“อนุญาโตฯ” ชี้ขาด SCN ชนะคดีหลุมก๊าซ เพชรบูรณ์ สั่ง “อีโค โอเรียนท์” ชดใช้กว่า 40 ลบ.
บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN รายงานต่อตล …
บริษัท สแกน อินเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCN รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เรื่องแจ้งคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ กรณีศึกส่งมอบหลุมก๊าซ จ.เพชรบูรณ์ ข้อพิพาทดังระหว่าง บริษัทฯ และบริษัท อีโค โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ECOR
โดย ในวันนี้ (1 เม.ย.2564) มีคำตัดสินชี้ขาดแล้วให้ SCN ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจำหน่ายก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ของประเทศ ยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัท อีโค โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ ECOR ซึ่งเป็นผู้ประกอบการขุดเจาะหลุมปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติจากการผิดสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ จากหลุมก๊าซ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ได้มีคำชี้ขาดให้ SCN ชนะคดี รับเงินชดใช้ค่าเสียหาย พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันเสนอข้อพิพาทจนกว่าจะชำระให้เสร็จสิ้น
ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าว สืบเนื่องจากกรณีตกลงทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ (Gas Sales and Purchase Agreement for Associated Gas) ให้กับ SCN ตามที่ตกลงกันในสัญญาว่าจะมีก๊าซให้จำนวน 700,000 ลูกบาศก์ฟุตมาตรฐานต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี แต่เมื่อถึงเวลาแล้ว ECOR ไม่สามารถจัดหาก๊าซให้ SCN ได้ตามสัญญาเพราะก๊าซในหลุมทั้ง 2 ที่มีการตกลงซื้อขายกัน มีจำนวนน้อยและได้หมดลงในที่สุด และไม่สามารถจัดหาหลุมก๊าซใหม่ที่มีความเหมาะสมตามที่ตกลงในสัญญาได้
โดยถึงแม้ว่าทาง ECOR จะได้พยายามเสนอหลุมก๊าซใหม่ที่อยู่ในบริเวณพื้นที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก) ให้แก่ SCN แต่ก็เป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษว่ามีการกระทำผิดกฎหมายหรือไม่ (จากสำเนารายงานการสอบสวนคดีพิเศษ ๘๙/๑๕๕๙ ระบุว่า ECOR กับพวกรวม 2 คนถูกร้องเรียนต่อกรมสอบสวนพิเศษว่ามีการดำเนินกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ อ.วิเชียรบุรี และ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์โดยฝ่าฝืนกฎหมายในขณะนั้น) จากเหตุผลดังกล่าว ทาง SCN จึงปฏิเสธการดำเนินการต่างๆ กับหลุมก๊าซใหม่นั้น เนื่องจากไม่ต้องการกระทำการใดๆ ที่อาจเสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย
ทั้งนี้ SCN จึงได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายก๊าซดังกล่าว พร้อมเรียกร้องค่าเสียหาย กรณีผู้ประกอบการขุดเจาะหลุมปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติจากการผิดสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ จากหลุมก๊าซ จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้รับผิดชดใช้ ค่าเสียหาย
โดยในที่สุดคำชี้ขาดของอนุญา ให้ ECOR ผู้คัดค้าน ชำระเงินจำนวน 40,712,438.34 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันเสนอข้อพิพาทจนกว่าจะชำระให้เสร็จสิ้น ทั้งนี้ หาก ECOR ไม่ยอมชำระหนี้ บริษัทจะดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อไต่สวนและให้ศาลมีคำสั่งออกคำบังคับ เพื่องบังคับคดีอายัดรายได้ซึ่งเป็นเงินค่าน้ำมันที่ ECOR จะได้รับและนำมาชำระหนี้ต่อไปโตตุลาการ