ชู 2 หุ้นแบงก์ ROE สูง-Dividend yield จูงใจ แนวโน้มผลงานปี 64 ไปต่อ!
ชู 2 หุ้นแบงก์ ROE สูง-Dividend yield จูงใจ แนวโน้มผลงานปี 64 ไปต่อ!
“ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์” ได้ทำการสำรวจและรวบรวมบทวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์หลังจากประกาศผลการดำเนินงานประจำปี 2563 ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยพบว่าจากธนาคารทั้งหมด 6 แห่งมีกำไรสุทธิในไตรมาส 4/2563 เท่ากับ 25.7 พันล้านบาท (ลดลง 4.7% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน และเพิ่มขึ้น 35.5% จากไตรมาสก่อน) โดยการอ่อนตัวของกำไรโดยหลักมาจากการตั้งสำรอง ECL ที่สูงขึ้น (เพิ่มขึ้น 56.2% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน) โดย TMB เป็นธนาคารเดียวที่รายงานการเติบโตของกำไรสุทธิในปีก่อน เนื่องจากการทำงบการเงินรวมกับ TBANK ซึ่งเริ่มตั้งแต่ธ.ค.62
ทั้งนี้ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส ระบุในบทวิเคราะห์ (25 ม.ค.2564) กลุ่มธนาคารพาณิชย์ น้ำหนักลงทุน Overweight หลังจากกำไรสุทธิปี 63 อ่อนแอลง โดยหลักมาจากการตั้งสำรอง ECL โดยหุ้นที่เราวิเคราะห์ 6 แห่งมีกำไรสุทธิในไตรมาส 4/2563 เท่ากับ 25.7 พันล้านบาท (ลดลง 4.7% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน และเพิ่มขึ้น 35.5% จากไตรมาสก่อน) และมีกำไรสุทธิ 94.7 พันล้านบาท (ลดลง 26.5% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน) ในปี 63 การอ่อนตัวของกำไรโดยหลักมาจากการตั้งสำรอง ECL ที่สูงขึ้น (เพิ่มขึ้น 56.2% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน) โดย TMB เป็นธนาคารเดียวที่รายงานการเติบโตของกำไรสุทธิในปีก่อน เนื่องจากการทำงบการเงินรวมกับ TBANK ซึ่งเริ่มตั้งแต่ธ.ค.62
อย่างไรก็ดีกำไรจากการดำเนินงานก่อนสำรอง ECL ของกลุ่มแบงก์ในปี 63 เติบโตได้ (+20% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน ) มาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายดำเนินงานลดลง รวมถึง TMB ทำงบรวมกับ TBANK แต่ถ้าไม่รวม TMB จะเติบโต +14.4% จากช่วงเดียวกันเมื่อปีก่อน
ปัจจัยหลักต่อผลประกอบการในปี 63, รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (+), รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (-), ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (+) และสำรอง ECL (-) ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของรายได้ดอกเบี้ยสุทธิมาจากสินเชื่อขยายตัว และ NIM เพิ่มขึ้น (จากต้นทุนการเงินลดลงจากการได้ลดการนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ และอัตราดอกเบี้ยต่ำลง) ซึ่งเป็นผลดีที่มากกว่าผลกระทบจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และการผ่อนปรนหนี้ที่กระทบการรับรู้รายได้ดอกเบี้ยแบบ Effective interest rate (EIR) ทำให้ NIM เพิ่มขึ้น
ด้านรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยลดลงจากรายได้ค่าธรรมเนียมต่ำลง และกำไรจากเงินลงทุนลดลง ค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่ำลงเพราะควบคุมค่าใช้จ่ายและลดการขยายธุรกิจในช่วงเศรษฐกิจไม่ดี การตั้งสำรอง ECL สูงขึ้นทำให้ Coverage ratio ของกลุ่มสูงขึ้น ซึ่งการตั้งสำรองมากเพราะคาดว่าคุณภาพสินเชื่อจะอ่อนแอลงหลังสิ้นสุดมาตรการผ่อนปรนของธปท.
ทั้งนี้ ให้น้ำหนักลงทุน Overweight โดยให้ KBANK และ TISCO เป็นหุ้น Top Picks ทั้งนี้กลุ่มธนาคารพาณิชย์มี Valuation ที่จูงใจ โดยยังมี P/BV ต่ำกว่าอดีตมาก และเชื่อว่าธ.พ.จะผ่านวิกฤตโควิดไปได้ เราชอบ KBANK (ราคาพื้นฐาน 181 บาท) ที่มีพื้นฐานแข็งแรง มีโอกาสที่กำไรสุทธิจะเติบโตได้ในปี 64 และมี P/BV ต่ำเพียง 0.7 เท่า ส่วน TISCO (ราคาพื้นฐาน 110 บาท) มีจุดเด่นที่ฐานเงินกองทุนมั่นคง, ROE สูง และให้ Dividend yield ที่จูงใจ
*อนึ่งข้อมูลที่มีการนำเสนอข้างต้น เป็นเพียงข้อแนะนำจากข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของนักลงทุนเท่านั้น และมิได้เป็นการชี้นำ หรือเสนอแนะให้ซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆการตัดสินใจซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใดๆ ของผู้อ่าน ไม่ว่าจะเกิดจากการอ่านบทความในเอกสารนี้หรือไม่ก็ตาม ล้วนเป็นผลจากการใช้วิจารณญาณของผู้อ่าน