LIT กางแผนปี 64 พอร์ตสินเชื่อโต 10% รุกขยายฐานลูกค้ารุ่นใหม่

นายสมพล เอกธีรจิตต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลีซ อิท จำก …


นายสมพล เอกธีรจิตต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลีซ อิท จำกัด (มหาชน) หรือ LIT เปิดเผยว่า ในปี 2564 บริษัทฯยังคงโฟกัสไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักที่เป็น ผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนนิติบุคคล ไม่ว่าจะเป็นขนาด Micro ขนาดเล็ก และขนาดกลาง โดยเฉพาะSMEs ที่เป็นคู่ค้ากับหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ เช่น เทศบาล อบจ. อบต.

โดยยังคงสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้กับ SMEs ผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ของบริษัทฯ ไม่ว่าจะเป็นแฟคตอริ่ง (Factoring) หรือการรับซื้อเอกสารวางบิล ใบตรวจรับ โดยSMEs สามารถเบิกเงินสดล่วงหน้าก่อน 80-90% ของมูลค่าเอกสาร และสินเชื่ออื่นๆ เช่น เงินกู้สนับสนุนโครงการ (Project Backup Financing), สินเชื่อออกหนังสือคำประกันซองประมูล (Bid Bond), สินเชื่อ Leasing Hire Purchase ซึ่งในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากที่ปรับตัวหันมาประกอบธุรกิจที่สอดรับกับการใช้ชีวิตแบบ New Normal มากขึ้น เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัย เครื่องมือทางการแพทย์ หรือธุรกิจ e-commerce หรือ Logistic และมีผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Young Entrepreneurs) เกิดขึ้น โดยกลุ่มอายุผู้ประกอบการรุ่นใหม่จะอยู่ในช่วง 30-45 ปี มีความรู้เทคโนโลยี และติดตามข่าวสารผ่านทาง Social media จะเห็นได้ว่าจากผลงานที่ผ่านมาในปี 2563  LIT มีสัดส่วนลูกค้าจากช่องทาง Digital Marketing เพิ่มขึ้นถึง 50% เทียบจากปี 2562 คิดเป็นสัดส่วน 14% ของจำนวนลูกค้าใหม่ทั้งหมดปี 2563

ทั้งนี้ ในปี 2564 บริษัทจึงเน้นการตลาดเป็นเฉพาะกลุ่มมากขึ้น โดยปรับแพคเกจสินเชื่อให้เหมาะสมกับ SMEsในยุค New Normal มากขึ้นโดยเน้นกลุ่มธุรกิจดาวเด่นที่น่าจับตามองในปี 2564 รวมถึงพัฒนาในส่วนลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relation Management) ในกลุ่มลูกค้าเดิมโดยมีเป้าหมายเพิ่มการเติบโตในกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มาจากช่องทาง Digital Marketing 100% จากปี 2563 และตั้งเป้าเติบโตของพอร์ตสินเชื่อรวมที่ 10% จากปีก่อน ที่อยู่ที่ 2,728.44 ล้านบาท

“อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงด้านสินเชื่อ ตามแผนการเติบโตอย่างยั่งยืนมาตลอด และในปี 2564 มีเป้าหมายกระจายความเสี่ยงของพอร์ตสินเชื่อ โดยจำกัดสัดส่วนธุรกิจในแต่ละอุตสาหกรรมไม่เกิน 25% ของพอร์ต และมีเป้าหมายคงสัดส่วนลูกหนี้ภาครัฐที่ 80% และลูกหนี้เอกชนขนาดใหญ่ที่ 20% ของพอร์ตสินเชื่อ” นายสมพลกล่าว

ขณะเดียวกัน บริษัทฯมีการบริหารจัดการกลุ่มสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) โดยเข้าไปดูแลและบริหารจัดการอย่างใกล้ชิด (Close monitoring) เพื่อป้องกันการเพิ่มจำนวนของลูกค้ากลุ่มนี้ โดยมีนโยบายช่วยเหลือลูกหนี้ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19อีกด้วย

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีแผน BCP (Business Continuity Planning) เพื่อรองรับแผนการทำงานอย่างต่อเนื่องโดยมีเป้าหมายเพื่อคงความสามารถในการเติบโตทั้งในส่วนของฝ่ายปฏิบัติการ และพร้อมกับบริหารความเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บริหารแหล่งเงินทุน และความเสี่ยงด้านสินเชื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันด้วย

 

 

Back to top button