3%) และคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 0.25% ในไตรมาส 2/63 (เดิม 0.50%)

ดังนั้นหากย้อนรอยวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2008 ซึ่งเป็นรอบล่าสุด จะพบว่ามีโอกาสที่ EPS ของตลาดหุ้นจะถูกปรับลดลงอีกมากโดยปี 2008-2009 EPS ตลาดในขณะนั้นถูกปรับลงราว 20-30% ดังนั้นมีโอกาสเห็นคาดการณ์กำไรตลาดปัจจุบันของ Consensus ที่ 78-79บาทต่อหุ้น ถูกหั่นลงไปอีกในกรอบ 70-60 บาทต่อหุ้นในช่วงถัดไปได้ ทำให้เกิดภาพ Fund Outlows ดังนั้นภายใต้สมมติฐานใหม่อิง GDP ไทยปี 63 ลดลง 6.3%(เดิม +1.4%) ณ ระดับราคาน้ำมันดิบเฉลี่ย 33-45เหรียญฯต่อบาร์เรล(เดิม 60เหรียญฯ) เราประเมิน Market EPS ปีนี้จะลดลงจากเดิม 80บาทต่อหุ้นสู่ 65.6-60.8บาทต่อหุ้น ทีมกลยุทธ์ปรับดัชนีเป้าหมาย SET ปี 63 ใหม่ ลงมาอยู่ที่ระดับ 1,042 จุด (อิงPER20F 15.9X ซึ่งเป็นระดับค่าเฉลี่ย)

Investment Theme 2020 : Prepare for Recession : Theme DCA – Sustainable Busines

ขณะที่ตลาดในช่วงไตรมาส 2 ยังเป็นภาพของการค้นหาฐาน/หรือทดสอบจุดต่ำสุดเดิม โดยเราประเมินกรอบการแกว่งตัวในช่วงที่เหลือของปีที่ 1,300-790 จุด โดยมี ดังนั้นเราเห็นความเสี่ยงขาลงของตลาดมากกว่า Upside ทีมกลยุทธ์ จึงแนะนำน้ำหนักการลงทุนหุ้น/กองทุนตราสารทุนในระดับต่ำราว 30-40% ของพอร์ตลงทุน ให้ถือเงินสด/กองทุน Money Market Fund ราว 30% และที่เหลือกระจายในตราสารหนี้ระดับลงทุน(Investment Grade) 20% และทองคำ 10%

โดยแนะนำ Sustainable Business  กล่าว คือ หุ้นที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

1) กลุ่มที่ภาพในระยะ 3-5ปี มีความเสี่ยงต่อการถูก Disruption จำกัด หรือ มีความสามารถในการแข่งขันสูง

2) ฐานะการเงินแข็งแกร่งมีหนี้ต่ำ หรือ บริษัทที่มีกระแสเงินสดรับมั่นคงแม้อาจมีภาระหนี้บ้าง

3) เป็นธุรกิจที่พร้อมฟื้นตัวไวกว่าอุตสาหกรรม หากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว โดยแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ DCA อย่างสม่ำเสมอเพื่อระยะยาว และซื้อเพิ่มน้ำหนักอย่างมีนัยฯ ขึ้นกรณี SET แกว่งลงสู่กรอบสะสมเชิงพื้นฐานกรณีเศรษฐกิจหดตัว คือ ระดับดัชนี 960-870 จุด เป็นระดับค่า ERP 5.84%-6.49% หรือ (-0.5SD ถึง -1SD ของ PER)

โดยหุ้นเด่นใน Theme DCA – Sustainable Business ได้แก่ กลุ่มสื่อสาร(ADVANC) กลุ่มท่องเที่ยว(AOT) กลุ่มค้าปลีก(CPALL) กลุ่มอาหาร(CPF) กลุ่มขนส่ง(BEM), กลุ่มโรงพยาบาล(BDMS), กลุ่มปรับปรุงบ้าน(HMPRO) และกลุ่ม Cashless(KTC) ผสานหุ้นที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันต่ำ(TASCO)

Back to top button