โบรกฯ ประสานเสียง แนะ “ซื้อ” BBL กำไร Q1/64 ดีกว่าคาด แตะ 6.92 พันลบ.

โบรกฯ ประสานเสียง แนะ “ซื้อ” หุ้น BBL หลังประกาศกำไร Q1/64 ดีกว่าคาด แตะ 6.92 พันลบ.


ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL รายงานผลการดำเนินงานไตรมาสแรก สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564 พบว่า กำไรสุทธิอยู่ที่ 6,923.10 ล้านบาท ลดลง 9.74% จากงวดเดียวกันของปีก่อนมีกำไรสุทธิ 7,670.51 ล้านบาท แต่หากเทียบกับไตรมาส 4/2563 ที่มีกำไร 2,398 ล้านบาท ส่งผลให้เพิ่มขึ้น 188.8%

ทั้งนี้ในส่วนกำไรสุทธิปรับตัวลดลง 9.74% จากงวดเดียวกันของปีก่อนเป็นผลมาจาก สาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการรวมค่าใช้จ่ายของธนาคารเพอร์มาตา

ขณะที่กำไรสุทธิปรับตัวขึ้น 188.8% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยหลักการฟื้นตัวมาจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ลดลง 21.8% จากไตรมาสก่อน ด้วยค่าใช้จ่ายการปรับปรุงระบบบางส่วนที่แล้วเสร็จและค่าใช้จ่ายที่สูงในไตร มาสก่อนเป็นไปตาม Seasonal ส่งผลทำให้ Cost to Income Ratio ลดลงมาอยู่ที่ 51.1% จากในไตรมาส 4/2563 ที่ 65.8% และการตั้งสำรองของธนาคารลดลง 12.2% จากไตรมาสก่อน ในขณะที่รายได้ค่อนข้างทรงตัว

โดยผลการดำเนินงานไตรมาส 1/2564 ของทาง BBL ประกาศออกมา ถือว่าดีกว่านักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าไม่ว่าจะเป็นของ บล.กรุงศรี, บล.เคทีบีเอสที บล.เอเซีย เวลท์ และบล.ทรีนี้ตี้ เป็นต้น

สำหรับตัวอย่างบทวิเคราะห์ อย่าง บล.กรุงศรี ที่ระบุว่า จาก BBL รายงานกำไรไตรมาส 1/2564 ที่ 6,923.10 ล้านบาท ลดลง 9.74% จากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นอย่างมาก 188.8% จากไตรมาสก่อน ซึ่งผลประกอบการสูงกว่าคาดการณ์ของเราและตลาด 73% และ 35% กำไรไตรมาส 1/2564 คิดเป็น 23% ของคาดการณ์ทั้งปี 2564

โดยผลประกอบการที่ดีกว่าคาดมาจากค่าใช้จ่ายการดำเนินงานที่ต่ำกว่าคาด โดยลดลง 22% จากไตรมาสก่อน สู่ 1.57หมื่นล้านบาท สัดส่วนต้นทุนต่อรายได้ลดลง 51% ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ย ระยะยาวที่ 40% กลาง แต่ก็ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับ 66% ในไตรมาส 3/2563-ไตรมาส4/2563 เนื่องจากไม่มีต้นทุนเกี่ยวกับการรวมสาขา Permata และการลงทุนในเครือข่าย IT

ทั้งนี้ กำไรที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งจากไตรมาสก่อน ไม่เพียงได้รับแรงหนุนจากค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานที่แข็งแกร่ง แต่ยังมาจาก ECL ที่ลดลงจากแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ที่ดี ขึ้น BBL มี ECL ที่ 6.3 พันล้านบาท ลดลงจาก 7.2 พันล้านบาท ในไตรมาสที่ผ่านมาจาก สัดส่วน NPL ลดลงจาก 3.9% ณ สิ้นปี 2563 สู่ 3.7% ในไตรมาส 1/2564

นอกจากนี้รายได้ค่าธรรมเนียมได้เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง 15% จากไตรมาสก่อน และจากงวดเดียวกันของปีก่อน สู่ 7.3 พันล้านบาท จากกองทุนรวมและการขายประกันผ่านธนาคาร รวมถึงธุรกิจหลักทรัพย์ แม้ว่าจะมีผลกระทบจาก Covid-19 รอบใหม่ ในอีกแง่หนึ่งรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) ทรงตัวจากไตรมาสก่อน และจากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่ 1.9 หมื่นล้านบาท จากพอร์ตสินเชื่อที่เริ่มหยุดขยายจากความ ต้องการจากภาคองค์กรที่ชะลอตัว

ส่วนการระบาดของ Covid-19 รอบใหม่อาจกระทบการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและ BBL อาจต้องเพิ่มการกันสำรองหนี้เสีย (loan loss reserve) ขึ้นเพื่อรองรับความเสี่ยงในไตรมาส 2/2564 อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเป็นเพียงการสะดุดระยะสั้น ECL ที่จะกลับสู่ ระดับปกติจะเป็นปัจจัยหนุนกำไรไปถึงอย่างน้อยในปี  2565 คงคำแนะนำ “ซื้อ” สำหรับ BBL พร้อมราคาเป้าหมายที่ 155 บาท

เช่นเดียวกับ บล.เคทีบีเอสที ที่ระบุว่าจาก BBL รายงานกำไรไตรมาส 1/2564 ที่ 6,923.10 ล้านบาท ลดลง 9.74% จากงวดเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นอย่างมาก 188.8% จากไตรมาสก่อน โดยดีกว่าที่ตลาดและเราคาด เพิ่มขึ้น 35% และเพิ่มขึ้น 26% ตามลำดับ จากรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิปรับตัวได้ดี เกินคาดเพิ่มขึ้น 15% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และจากไตรมาสก่อน จากธุรกิจกองทุนรวมและหลักทรัพย์และมีค่าใช้จ่ายลดลงถึง 22% จากไตรมาสก่อน เพราะไม่มีค่าใช้จ่ายจาก Permata เข้ามากดดันเหมือนไตรมาสก่อน ทำให้ Cost to Income ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ ส่วนสินเชื่อทรงตัวจากต้นปีถึงปัจจุบัน และ NIM ทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนได้ที่ 2.2% ด้าน NPL มีการปรับตัวลดลงได้ดีมาอยู่ที่ 3.70% จาก 3.90% ในไตรมาสก่อน ขณะที่ Coverage ratio ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ 187% จาก 182% ในไตรมาสก่อน

สำหรับกำไรสุทธิในไตรมาส 1/2564 คิดเป็น 30% เมื่อเทียบกับประมาณการทั้งปี ทำให้มีการปรับประมาณการกำไรสุทธิในปี 2564-2565 เพิ่มขึ้น 12-14% จากการปรับรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นเป็น การเพิ่มขึ้น 10% จากเดิมที่เพิ่มขึ้น 1% และปรับ Cost to Income ratio ลงเหลือ 53% จากเดิม 55% ทำให้คาดกำไรสุทธิปี 2564 ไว้ที่ 2.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 50% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในกลุ่มฯ ขณะที่คาดว่าแนวโน้มกำไรสุทธิในไตรมาส 2/2564 จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน ได้จากสำรองฯที่จะทยอยลดลงอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นมีการปรับราคาเป้ าหมายเพิ่มขึ้นเป็น 160.00 บาท จากเดิมที่ 150.00 บาท จากการปรับกำไรเพิ่มขึ้น โดย BBL เป็นธนาคารที่ laggard ที่สุดในกลุ่มธนาคาร โดยซื้อขายที่ PBV เพียง 0.54 เท่า แนะนำ “ซื้อ”

นอกจากนี้ บล.เอเซีย เวลท์ ยังคงแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 142.50 บาท จากแนวโน้มเชิงบวกต่อค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าคาดเป็นปัจจัยบวกต่อผลประกอบการทั้งปี 64 ของ BBL รวมไปถึงการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ท าให้แนวโน้มการตั้งส ารองในอนาคตมี แนวโน้มชะลอตัวลง

รวมทั้ง บล.ทรีนีตี้ ยังคงแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายที่ 151 บาท อิง PBV 0.63 เท่า โดยราคาหุ้นปัจจุบันยังคิดเป็น Forward PBV เพียง 0.52 เท่า ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มฯ

ขณะเดียวกันมีการคาดกำไรสำหรับปี 2564 ที่ 24,948 ล้านบาท ฟื้นตัว 45% จากงวดเดียวกันของปีก่อน โดยปัจจัยบวกสำคัญจะมา จากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ลดลง เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่ายที่เป็น One-time เช่นในปีก่อน และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ที่คาดว่าจะลดลงถึง 22% จากงวดเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากธนาคารได้ตั้งสำรองส่วนเกิน ไว้ค่อนข้างมากแล้วในปีก่อน ขณะที่การระบาดรอบใหม่เราคาดว่าจะมีผลกระทบไม่มาก เนื่องจากไม่ได้มีการปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดเหมือนในการระบาดรอบแรก อีก ทั้งเรามองว่าลูกหนี้ของธนาคารไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบมาก

Back to top button